28 เม.ย. 2021 เวลา 00:19 • ประวัติศาสตร์
วรรณะในอินเดีย ต้นธารความเหลื่อมล้ำ ในสถานการณ์โควิด
ระบบชนชั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกปกครอง
..
สภาพในประเทศอินเดียตอนนี้ บอกเลยว่า ถ้าในภาษาอนิเมะต้องใช้คำว่า "มาคุ"สุด ๆ
1
ทั้งอัตราการติดเชื้อที่ทำลายสถิติโลกทุกวัน บวกกับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น จนคนตายยังหาคิวเผาศพแทบไม่ได้
อีกสารพัดความขาดแคลนทั้งเตียงผู้ป่วย อ๊อกซิเจนไปจนถึงยารักษาโควิด-19
และจากภาพข่าวล่าสุดที่มีเศรษฐีอินเดียจำนวนมาก เลือกที่จะหนีความตายด้วยวิธีการเช่าเหมาลำเครื่องบินไปต่างประเทศ
1
ภาพเหล่านี้ ช่างเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำของสังคมอินเดียให้ชัดเจนขึ้นไปอีก
มีหลายคนที่วิเคราะห์ว่าความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะต่าง ๆ ของอินเดียนั้น มีรากเหง้ามาจากระบบวรรณะที่ยังคงซึมลึกอยู่ในวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนอินเดีย
..
ระบบวรรณะคืออะไร❓
ใครเป็นคนกำหนดระบบนี้ขึ้นมา❓
..
ตามประวัติของประเทศอินเดีย แต่เดิมอินเดียไม่มีระบบชนชั้นวรรณะ
คนที่นำระบบวรรณะมาสู่แผ่นดินชมพูทวีปแห่งนี้คือ"ชาวอารยัน"
ชาวอารยันหรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่าชาวอริยะ เป็นชนชาติในเขตเทือกเขาคอเคซัสแถบเอเชียกลาง(คาดว่าคือประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน)
ชาวอารยันเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่เป็นนักรบ เก่งกาจเรื่องการรบบนหลังม้า จึงมักรบชนะชนเผ่าที่ชอบอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปไหน
ชาวอารยันแผ่อิทธิพลไปทั่ว ทั้งแถบเปอร์เซีย ยุโรป รวมทั้งรุกลงมาถึงอินเดียตอนเหนือด้วย
1
ชาวมิลักขะ ชนพื้นเมืองเดิมในแผ่นดินอินเดียตอนเหนือ จำต้องถอยร่นไปจนถึงอินเดียตอนใต้ เมื่อพวกเขาถูกรุกรานจากชาวอารยัน
..
หลังจากชาวอารยันเข้ามายึดอินเดียตอนเหนือได้แล้ว
พวกเขาจึงนำความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์เข้ามาใช้ในการปกครอง
แผ่นดินแถบนี้
1
และนั่นเองคือการถือกำเนิดขึ้นของระบบวรรณะเป็นครั้งแรกในแผ่นดินชมพูทวีปที่ชื่อว่า"อินเดีย"
..
ระบบวรรณะนั้นมีพัฒนาการมาตั้งแต่ ก่อนสมัยพุทธกาล
แรกเริ่มเดิมที ชาวอารยันไม่ได้มีศาสนา แต่นับถือผีเช่นชนเผ่าอื่น ๆ
ภายหลังเริ่มมีการคิดค้นสร้างรูปเคารพขึ้นมาเพื่อกราบไหว้ บูชาแทนผี
ต่อมารูปเคารพต่าง ๆ ก็พัฒนามาเป็นเทพ เทวดาจนเกิดเป็นศาสนาพราหมณ์ในภายหลัง
2
ศาสนาพราหมณ์ของชาวอารยันเป็นศาสนาเดียวที่ไม่มีศาสดา แต่มีองค์เทพมากมายเป็นที่เคารพและมีคัมภีร์พระเวทเป็นหลักทางศาสนา
หนึ่งในคำภีร์พระเวทที่สำคัญก็คือคำภีร์ฤคเวท
คำภีร์ฤคเวทนี่เองที่ระบุถึงสิ่งที่เรียกว่า"วรรณะ"
วรรณะ มีความหมายว่า "สี" ใช้ในการแบ่งคนออกตามเชื้อสายและหน้าที่ เป็นไปตามความเชื่อและหลักการปกครองของชาวอารยัน
...
ระบบวรรณะแบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ โดยแต่ละวรรณะถือเป็นตัวแทนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของพระพรหม
วรรณะสูงที่สุดอันดับแรกคือ
วรรณะพราหมณ์
วรรณะพราหมณ์ เชื่อว่ากำเนิดมาจากพระโอษฐ์หรือปากของพระพรหม คนวรรณะนี้ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการแก่กษัตริย์ รวมทั้งสอนมนตรา สอนพระเวทต่าง ๆ
สีที่ใช้แทนวรรณะพราหมณ์คือสีขาว อันหมายถึงความบริสุทธิ์
2
..
วรรณะที่สองคือ วรรณะกษัตริย์
วรรณะกษัตริย์เชื่อว่าเกิดมาจากพระอุระหรืออกของพระพรหม
1
วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองและออกรบ โดยถือว่าเป็นตัวแทนของพระอาทิตย์ มีสีประจำวรรณะคือสีแดง
..
วรรณที่สามคือวรรณะแพศย์หรือไวศยะ
วรรณะแพศย์ เกิดมาจากพระเพลาหรือตักของพระพรหม
ประกอบด้วยพวกพ่อค้า คหบดี
และเกษตรกร มีหน้าที่ทำมาหากินค้าขาย หาทรัพย์สินเงินทอง
สีประจำของวรรณะแพศย์คือสีเหลือง
..
วรรณะที่สี่คือวรรณะศูทร
วรรณะศูทรเป็นวรรณะที่เชื่อว่าเกิดมาจากพระบาทหรือเท้าของพระพรหม คนในวรรณะศูทรก็คือเหล่าลูกจ้าง กรรมกร คนใช้แรงงานทั้งหลาย
สีประจำวรรณะนี้คือ สีดำ
1
..
วรรณะที่เป็นที่ยอมรับในสังคมอินเดียจะมีเพียง 4 วรรณะนี้เท่านั้น
โดยคนในสองวรรณะหลังคือ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของคนสองวรรณะแรกเสมอ
แต่มีอีกวรรณะหนึ่ง ที่ไม่ได้รับการยอมรับแต่มีอยู่จริงคือวรรณะจันฑาล
คนวรรณะจัณฑาล คือคนที่เกิดมาจากพ่อ แม่ที่อยู่ต่างวรรณะกัน ไม่ว่าพ่อหรือแม่จะอยู่วรรณะสูงส่งเพียงใด แต่หากอีกฝ่ายอยู่คนละวรรณะกัน ลูกที่เกิดมาจะกลายเป็นคนวรรณะจัณฑาลทันที
2
คนวรรณะจัณฑาล ถือว่าเป็นคนนอก ไม่ได้รับการยอมรับจากคนวรรณะอื่น เป็นพวกต่ำต้อยด้อยค่า ถูกกีดกันในทุก ๆ อย่างจากสังคมอินเดีย จนเหมือนอากาศธาตุ ไม่มีตัวตน
..
ความเชื่อเรื่องวรรณะที่เข้มข้นนั้น เริ่มมาตั้งแต่ชาวอารยันเข้ามาปกครองอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล เข้าสู่สมัยพุทธกาล จนหลังสมัยพุทธกาล ความเชื่อเรื่องวรรณะก็ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมอินเดียตลอดมา
แม้กระทั่งช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ระบบวรรณะในอินเดียก็ยังคงไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่สงบนิ่งอยู่ในความเชื่อที่ถูกปลูกฝังต่อ ๆ กันมา
..
ไม่ว่าระบบวรรณะจะถูกกำหนดขึ้นมาเพราะความเชื่อทางศาสนาหรือเป็นระบบที่ผู้ปกครองออกแบบมาเพื่อจัดการบ้านเมืองให้เป็นไปตามความต้องการก็ตาม
การที่คน ๆ หนึ่งถูกกำหนดชะตาชีวิตด้วยชาติกำเนิด มันช่างเป็นเรื่องที่ดูไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่
ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้
ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ายิ่งนัก
ที่ต้องมีการเลือกว่าจะให้ใครอยู่หรือใครที่ต้องเป็นผู้จากไป
1
...
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา