30 เม.ย. 2021 เวลา 13:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อเงินล้นโลกจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา
เงินเฟ้อกำลังมา และ มันน่ากลัวกว่าที่คิด
สภาวะเงินเฟ้อ
ไม่ใช่สิ่งที่คุณรู้หรอกที่นำพาปัญหามาให้ สิ่งที่คุณไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาต่างหากที่ทำ
ตอนนี้เราก็ได้เห็นแล้วว่า สถานการการระบาดของ
โควิด 19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการพิมพ์เงิน การอัดฉีดเงินการก่อหนี้ การขาดดุลของภาครัฐอย่างมหาศาล
สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือภาวะเงินเฟ้อ แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ FED ก็พยายามจะผลักดันให้เกิดอยู่แล้ว โดยคาดการว่าจะคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ให้โตไม่เกิน 2% เพราะถ้ามากเกินไปอาจนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้
อยากให้คุณผู้อ่านเข้าใจตรงกันก่อนนะว่า เงินเฟ้อไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เงินเฟ้อ เป็นเหมือนผลลัพที่เกิดจากการ ควบคุมอัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นปรับลง แล้วแต่สภาวะเศรษฐกิจ หรือใช้วิธีเพิ่มลดรายจ่ายของภาครัฐ เพิ่มภาษี
ทีนี้สิ่งที่จะก่อให้เกิดเงินเฟ้อมันมีหลายปัจจัยมาก อย่างแรกเลยเป็นแบบที่เราๆ ก็รู้กันดีอยู่แล้ว คือเมื่อมีการหมุนเวียนเงิน มีการลงทุน ที่มากเกินไป เศรษฐกิจดีเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็ต้องใช้นโยบาย การเงิน การคลัง เข้ามาช่วยลดความร้อนแรง เพื่อชลอการลงทุน ไม่ให้อัตราเงินเฟ้อโตเร็วเกินไป
สิ่งที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ อีกอย่างหนึ่งก็คือการก่อหนี้ที่มากเกินไป ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นแล้วว่า ทั่วทั้งโลกตอนนี้ไม่สามารถ ที่จะหยุดก่อหนี้ได้แล้ว
1
ถ้าถามว่าตอนนี้หนี้ที่เป็นอยู่มันมหาศาลขนาดไหน FED คาดการณ์ว่าปี 2021 GDP ของทั้งโลกจะเติบโต 6% เหมือนจะดูดีนะ เพราะเทียบกับปีที่แล้วที่ล็อกดาวน์ ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะไม่ถึงก็ได้ ปัญหาก็คือมันไม่พอจ่ายดอกเบี้ย 1% จากหนี้เลยด้วยซ้ำ หมายความว่าเงินที่พยายามอัดฉีดเข้าไป มันไม่สามารถดันเศรษฐกิจให้เติบโตได้อีกแล้ว และในความเป็นจริงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายอาจมากกว่า 1%
และการอัดฉีดเงินก่อหนี้ในครั้งนี้ มันแทบจะไม่ต่างอะไรกับปี 1946 ที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และปี 1971 ที่เกิดสงครามเวียดนามเลยดูจะมากกว่าด้วยซำ้
แน่นอนว่าตอนช่วงที่เกิดสงครามเงินเฟ้อไม่ได้ขึ้นแค่ 1 เท่า ช่วงปี 1946 - 1947 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 14% หรือเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า และในปี 1972-1974 เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจาก 3.2% เป็น 11% เพิ่มขึ้น 3.5 เท่า
เมื่อดูจากอดีตที่ผ่านมาการที่ FED จะคุมเงินเฟ้อไว้ที่ 2% อาจจะเป็นไปได้ยาก แต่แน่นอนว่าเค้าคง ออกมา
ยอมรับตรงๆไม่ได้หรอกว่า เอาไม่อยู่แล้วนะ เกิดวิกฤตมากี่ครั้งก็บอกว่าเอาอยู่ตลอดสุดท้ายเละ
ลองย้อนไปดูการสอบสวนหลังเกิดเหตุการณ์ปี 2008 เค้าพูดว่าไง
"เราขายสินค้าที่มีความเสี่ยงในระดับราคาที่ลูกค้าต้องการ" ราคาร่วง ถามว่าเค้ารู้มั้ยว่ามันจะเกิดเค้ารู้ แต่เค้าไม่บอกคุณ
เมื่อเกิดเงินเฟ้อ จะส่งผลอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจ
การตีกลับของอัตราดอกเบี้ย ทำให้ต้นทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น อาจถึงขั้นล้มละลายและคนก็จะตกงานจำนวนมาก
ราคาหุ้นตก เกิดการ call cash เพราะบริษัทพวกนี้เอาหุ้นไปคำ้ประกันเมื่อราคาหุ้นตก ธนาคารก็จะต้องเรียกหลักประกันเพิ่ม ปัญหาคือไม่มี cash ให้ call ก็จะทำให้ธนาคารต้องเทขายทุกราคา บอกได้คำเดียวว่าเละ
นักลงทุน กองทุน ที่ลงทุนใน ตราสารหนี้ เมื่อดอกเบี้ยตีกลับ ราคา bond ก็จะตกทำให้ขาดทุนยับ และตลาด ตราสารหนี้ ใหญ่กว่าตลาดหุ้นหลายเท่า
1
ต่อมาก็พวกกองทุนประกันต่างๆ อย่าง CDS
หรือ Credit Default Swap ที่ทำประกันอัตราดอกเบี้ยเมื่อดอกเบี้ยตีกลับ คนที่ลงทุนในพันธบัตรก็จะขาดทุน และมาขอเคลมประกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นจำนวนมากจะ หาเงินจากไหนมาให้เคลมละ
จะเกิดภาวะที่เรียกว่า cash crunch คือ
ภาวะที่เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
ทุกคนจะแห่ขายทรัพย์สินเพื่อหาสภาพคล่อง
นี่คือเหตุผลที่ทั่วทั้งโลกไม่สามารถที่จะหยุดพิมพ์เงินได้
วิกฤตโควิด ทำให้เศรษฐกิจเกิดหยุดชะงัก หลายบริษัทเกิดปัญหาจากการที่ใช้ Leverage มากเกินไปยอดขายเริ่มตก มันจะฟ้องบนงบการเงิน ทำให้ถูกลดเครดิตเรตติ้งราคาหุ้นจะตกและเกิดปัญหาแบบที่กล่าวมาข้างต้น
FED เลยต้องเข้ามาอุ้มประครองไว้ ก็ทำให้ยืดเวลาไปได้หน่อย แต่ก็เหมือนกับระบบทั้งหมดมันถูกออกแบบมาให้แก้ไม่ได้ เพราะการพิมพ์เงินเข้ามาอุ้ม ไม่ต่างอะไรกับการซื้อหนี้เน่าที่รอวันล้ม เพราะความจริงคือธุรกิจพวกนี้ทำกำไรไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องล้มอยู่ดี
ที่เล่ามาทั้งหมดไม่ได้หมายความ ว่าเงินเฟ้อเป็นสิ่งไม่ดี
เพราะการที่เศรษฐกิจจะกลับมาดีได้ก็ต้องเกิดเงินเฟ้อบ้างนิดหน่อย
แต่ปัญหาคือถ้าเกิดเงินเฟ้อในเวลาที่ดอกเบี้ยต่ำมาอย่างยาวนานเนี่ย จะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่ FED ทำมาตลอดก็คือการกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำเพื่อที่จะกู้เงิน ก่อหนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อดอกเบี้ยตีกลับมันก็คือหายนะดีๆนี่เอง
ยกตัวอย่างถ้าเรากู้เงินมาลงทุน 100 ล้านบาท ดอกเบี้ย 5% เราจ่ายดอก 5 ล้านบาท
ทีนี้เมื่อดอกเบี้ยลดลง จาก 5% เหลือ 2.5% เราจะสามารถกู้เพิ่มได้อีก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้าน แต่จ่ายดอกเบี้ยเท่าเดิมคือ 5 ล้าน
ถ้าดอกเบี้ยตีกลับมา 5% เท่าเดิม ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายก็จะขึ้นมาเป็น 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 100% ที่ผ่านมาดอกเบี้ยลงไปต่ำจนแทบติดลบเลย ถ้ามันตีกลับเมื่อไหร่ก็....
โฆษณา