29 เม.ย. 2021 เวลา 12:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤตแท้จริงที่เราต้องเผชิญหลังจบ วิกฤตโควิด 19
สึนามิแห่งการล้มละลาย
1
ปัญหาที่ซ่อนอยู่หลังวิกฤตโควิด
1
สถานการการระบาดที่ตอนแรกทำถ้าเหมือนจะดีขึ้น กลับมาแย่กว่าเดิมในตอนนี้ สิ่งหนึ่งที่ โควิด ทำให้เกิดก็คือการหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจ ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สร้างความวิตกกังวลให้ผู้คน คนตกงานขายของไม่ได้ การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เงินเริ่มฝืดเคืองอย่างเห็นได้ชัด
9
ทำให้ภาครัฐต้องอัดฉีดเงินจำนวนมหาศาล
(ก่อหนี้)เพื่อที่จะสร้างสภาพคล่องกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาเหมือนเดิม แต่เงินที่ภาครัฐอัดฉีดเข้ามาก็ยังไม่สามารถเทียบกับปริมานเงินจากต่างประเทศที่หายไปได้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาเหมือนเดิม บวกกับสถานการโควิดที่จำนวนผู้ติดเชื้อและ จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน
1
ตอนนี้ทั้งโลกกำลังถูกบีบ ให้เข้าสู่ธีม ที่ภาครัฐต้องดำเนินนโยบายแบบขาดดุล พิมพ์เงินไม่จำกัด หรือ ก่อหนี้อย่างมหาศาล เพื่อเอาไปอุ้มตราสารทางการเงิน ธนาคาร อุตสาหกรรม ต่างๆ ที่ทำถ้าเหมือนจะไปไม่รอด
โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ที่จะก่อให้เกิดหนี้เสียมหาศาลต่อธนาคาร
3
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่ ขับดัน ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ก็คือ..หนี้ !!!
และสิ่งที่ทำให้เกิด วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำก็คือ...หนี้!! อีกเช่นเดียวกัน
4
Step...1 สิ่งที่เรากำลังเผชิญตอนนี้ก็คือ สภาวะที่การหมุนเวียนของเงินน้อยลงเรื่อยๆ การท่องเที่ยว การเดินทาง หยุดชะงัก ธุรกิจขนาดเล็ก(sme) เริ่มมีปัญหาขายของไม่ได้ กำไรลดลง แต่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ก็จำเป็นจะต้องลดต้นทุนลง ลดกำลังการผลิต ลดจำนวนพนักงานลง และจะก่อให้เกิดหนี้เสีย(NPL) ให้กับธนาคาร
3
Step...2 ทีนี้พอพวก sme มีปัญหา ก็จะทำให้กำลังซื้อที่มีอยู่น้อยอยู่แล้ว มันยิ่งน้อยลงเข้าไปอีกเรื่อยๆ เพราะธุรกิจขนาดเล็ก ทยอยล้มกันไป ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างอุตสาหกรรมรถยนต์ และ อสังหาก็จะเริ่มมีปัญหาตามมา ยอดขายเริ่มตก ก็ต้องลดต้นทุนการผลิต ลดคนเกิดคนตกงาน อุตสาหกรรมรถยนต์มีซัพพรายเชนที่ใหญ่มากๆ นั่นก็จะทำให้เกิดคนตกงานจำนวนมาก ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกงานไปก่อนหน้านี้แล้วอีกเพียบ และจะเป็นตัวเร่งให้เกิด...สึนามิแห่งการล้มละลาย!!!
7
Step...3 บริษัท จำกัด หมายถึงอะไร ก็หมายถึงบริษัทที่จำกัดการขาดทุนเทียบเท่ากับ ทุนจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าบริษัท 10,000 ล้าน ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้าน ก็รับผิดชอบแค่ 1,000 ล้าน ซึ่งคนที่จะได้ก่อนก็จะเป็นคนที่ถือตราสารหนี้ ส่วนคนที่ลงทุนในหุ้นก็ขาดทุนกันไป ทีนี้ปัญหาคืออะไรจากปัญหาทั้งหมดที่เอ่ยมาข้างต้น จะทำให้งบการเงินออกมาไม่ดี เนื่องจากผลการดำเนินงานยอดขายตก จะทำให้ถูกลด เรตติ้งบน bond และส่งผลให้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้บริษัทเหล่านี้มีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ดอกเบี้ยปกติก็จ่ายแทบไม่ไหวอยู่แล้ว ก็จะทำให้เกิดการทยอยล้ม แล้วก่อหนี้เสียเข้าแบ้งค์ (NPL) พนักงานก็พากันตกงานเกิดหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีก
21
ผลกระทบก็จะลามมาถึงกองทุนต่างๆ ที่ลงทุนใน bond เพราะกองทุนถูกสอนให้ต้องลงทุน ในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ และได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เมื่อ bond ถูกลดเรตติ้ง ดอกเบี้ยจะขึ้น ราคา bond จะตกและทำให้กองทุนที่ถือขาดทุน ทีนี้เมื่อกองทุนขายจะเกิดอะไรขึ้น ราคา bond จะตก และดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปอีก หายนะชัดๆ
6
Step...4 คราวนี้พอเกิดหนี้เสียมากๆ เข้าตัวธนาคารจะเริ่มมีปัญหา เพราะเกิดหนี้เสียมากเกินไป ภาครัฐก็ต้องเข้ามาอุ้ม คำถามคือจะเอาเงินที่ไหนมาอุ้ม ก่อหนี้เพิ่มอีก รัฐต้องใช้จ่ายขาดดุลไปเรื่อยๆ ก็จะถูกลดเรตติ้ง ราคาพันธบัตรตก กองทุนพากันขาดทุนยับ
5
จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งหมดมันถูกผูกกันไว้จนยาก ที่จะแกะออกหรือแก้ไขได้ จริงๆแล้วมันมีรายละเอียดที่ต้องลงลึกกว่านี้อีกมาก แต่ปัญหาหลักๆ ก็คือตอนนี้เงินในระบบมันกำลังหมุนช้าลงไปทุกที และทุกประเทศกำลังแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงิน สร้างธีมบีบให้รัฐบาลทุกประเทศในโลกก่อหนี้กันไปเรื่อยๆ นอกจากจะไม่ทำให้อะไรดีขึ้นแล้ว ยังจะทำให้วิกฤตครั้งนี้มันรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
4
ลองมาคิดดูเล่นๆ กันนะครับว่ามีอะไร ที่จะทำให้ความเชื่อมั่นกับมา คนกับมามั่นใจจับจ่ายใช้สอย การจ้างงานกลับมา เท่าที่ดูตอนนี้ยังมองไม่เห็นเลยจริงๆ
7
โฆษณา