29 เม.ย. 2021 เวลา 12:41 • หุ้น & เศรษฐกิจ
👩🏽‍💻สรุปจากการสัมนาออนไลน์👩🏽‍💻
“กองทุนรวมสำหรับมือใหม่ : เริ่มง่าย ใช้เงินน้อย”
สำหรับใครที่ไม่ทันเข้าไปฟังสัมนาดังกล่าว เดี๋ยวเรามาสรุปและอธิบายให้ฟัง ถือว่าเป็นการสัมนาที่ดีมั๊กมาก สำหรับมือใหม่ได้เรียนรู้แบบ step by step มือเก่าก็ถือว่าเป็นการทบทวนความรู้และความเข้าใจในการลงทุน รวมถึงเครื่องมือ App ต่างๆที่น่าสนใจ รวมถึงการจัดพอร์ตเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายกันด้วย แบ่งออกเป็น 3 Part ด้วยกัน
1.ที่เดียวจบ 5สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนลงทุนกองทุนรวม
2.คัดมาแล้ว App กองทุนรวมน่าใช้ เปิดบัญชีง่าย ซื้อขายสะดวก
3.รวมถึง จัดพอร์ตกองทุนรวมง่ายๆ ใครก็ทำได้ ใช้เงินไม่เยอะ
ซึ่งเราจะขอยก Part แรกก่อนนะเจ้า
“ 5 สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนลงทุนกองทุนรวม” โดย พี่ธัญ จากเพจ Than Money Trick
🙄1. รู้จักกองทุนรวม🤑 กองทุนรวม คือ การที่นำเงินจากนักลงทุนรายย่อยทั้งหลายมารวมกันให้เป็นเงินก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามนโยบาย โดยมีผู้จัดการกองทุนเป็นคนบริหาร เช่น กองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน(หุ้น) หรือกองทุนทองคำ
-คำศัพท์ที่ควรรู้และทำความเข้าใจ คือ “NAV” (Net Asset Value) “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ” คือสินทรัพย์สุทธิของกองทุน แสดงผลกำไร-ขาดทุน ทุกวัน
-ทำไมต้องกองทุนรวม
1.🌈เริ่มต้นด้วยเงินน้อย🌈 เช่น บางกองทุนไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน เราสามารถลง 5บาท 10บาท บางกองเริ่มลงทุนขั้นต่ำ 1 บาท หรือบางกองเริ่มลงทุขั้นต่ำ 1,000 บาท แล้วแต่นโยบายของกองทุนนั้นๆ ขณะเดียวกัน ถ้าเราจะไปลงทุนในหุ้น เช่น ในขณะนี้ ipo หุ้นของ TIDLOR ต้องจองขั้นต่ำอย่างน้อย 36,500 บาท เห็นความแตกต่างมั้ย?
2.👩🏼🏫มีมืออาชีพดูแลเงินให้🧐 กองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทนที่งอกเงย แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้ตั้งแต่แรกในกองทุนนั้น ในขณะที่ใครลงทุนในหุ้นเราก็ต้องดูแลตัวเอง
3.📈เลือกกองทุนตามความเสี่ยงที่เรารับได้☺️ ใครยอมรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ไปเลือกลงในที่ความเสี่ยงน้อย ใครที่สามารถยอมรับความเสี่ยงไม่มากก็เลือกกองที่รับความเสี่ยงได้มาก เพื่อความสบายใจในการลงทุน ไม่ต้องนั่งหน้าดำคร่ำเครียดเวลาพอร์ตแดง เนื่องจากการลงทุนในกองทุนไม่ใช่การฝากเงิน มีความเสี่ยงมากน้อยเราเลือกเองได้
4.🥰เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยง📉 เนื่องจาก 1 กองทุนเขาไปลงทุนในหุ้นหลายตัว อย่างที่ยกตัวอย่างไป เช่น กองทุนที่ลงทุนใน S&P 500 เขาก็เอาเงินเราไปลงทุนในหุ้นดัชนี้ของอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยหุ้นของ 500 บริษัทชั้นนำของอเมริกาที่เราคงคุ้นหูกันดี หรือกองทุนที่ลงทุนในหุ้นดัชนี SET50 ของบ้านเรา ที่ลงทุนในTop 50 บริษัทของตลาดหลักทรัพย์บ้านเรา
5.🤑บางกองสภาพคล่องสูง🤑 สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว หมายถึงขายออกวันนี้พุ่งนี้ได้เงินเลย จะเป็นกลุ่มกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน T+1
6.🙄บางกองสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้🙋🏽♀️ กองทุนที่ชื่อต่อท้ายด้วย SSF และ RMF
*ปล.ก่อนซื้อกองทุนประเภทนี้ผู้ลงทุนควรศึกษาให้ดีก่อน* ว่าตัวเองเข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีรึยัง หากยังไม่เข้าเกณฑ์แนะนำว่าไม่ต้องซื้อ เนื่องจากต้องถือไว้ในระยะยาว
SSF ต้องถือ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ จึงสามารถขายได้
RMF สามารถขายได้เมื่ออายุผู้ลงทุน 55 ปี
ดังนั้นก่อนซื้อควรทำความเข้าใจถึงเป้าหมายให้ดีก่อน เพราะมีหลายเคสที่ซื้อไปแล้ว ปรากฏว่าต้องการใช้เงินก่อนกำหนด พอกดคำสั่งขายหน่วยลงทุนแล้วไม่สามารถขายได้ แล้วก็จะถามเข้ามาเยอะมาก ว่าทำไมถึงขายไม่ได้ ต้องไปเดินเรื่องที่ธนาคารอาจจะเสียค่าปรับค่าธรรมเนียมเนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
📈ประเภทของกองทุนตามความเสี่ยง📉
ระดับที่ 1 ตลาดเงินเฉพาะในประเทศ ลงทุนประเภทเงินฝาก ตั๋วเงิน อายุไม่เกิน 1 ปีไว้เป็นที่พักเงิน
ระดับที่ 2 ตลาดเงินในประเทศ และบางส่วนลงทุนในต่างประเทศ ลงทุนประเภทเงินฝาก ตั๋วเงิน อายุไม่เกิน 1 ปีไว้เป็นที่พักเงิน
ระดับที่ 3 พันธบัตรรัฐบาล /ตราสารหนี้รัฐบาล/ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ
ระดับที่ 4 ตราสารหนี้ ภาครัฐ/ภาคเอกชน
ระดับที่ 5 กองทุนผสม ในทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน
ระดับที่ 6 กองทุนตราสารทุน ลงทุนในหุ้นทั้งไทย และ หุ้นต่างประเทศ
ระดับที่ 7 กองทุนหมวดอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มพลังงานสะอาด กลุ่มHealthcare กลุ่มเทคโนโลยี เป็นต้น
ระดับที่ 8 กองทุนสินทรัพย์ทางเลือก เช่น น้ำมัน ทองคำ อสังหา คริปโต เป็นต้น
ผลตอบแทนแทนแปรผันตามความเสี่ยง เสี่ยงน้อยผลตอบแทนน้อย เสี่ยงมากผลตอบหแทนอาจจะมากแต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนมากเช่นกัน
หากแบ่งเป้าหมาย อาจจัดแบ่งได้ตามนี้
-ระยะเวลา
ระยะสั้น(ต่ำกว่า 1 ปี ) > ตลาดเงิน /ตราสารหนี้ระยะสั้น
ระยะกลาง(1-3 ปี) > ตราสารหนี้ระยะยาว /กองทุนผสม
ระยะยาว(มากกว่า 3ปี หรือแผนเกษียณ) > ตราสารทุน / สินทรัพย์ทางเลือก กลุ่มเหล่านี้ยิ่งถือนาน ความเสี่ยงการการผันผวนของตลาดยิ่งน้อย ถัวเฉลี่ยออกามแล้วผลตอบแทนที่ได้มีโอกาสเป็น + สูง-เงินสดระหว่างทาง
ต้องการ —> เลือกแบบปันผล
ไม่ต้องการ —> เลือกแบบไม่ปันผล
-ต้องการลดหย่อนภาษีมั้ย
กองลดหย่อนภาษี SSF / RMF
2.📄ต้องรู้อะไร Fund fact sheet 📑
หนังสือชี้ชวน จะสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม ได้แก่
1.ลงทุนในอะไร
2.เหมาะกับใคร
3.ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ กรณีที่เราไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ อาจจะต้องระวังความผันผวนของค่าเงิน
4.สัดส่วนการลงทุน ลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง เช่น Tesla 9 % Microsoft 4% เป็นต้น
5.ค่าธรรมเนียม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเก็บจากเรา เช่นค่าธรรมเนียมการซื้อ-ขาย ส่วนที่สองคือค่าธรรมเนียมกองกลาง หักจาก NAV เป็นค่าการจัดการกองทุนเนื่องจากมีมืออาชีพดูแล (ผู้จัดการกองทุน)เขาก็จะได้ส่วนนี้จากเรา
6.ผลการดำเนินงาน ทำให้เราเห็นศักภาพของผู้จัดการกองทุน ว่าใน 3-5 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในอดีตให้ผลตอบแทนที่ดีหรือไม่อย่างไร แน่นนอนว่าผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต เพียงแต่เป็นแนวทางให้เราคัดสรรกองทุนที่ตรงกับเป้าหมายของเรา
7.ข้อมูลอื่นๆ เช่น ลงทุนขั้นต่ำเท่าไหร่ เวลาซื้อ-ขาย T+1 ,+2, +3, +4, +5
3.🎉มีเงินหลักร้อย ไปให้ถึง หลักล้าน🎉
เหมือนรดน้ำต้นไม้ ให้ออกดอกออกผล
-เงินลงทุน สะสม DCA ไปเรื่อยๆ เติมเงินในพอร์ตเรื่อยๆ เงินจะไม่มีทางเติบโต ถ้าเราลงเพียงก้อนเดียว ค่อยๆสะสมเพิ่มไปเรื่อยๆ
-ระยะเวลา ยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งลดความผันผวน *การซื้อๆขายๆจะทำให้เราเสียมากกว่าได้ เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสีย* เริ่มออมเร็ว มีโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายได้เร็ว
-ผลตอบแทน เช่น 3%, 5%, 8% ขึ้นอยู่กับกองทุนที่เราเลือกลงทุน
4.📥เมื่อไหร่ ควรซื้อ / ควรขาย📤
- ซื้อ เมื่อเงินพร้อม เป้าหมายชัดเจน เข้าใจสิ่งที่ลงทุน
-ขาย เมื่อถึงเป้าหมาย ถึงเวลาใช้เงิน ซื้อๆขายๆ ค่าธรรมเนียมบานเด้อ
5.📍เริ่มลงทุนเมื่อไหร่📍
-มีเป้าหมาย
-ประเมินความเสี่ยง
-เลือกกองทุน
-อ่านและทำความเข้าใจหนังสือชี้ชวน
-เปิดพอร์ตเริ่มลงทุน
หวังว่าเพื่อนๆจะได้ประโยชน์จากการสรุปและอธิบายเพิ่มเติม ในหัวข้อ “ที่เดียวจบ 5 สิ่งที่มือใหม่ต้องรู้ก่อนลงทุนกองทุนรวม” โดย พี่ธัญ จากเพจ Than Money Trick
7🙏🏽ขอบคุณข้อมูล แหล่งความรู้จากการสัมนาครั้งนี้ที่จัดขึ้นโดย SET🙏🏽
สามารถหาความรู้มากมายเกี่ยวกับการลงทุนที่ www.set.co.th
🙇🏽‍♀️ขอบคุณผู้ให้ความรู้ในหัวข้อนี้ โดย พี่ธัญ จากเพจ Than Money Trick🙇🏽‍♀️
เพื่อนสามารถเข้าไปติดตามความรู้เกี่ยวกับการเงินและการลงทุนจากเพจของพี่ธัญได้เลยนะคะ
โฆษณา