27 เม.ย. 2021 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
6 เทคนิคเขียน Resume เขียนอย่างไร ให้เพิ่มโอกาสได้งาน
Resume หรือ เรซูเม่ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยของผู้ที่จะสมัครงานหรือหางานใหม่มักต้องเพื่อให้ทางนายจ้างได้พิจารณาถึง การสรุปประสบการณ์การทำงาน การศึกษา และความสามารถของเราเอาไว้ในที่เดียว เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณสมบัติต่างๆ ที่เรามีนั้น จะไปช่วยเหลืองานที่เขาต้องการได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้บรรดานายจ้าง หรือผู้จัดการได้เลือกเราให้ตรงกับงานที่พวกเขากำลังเปิดรับอยู่ ซึ่งการตัดสินใจของผู้จ้างบางคนนั้น ก็วัดกันที่ Resume เสมือนเป็นด่านแรกอยู่แล้ว ว่าจะไปต่อหรือจะลงถัง ดังนั้นการสร้าง Resume ที่ดีก็ช่วยเพิ่มโอกาสได้เราสามารถไปต่อในจุดต่อไปอย่างการเรียกสัมภาษณ์ได้ หรืออย่างแย่ที่สายงานไม่ตรง ก็อาจถูกส่งต่อไปในแผนกอื่นๆ เพื่อพิจารณากันต่อไปในภายหลัง
แต่ในทางกลับกันหาก Resume ที่ทำออกมาดันดูไม่น่าสนใจ หรือไม่ตรงตามสิ่งที่ควรจะเป็นก็อาจจะตกกระป๋องโดยที่ไม่ต้องผ่านการพิจารณาข้ออื่นๆ ไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การหางานเป็นเรื่องยากแบบนี้แล้ว ทาง Uppercuz ก็เชื่อว่าทุกคนคงที่จะไม่อยากเสียโอกาสที่จะได้งานกันอยู่แล้ว เลยอยากจะมาแชร์เทคนิคการทำ Resume กันดูว่า เราจะเขียน Resume อย่างไรที่ช่วยให้เรามีโอกาสได้งานมากขึ้น
1. ตั้ง Format ก่อนเขียน
ก่อนเริ่มต้นที่จะเขียน Resume นั้น การมองหา Template ตั้งต้นเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเล่าเรื่องใน Resume ของเราเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะการขึ้นต้นจากกระดาษเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย จะเป็นอะไรที่เคว้งคว้างมาสำหรับในตอนเริ่ม ซึ่งสำหรับคนที่ยังเริ่มต้นไม่ถูก สามารถเลือกได้ก่อนว่า เราอยากจะใช้ Template แบบไหนในการเล่าเรื่องของเรา ซึ่งโดยหลักๆ เราแนะนำอยู่ 2 ประเภท คือ
1.1 Functional Resumes
สำหรับ Resume ประเภทนี้ จะเป็น Resume ที่เน้น ในส่วนของทักษะที่เรามี ประกอบกับประสบการณ์ที่ทำงานมา แทนที่จะเป็นการไล่เรียงว่าเราทำอะไรมาบ้าง มันเลยค่อนข้างจะเหมาะกับ ผู้หางานที่ต้องการเปลี่ยนสายงาน หรือมี Gap ว่างงานอยู่ในประวัติการทำงาน เพราะจะดึงให้คนอ่านนั้นมาสนใจในส่วนของความสามารถของเรามากกว่าที่จะรู้ว่าเราไปทำอะไรมา โดย Format คร่าวๆ เราสามารถเริ่มได้จาก
Part1: ชื่อและช่องทางการติดต่อเบื้องต้นให้คนติดต่อกลับได้
Part2: สรุปความเป็นตัวเองแบบสั้นๆ
Part3: ความรู้ความสามารถที่เราถนัด และเหมาะกับตัวงาน 3 อย่าง โดยสามารถใส่รายละเอียดเป็น Bullet ได้ โดยเรียงเอาจากความสามารถที่เหมาะสมกับตัวงานมากที่สุดเอาไว้ลำดับแรก
Part4: ประวัติการทำงานเบื้องต้น เช่น บริษัท ตำแหน่ง และช่วงปี
Part5: ประวัติการศึกษา ใส่ถึงแค่ระดับมหาวิทยาลัยก็พอ
Part6: ใบประกาศนียบัตรหรือใบรับรองจากคอร์สต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือกิจกรรมสำคัญที่เคยเข้าร่วม
 
สามารถดูตัวอย่างของ Functional Resumes เพื่อนำมาปรับใช้เป็นของตัวเองได้ตามตัวอย่างด้านล่าง
1.2 Chronological Resumes
สำหรับ Resume ประเภทนี้ อาจจะเป็นประเภทที่ได้รับความนิยม และเห็นในทั่วไปมากกว่า เพราะจะเป็นการไล่เรียง Timeline การทำงานแบบตรงไปตรงมา ซึ่งก็จะเหมาะกับคนที่ทำงานสายเดิมๆ มาโดยตลอด และมีประวัติการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการใช้ก็จะเป็นเหมือนการเล่าประวัติการทำงานของตัวเอง หน้าที่ที่รับผิดชอบ และผลงานที่โดดเด่นในแต่ละที่ โดยเรียงจากใหม่เป็นเก่านั่นเอง ซึ่ง Format สำหรับ Resume ประเภทนี้ก็สามารถเริ่มได้จาก
Part1: ชื่อและช่องทางการติดต่อเบื้องต้นให้คนติดต่อกลับได้
Part2: สรุปความเป็นตัวเองแบบสั้นๆ
Part3: เรียงลำดับประวัติการทำงานจากล่าสุดไปยังอดีตสุด โดยเนื้อหาภายในคือการใส่ตำแหน่งที่เราทำในแต่ละที่ งานที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย และผลของการทำงานนั้นๆ ว่ามีการช่วยเหลือทีมหรือองค์กรออกมาได้อย่างไรบ้าง ถ้ามีการทำมาหลากหลายที่ สามารถเลือกเฉพาะผลงานเด่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะสมัครได้
Part4: ประวัติการศึกษา ใส่ถึงแค่ระดับมหาวิทยาลัยก็พอ
Part5: ใบประกาศนียบัตรหรือใบรับรองจากคอร์สต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือกิจกรรมสำคัญที่เคยเข้าร่วม
2. หลักการ 3W
ในกลุ่ม HR ของเมืองนอก มีการทำการสำรวจไปยังผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงบรรดาผู้บริหารขององค์กรถึงคำถามที่ว่า พวกเขาอยากเห็นอะไรบ้างใน Resume ซึ่งเมื่อสรุปออกมาให้ว่า มีอยู่ 3 คำถามสำคัญ ที่พวกเขาอยากรู้ และอยากได้จากใน Resume เลยดังนี้
2.1 What did you do?: คุณเคยทำอะไรมาก่อน?
ตอบให้ได้ว่าในอดีตนั้นเคยทำอะไรมาบ้าง จากการเลือกผลงานที่โดดเด่นที่เคยทำมา และพยายามเชื่อมโยงกับงานใหม่ที่มีให้ได้ ซี่งถ้ามีประสบการณ์อยู่แล้ว ให้ใช้ Project จากที่ทำงานเก่าๆ มาได้เลย
แต่ถ้าเป็นแบบจบใหม่ สามารถเลือกใช้จาก Project ในช่วงฝึกงานแทนได้ ถ้าไม่มีอีกอาจต้องเอาในสมัยเรียนมาใช้แทน และแยกมาเป็น Portfolio ว่า เรามีผลงานอะไรในช่วงเรียน หรืออาจทำการบ้านใหม่มาเพิ่มเติมได้เช่นกัน
2.2 Why did you do it?: ทำไมคุณถึงทำมันขึ้นมา?
ตอบให้ได้ว่าทำไมเราถึงเลือกทำ Project นี้ ที่ไม่ใช่บอกว่าได้รับมอบหมาย แต่ต้องเล็งเห็นถึงคุณค่าอะไรบางอย่างถึงเลือกหัวข้อนี้มาในการทำ หรืออะไรที่ทำให้เราริเริ่ม Project นี้ขึ้นมา ซึ่งก็พยายามตอบให้ตรงกับ Attitude ที่องค์กรเหล่านั้นอยากได้ ก็จะสร้างคุณค่าได้มากขึ้น
2.3 What was the result?: ผลของสิ่งที่คุณทำออกมาคืออะไร?
ตอบให้ได้ว่าผลออกมาเป็นยังไง ในส่วนนี้แทบจะสำคัญและน่าสนใจที่สุด เพราะผู้บริหารยอมอยากเห็นผลลัพธ์ที่ออกมาจากงานของเรา เช่น จากโปรเจคนี้ ช่วยให้ยอดขายโตได้ถึง 20% หรือเป็นการบอกว่าสิ่งที่เราทำนั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงให้องค์กรที่เราเคยอยู่ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
1
ซึ่งเนื้อหาที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Functional หรือ Chronological นั้น ก็สามารถใส่ในเข้าไปในพาร์ทของ เนื้อหาความสามารถของเราหรือใน Timeline ของการทำงานก็ได้เช่นกัน
3. ปรับเรื่องประสบการณ์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา
หากยังประสบการณ์ของเรายังมีไม่มากนัก การใช้ Chronological Resume นั้น อาจมีช่องว่างใน Resume จนเกินไป จนอาจต้องไปใช้แบบ Functional Resume แทน โดยให้ขุดเอารายละเอียดจากประสบการณ์จากงานที่ได้รับมอบหมายออกมาให้ได้เยอะที่สุด ว่าใน 1 งานทำอะไรไปบ้าง มันทำให้เราเกิดความเชี่ยวชาญในด้านไหนมากขึ้น และองค์กรหรือทีมนั้นได้อะไรจากเราในงานนั้น
ในขณะเดียวกันถ้าประสบการณ์ทำงานโชกโชน ผ่านการทำงานมาหลากหลายที่แล้วก็สามารถไล่เรียงกันแบบ Chronological เข้าไปได้เลย โดยเราก็จะมีจำนวนบริษัทมากมายที่เคยทำมาใน Resume ของเรา ให้เลือกเฉพาะ Key Success จากการทำงานในแต่ละที่มาได้เลย และเลือกตัวที่คิดว่ามีผลกระทบด้านดีต่อบริษัทมาที่สุด ข้ามตัวที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ได้ เอาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับบริษัทได้จริง เช่น โปรเจคนี้สามารถลด Cost ในการดำเนินงานได้ถึง 30% ภายใน 1 ปี เป็นต้น
4. จบได้ใน 1 หน้าเป็นดี
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าคนที่จะรับเราเข้าทำงานไม่ได้มีเวลาดูมากขนาดนั้น ถ้าบริษัทมี HR ก็ดีไป แต่ถ้าเป็นเจ้าของหรือผู้บริหารถึงกับต้องลงมามีส่วนร่วมในการรับเองจากการสกรีน Resume ก่อนสักรอบ คงไม่สนใจ Resume ที่ทำมาหลายๆ หน้า เพราะเสียเวลาพวกเขาเป็นอย่างมาก ดังนั้นการใส่เฉพาะประสบการณ์งานโดดเด่น งานสำคัญ ที่เรียกร้องความสนใจได้ไม่น้อย เพราะอ่านปุ้บ 1 หน้าคือก็จะรับรู้ได้เลยว่าคนๆ นี้เชี่ยวชาญด้านไหน และเหมาะกับเราไหม
ซึ่งในมุมคนทำ Resume ก็ต้องพยายามเลือกความสามารถเฉพาะที่เป็น Expert ไปและเหมาะสมกับงานกันไปเลย ในส่วนที่เป็น General ก็สามารถพูดรวมๆ ไปได้โดยที่ไม่ต้องเน้นเยอะ ซึ่งถ้ามีส่วนของผลงาน หรือเนื้อหาที่อยากจะเล่าเพิ่มเติม ก็ควรแยกในส่วนนั้นเอาไว้ใน Portfolio ไม่ใช่ใส่ทุกอย่างทุกมาใน Resume เพราะมันจะเยอะจนเกินไป
5. ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับงาน
 
โดยปกติแล้วผู้คนมักที่จะทำ 1 Resume และใช้มันในการหว่านไปสมัครงานในที่ต่างๆ ในเวลาพร้อมๆ กัน เพราะมองว่าสามารถทำได้ทีเดียวจบ แต่กลับกันคำเตือนของเราก็คือ อย่าใช้ Resume เดิมกับทุกๆ งาน หรือกับทุกๆ ตำแหน่ง เพราะแต่ละที่มีสิ่งที่ต้องการจากเราไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นงานตำแหน่งเดียวกันก็ตาม
ดังนั้นก่อนเริ่มเขียน Resume นั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือ การกาง Job Description ของแต่ละงานที่เราต้องการสมัครมาดูก่อน จากนั้นค่อยปรับ Resume ให้เนื้อหาในส่วนของ ประสบการณ์ ทักษะความสามารถ หรือพวก Certification ต่างๆ ตรงกับเนื้อหาของงานนั้นๆ เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ชูสิ่งที่เรามีออกมาได้โดดเด่น และตรงกับ Requirements ที่บริษัทต้องการมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสิ่งที่มี Match กับสิ่งที่องค์กรต้องการแล้ว ก็ย่อมมีโอกาสได้งานมากขึ้นเช่นกัน
6. อย่าลืมตรวจทานอีกสักที
คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ หากทำในทุกส่วนออกมาได้ดีหมด แต่ดันเกิดจุดผิดขึ้นมา เพราะจุดผิดบน Resume มันจะกลายเป็นจุดเด่นมากๆ ในการแสดงถึงความไม่รอบคอบและไม่เอาใจใส่ และจะสร้างความประทับใจที่เป็นลบให้กับผู้พบเห็นได้เป็นอย่างมาก
สิ่งที่ผู้สมัครงานทุกคนควรทำคือ การตรวจเช็คให้ละเอียด ทั้งในเรื่อง Font, คำผิด, การเว้นวรรค, ความต่อเนื่องของประโยคและคำ การจัดวาง ทุกอย่างจะต้องออกมาแบบไม่มีจุดผิดเลย หากทำตามนี้ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ขอให้ทุกคนได้งานตามที่หวังกันทุกคนครับ
อ่านบทความเต็มได้ที่
โฆษณา