26 เม.ย. 2021 เวลา 13:58 • การศึกษา
‘วัยรุ่น’ กับ ‘การศึกษาไทยในภาครัฐ’
4.สิ่งอำนวยความสะดวก และ สังคม
อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
เป็นสิ่งแรกที่เห็นความแตกต่างได้ชัด ระหว่างโรงเรียนในเมือง
กับโรงเรียนในชนบท การกินอยู่ สื่อการเรียนรู้ต่างๆ
แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า กระทรวงศึกษาธิการไม่มีการพัฒนา
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทำไมโรงเรียนในต่างจังหวัด
ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ดีๆใช้ ทำไมไม่ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ
โรงอาหารที่ถูกสุขอนามัย ทำไมงบประมาณส่วนใหญ่
ถึงไปอยู่กับสถานศึกษาที่มีการพัฒนาไปเยอะแล้ว
เด็กส่วนใหญ่เกิดที่ไหนเรียนที่นั่น และคนส่วนใหญ่ก็ตัดสินเด็กในปัจจุบัน
จากภูมิหลัง เกิดที่ไหน เรียนที่ไหน จบจากที่ไหน ข้อแตกต่างแบบนี้ควรหมดไปจาก
ประเทศไทยในยุค 4.0 เสียที ต้นทุนชีวิตของเด็กเลือกไม่ได้ว่าจะเข้าศึกษา
ในโรงเรียนระดับไหน แต่ดิฉันคิดว่าสถานศึกษาทุกแห่งควรอยู่ในระดับเดียวกัน
ทั้งในด้านการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ถ้าเมื่อไหร่ที่ปรับเปลี่ยนจุดนี้ได้ เด็กไทยจะมีความเท่าเทียมกันอย่างแน่นอน
สำหรับดิฉันโรงเรียนคือศูนย์กลางความเหลื่อมล้ำที่ใหญ่ที่สุด
ทั้งในเรื่องที่กล่าวมากจากข้างต้น และยังรวมไปถึงสังคมในโรงเรียน
ทำไมเด็กที่มีฐานะดีถึงได้รับการเอาใจใส่มากกว่าเด็กคนอื่น
ทำไมเด็กที่เรียนไม่เก่งครูถึงมองข้าม ในความเป็นแล้วเด็กที่เรียนไม่เก่ง
ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะถูกมองข้าม
ทำไมคนที่รูปร่างหน้าตาไม่ดี ถึงโดนครูบางท่านBully
ทำไมเพศที่สามถึงกลายเป็นตัวตลก ทำไม?
โรงเรียนคือสถานที่ที่รวบรวมเด็กในวัยเดียวกันไว้มากที่สุด
ฉะนั้นแล้วโรงเรียนควรเป็นศูนย์กลางของความเท่าเทียมไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำ
ควรอย่างยิ่งที่จะเลิกการแบ่งชนชั้น ว่าคนนี้เป็นลูกใคร หน้าเป็นอย่างไร
ผิวสีอะไร น้ำหนักเท่าไหร่ ศาสนาอะไร เรียนเก่งหรือไม่ หากเด็กโตมาในสภาพแวดล้อม
แบบนี้ เค้าจะเป็นคนที่ดีของสังคมได้ไหม เค้าจะเป็นอนาคตของชาติได้อย่างไรคะ
สิ่งที่โรงเรียนควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือเด็ก ‘ทุกคน’
ไม่ใช่การประเมินร้อยแปดอย่างที่กินเวลาไปเป็นเทอมๆ เช่น
ประเมินโรงเรียนสีขาว ประเมินโรงเรียนวิถีพุทธ ประเมิน สมศ.ดีเยี่ยม
ประเมินสถานศึกษาพระราชทาน ประเมินโรงเรียนในฝัน ประเมินไปเพื่ออะไรคะ
ในเมื่อคุณภาพจริงๆที่กรรมการเห็นมันก็แค่ ‘ผักชีโรยหน้า’
หนึ่งสถานศึกษาเข้ารับการประเมินตั้งสองสามอย่าง
กินเวลาไปเกือบทั้งปีการศึกษา แล้วอย่างนี้ เด็กจะได้ความรู้อะไรคะ
ทำไมครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการประเมินต่างๆมาก
มันจำเป็นมากกว่าคุณภาพของนักเรียนจริงๆหรอคะ
ดิฉันได้มีโอกาสอ่านการถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องการประเมินของโรงเรียนไทย
ใน Pantip จึงได้รู้ว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่เห็นด้วย
ว่าการประเมินต่างๆ นอกจาก ผอ.จะได้หน้า ครูได้ขึ้นเงินเดือน และยังมีเรื่องของ
งบประมาณต่างๆที่จะได้รับหลังจากประเมินผ่าน ทุกคนคิดเห็นว่าอย่างไรคะ
สำหรับดิฉัน ใช่ค่ะมันสอดคล้องกันกับบทความในข้างต้นนี้
‘สถานศึกษาไทย ไม่ มี ความ เท่า เทียม กัน’
แม้แต่งบประมาณยังต้องเข้ารับการประเมินถึงจะได้
งบประมาณการศึกษา ควรให้สถานศึกษา โดยไม่ต้องเข้ารับการประเมินค่ะ
เพราะในวันที่เด็กเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ คุณภาพของเค้าจะเป็นตัวชี้อนาคต
ไม่มีนายจ้าง หรือบริษัทไหนรับเข้าทำงาน เพราะว่า
‘จบจากสถานศึกษาพระราชทาน’ หรอกค่ะ
4 ข้อที่ได้บรรยายมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ตัวดิฉันเองเจอมานะคะ
โรงเรียนบางแห่งอาจไม่ได้เป็นตามที่กล่าว ดิฉันแค่
อยากแชร์ความคิดเห็นของตนเองเพียงเท่านั้น
ทุกคนมีความคิดเห็นกับ ‘การศึกษาไทยในภาครัฐ’ อย่างไรบ้าง
คอมเมนต์เพื่อแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
(เป็นการเขียนบทความครั้งแรกในชีวิต หากผิดพลาดประการใด ให้อภัยด้วยนะคะ)
**ปล.บทความข้างต้น ไม่เกี่ยวกับโรงเรียนในรูปภาพประกอบแต่อย่างใด
หากเป็นโรงเรียนของใคร ขออนุญาต และ ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ
โฆษณา