28 เม.ย. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
ไต้หวันทำอย่างไรถึงจัดการโควิดได้อย่างมีประสิทธภาพ
ทั้งที่มีเขตแดนใกล้ชิดกับประเทศจีน และ ประชากรของทั้งสองประเทศยังเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นปกติ แต่จนถึงวันนี้ไต้หวันมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 12 คน มีรายงานผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 1,104 คน ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ไต้หวันยังไม่เคยล็อคดาวน์ ไม่ได้เป็นแม้กระทั่งประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ไต้หวันมีวิธีจัดการกับวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้อย่างไร?
1
นับตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่เริ่มมีการระบาดในจีน ไต้หวันได้ออกคำสั่งให้ปิดชายแดนและคัดกรองคนที่เดินทางมาจากประเทศจีน ตอนนั้นมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อในจีนเพียง 27 คนเท่านั้น และยังไม่มีข้อมูลว่าโควิดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่
1
ไต้หวันส่งจดหมายหาองค์การอนามัยโลกเพื่อตั้งข้อสังเกตว่าโรคนี้อาจจะติดต่อจากคนสู่คนและเตือนให้เตรียมรับมือกับโรคระบาด ถึงจะไม่มีการตอบรับใดๆ แต่ไต้หวันก็ไม่ได้เพิกเฉย นอกจากจะปิดชายแดนเพื่อควบคุมการเดินทาง ยังมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน Central Epidemic Command Centre เพื่อเป็นหน่วยงานกลาง ประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานในการรับมือ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
2
จนกระทั่งวันที่ 20 มกราคม 2020 ประเทศจีนได้ยืนยันว่าไวรัสโควิดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ประกอบกับวันที่ 21 มกราคม 2020 ไต้หวันพบผู้ติดเชื้อคนแรก สี่วันหลังจากนั้นจึงสั่งปิดชายแดนไม่ให้คนจากประเทศจีนเดินทางเข้าประเทศทันที แต่ถ้าประชากรไต้หวันต้องการเดินทางเข้าประเทศ จะต้องมีการกักตัวเพื่อดูอาการอย่างเคร่งครัด 2 อาทิตย์
2
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินได้นำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ big data analysis มาใช้เพื่อติดตามประชากรที่เดินทางเข้าประเทศและประชากรที่กำลังกักตัว ว่าได้เดินทางไปที่ไหนบ้าง อยู่บ้านกักตัวจริงหรือไม่ หากมีการเดินทางออกจากสถานที่กักตัวก็จะมีเสียงเตือนส่งไปยังหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งฐานข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดการอย่างเป็นระบบ
1
ที่ทำแบบนี้ได้เพราะหน่วยงานสาธารณะสุข National Health Insurance Administration และหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง National Immigration Agency มีฐานข้อมมูลเชื่อมโยงกัน ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาและประวัติการเดินทางของประชากรที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ สามารถติดตามเป็นรายบุคคลได้ง่าย
2
นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการยังได้ทำงานร่วมกับตำรวจ องค์กรท้องถิ่น และเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนที่ต้องกักตัว นอกจากจะสามารถติดตามตำแหน่ง Real-time ได้จากมือถือว่ามีผู้กักตัวหรือผู้ติดเชื้ออยู่ที่ใดบ้าง ยังมี Chatbot หรือโปรแกรมสนทนาอัตโนมัติรวมถึงสายด่วน 24 ชั่วโมง ให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ คำแนะนำในการดูแลตัวเอง รวมถึงยังมีการจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐานให้หากแจ้งความประสงค์
2
ซึ่งการจัดตั้งศูนย์อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้ไต้หวันได้รับการยกย่องจากผู้เชี่ยวชาญว่าช่วยให้ควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ช่วงแรก
1
เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนกกับการขาดแคลนหน้ากากอนามัยจนต้องซื้อกักตุน รัฐบาลได้กระจายหน้ากากอนามัยให้มีการจำหน่ายอย่างเพียงพอในหลายพื้นที่ โดยจำกัดสิทธิ์ให้ซื้อได้คนละ 3 ชิ้นต่ออาทิตย์ รวมถึงยังสั่งเพิ่มปริมาณการผลิตโดยร่วมมือกับหน่วยงานเอกชน ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อผลิตหน้ากากอนามัย โดยที่รัฐบาลจะเป็นคนรับซื้อทั้งหมดในราคาที่ตกลงกัน
3
การจัดการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพของรัฐบาลทำให้ไต้หวันเพิ่มไลน์การผลิตหน้ากากอนามัยได้มากถึง 60 ไลน์การผลิตภายใน 25 วัน ทั้งที่โดยปกติขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาหลายเดือน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้มากถึง 20 ล้านชิ้นต่อวัน
3
บทเรียนจากซาส์เมื่อ 17 ปีก่อนทำให้ไต้หวันไม่ประมาท สมัยที่ไวรัสซาส์ระบาด ประเทศไต้หวันมีผู้ติดเชื้อ 343 คน เสียชีวิต 73 คน คิดเป็น 21% สูงเป็นอันดับต้นๆของโลก หลังจากนั้นไต้หวันจึงมีกฎหมายให้โรงพยาบาลทุกแห่งเตรียมอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการรับมือโรคติดต่อในระดับเดียวกับซาส์ไว้ล่วงหน้า 30 วัน จึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อมั่นใจว่าเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นอีก โรงพยาบาลจะสามารถดูแลผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจได้พร้อมกันจำนวนมาก
2
ดังนั้นไต้หวันจึงไม่มีปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์การแพทย์และหน้ากากอนามัย นอกจากจะเพิ่มการผลิตเพื่อให้คนในประเทศใช้งานได้เพียงพอ ยังสามารถบริจาคหน้ากากอนามัยให้กับประเทศที่ต้องการได้มากถึง 54 ล้านชิ้น จัดหาอุปกรณ์การแพททย์ที่จำเป็นส่งไปให้ความช่วยเหลือกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
1
การรับมือที่รวดเร็วและการแก้ปัญหาตรงจุด ทำให้ประชากรไต้หวันมีความเชื่อมั่นรัฐบาลอย่างมากในการแก้ปัญหาโควิดและพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ผลสำรวจจาก YouGov polls ในเดือนพฤษภาคม 2020 พบว่า ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและระบบสาธารณะสุขของประเทศมีมากกว่า 80%
การร่วมมือที่ดีของประชาชนมาจากความเชื่อมั่นในรัฐบาล ความเชื่อมั่นรัฐบาลมาจากความสามารถในการแก้ปัญหายามที่ประเทศต้องรับมือกับวิกฤติ การตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ไม่ใช่นักการเมือง การสนับสนุนและะอำนวยความสะดวกทั้งด้านข้อมูลและอุปกรณ์จากหน่วยงานรัฐ ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ไต้หวันสามารถรับมือกับยุคโรคระบาดครั้งดีได้อย่างดี
References >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา