Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โรคนิ่วน่ารู้ urology
•
ติดตาม
30 เม.ย. 2021 เวลา 04:01 • สุขภาพ
ถาม-ตอบ คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับ PSA
1.PSA คืออะไร
PSA (Prostatic-Specific Antigen) คือ สารประกอบจำพวกโปรตีน สร้างจากเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมากรวมทั้งเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก จะเจอมากในน้ำอสุจิแต่ในภาวะปกติจะสามารถตรวจพบ PSA ในเลือดได้ครับ อาจจะเรียกได้ว่า PSA คือ สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากครับ
2.หน้าที่ของ PSA คืออะไร
สาร PSA มีหน้าที่ทำให้น้ำอสุจิมีความเหลวไม่จับตัวกันเป็นก้อน(liquefy) นำ้อสุจิสามารถหลั่งออกมาได้เมื่อมีการถึงจุดสุดยอด
3.เมื่อไหร่ค่า PSA ถึงผิดปกติ
ในภาวะปกติ PSA ที่ตรวจเจอในเลือดจะมีค่าไม่เกิน 4 ng/ml เมื่อไหรก็ตามที่ PSA มีค่ามากกว่า 4 ng/ml คือว่ามีความผิดปกติของต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ยังมีการคิดค่า PSA ตามอายุด้วยครับ (Age adjusted PSA ) เพราะอายุที่มากขึ้นค่า PSA อาจจะมากขึ้นด้วยครับ โดยในแต่ละช่วงอายุมีค่าไม่เกินดังนี้
อายุ 40-49 < 2.5
อายุ 50-59 < 3.5
อายุ 60-69 < 4.5
อายุ 70-79 < 6.5
*โดยสรุป PSA มีค่าไม่เกิน 4 ng/ml ครับ*
4.ค่า PSA สูงผิดปกติเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
ค่า PSA ที่สูงขึ้น(>4 ng/ml) ไม่ได้เกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากเสมอไปครับ มีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ค่า PSA สูงได้ครับ ค่า PSA สูงได้จาก
1. โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
2.โรคต่อมลูกหมากโต
3.โรคต่อมลูกหมากอักเสบ
4. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
5. อายุที่มากขึ้น
6. การหลั่งน้ำอสุจิ
7. การส่องกล้องท่อปัสสาวะ การตรวจทางทวารหนัก
นอกจากนี้ยังมียาบางตัวที่ทำให้ค่า PSA ลดลงครับ เช่น ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก (5-Alpha reductase inhibitors)
5.เมื่อไหร่จะต้องตรวจ PSA
5.1 ตรวจเมื่อมีอาการทางระบบปัสสาวะโดยผู้รับการตรวจจะต้องมีอายุคาดเฉลี่ย(life expectancy) มากกว่า 10 ปี ร่วมกับการตรวจทางทวารหนัก(digital rectal examination) เพื่อประเมิณลักษณะของต่อมลูกหมาก ประเมินลักษณะที่บ่งบอกถึงมะเร็งต่อมลูกหมาก
5.2 การตรวจคัดกรอง
*สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า (AUA Guidelines 2018)
- อายุน้อยกว่า 40 ปี ไม่แนะนำให้ทำการตรวจคัดกรอง
- อายุ 40-54 ปี จทำการตรวจคัดกรองก็ต่อเมื่อมีความเสียง เช่น มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อนในผู้หญิง
- อายุ 55-69 ปี แนะนำการตรวจคัดกรองโดยที่ผู้ป่วยทรายถึงผลดีผลเสียแล้ว
- อายุมากกว่า 70 ปี หรือมีอายุคาดเฉลี่ยไม่เกิน 10-15 ปี ไม่แนะนำการตรวจคัดกรอง
*สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะยุโรป แนะนำว่า (EAU Guidelines 2018)
ตรวจคัดกรองในผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในแต่ละช่วงอายุดังนี้
• อายุ > 50 ปี
• อายุ > 45 ปี ร่วมกับมีประวัติครอบครับเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
• เชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน อายุ > 45 ปี
*สำหรับประเทศไทยมีคำแนะนำดังนี้(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ)
- ก่อนการตรวจ PSA แนะนำให้แพทย์ให้คำแนะนำในเรื่องประโยชน์และปัจจัยเสี่ยงให้กับผู้ป่วยแต่ละคน
- ให้ข้อเสนอกับผู้ป่วยตามกลุ่มความเสี่ยงสำหรับการวินิจฉัยระยะแรกในผู้ป่วยซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงและคาดการว่าจะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 10 ปี
- การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ประกอบด้วยการตรวจ serum PSA และการตรวจทางทวารหนัก (digital rectal examination) เสมอ
- ให้ข้อเสนอสำหรับการตรวจPSAคร้ังแรกในผู้ป่วยซึ่งมีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มข้ึนได้แก่
- เพศชายอายุมากกว่า 50 ปี
- เพศชายอายุมากกว่า 45 ปี และมีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว
- ควรหยุดการติดตามการคัดกรอง เมื่ออายุผู้ป่วย(life expectancy) เหลืออยู่น้อยกว่า 10 ปี
*คำแนะนำจากสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทย
-ควรคัดกรอง
-เริ่มต้นคัดกรอง เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
-ไม่คัดกรองในชายอายุมากกว่า 75 ปี
-ควรคัดกรอง ในชายอายุ 55 - 69 ปี
-ต้องตรวจทางทวารหนักทุกปี
-ต้องตรวจ PSA
-ถ้า PSA น้อยกว่า 1 ng/ml ให้คัดกรองทุก 8 ปี
6.จะวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างไร
ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Transrectal ultrasound-guided prostate biopsy, TRUS biopsy) เพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาครับ
7. จะทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทางทวารหนักในกรณีใดบ้าง
1. ผู้ป่วยที่มีค่า PSA มากกว่า 4 ng/mL หรือการตรวจทางทวารหนักผิดปกติ ควรได้รับคำแนะนำให้ตัดชิ้นเน้ือส่งตรวจ
2.ผู้ป่วยที่มีค่าPSA มากกว่า4 ng/mL และผลตรวจทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากปกติ ก่อนแนะนำผู้ป่วยให้ทำการตัดชิ้นเน้ือ แนะนำให้แพทย์พิจารณาตรวจ PSA ซ้ำอีกครั้งในอีก 4-6 สัปดาห์โดยงด prostate manipulation (เช่น ตรวจทางทวารหนัก การส่องกล้องท่อปัสสาวะ)และตรวจปัสสาวะไม่พบการอักเสบ ของระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งต้องแนะนำผู้ป่วยให้ละเว้นจากการหลั่งน้ำกาม 24 ชั่วโมงด้วย
3.ในกรณีท่ีค่า PSA น้อยกว่า 4 ng/mL ก็มีโอกาสตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ถึงแม้ว่าโอกาสจะน้อยก็ตาม แนะนำให้แพทย์พิจารณาตัดชิ้นเน้ือต่อมลูกหมากข้ึนอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์
4.ผู้ป่วยต้องได้รับคําแนะนําในเรื่องผลดีของการตรวจความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดข้ึนหลังการตัดชิ้นเน้ือทางทวารหนัก ได้แก่ ปัสสาวะปนเลือด, เลือดออกทวารหนัก , ต่อมลูกหมากอักเสบไข้ สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
5.ผู้ป่วยทุกคนควรได้รับยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ (prophylaxis antibiotic)
อ่านแล้วพอจะคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับค่า PSA กันบ้างหรือเปล่าครับ คนที่มีค่า PSA สูง (มากกว่า 4 ng/ml)ไม่ได้บ่งถึงการเป็นมะเร็งเสมอไปนะครับ จะต้องพิจารณาควบคู่อีกในหลายๆด้านครับ เช่น การตรวจทางทวารหนัก ปัจจัยเสี่ยงทางเชื้อชาติและพันธุกรรม เป็นต้น
ติดตามสาระดีๆเกี่ยวกับระบบปัสสาวะได้ทาง
Facebook :
https://www.facebook.com/โรคนิ่วน่ารู้-Urology-101685971343117/
Blockdit :
https://www.blockdit.com/pages/607fdb730668f50c43da7aa7
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย