ประเพณีนิยมในช่วงอนุฤดูลี่เซี่ย(立夏节气习俗)
.
1. ทานไข่ในวันลี่เซี่ย(立夏吃蛋):แม้ว่าอาหารนิยมดั้งเดิมในวันลี่เซี่ยของแต่ละที่จะมีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง แต่อาหารคลาสสิกที่สุดเมื่อเข้าสู่อนุฤดูลี่เซี่ย นั่นก็คือ “ไข่ลี่เซี่ย(立夏蛋)” หรืออีกชื่อหนึ่ง “ไข่ใบชา(茶叶蛋)” ก่อนวันลี่เซี่ยหนึ่งวัน หลายบ้านจะเริ่มนำไข่มาต้มกับใบชา ผ่านไปสักระยะหนึ่งสีของใบชาจะซึมตามรอยแตกบนเปลือกไข่และไข่ก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง การจะทานไข่ต้มให้อร่อยจะต้องทานตอนร้อนๆ เพราะกลิ่มหอมจากใบชาและรสชาติของไข่จะยังไม่เสียรสชาติในทันที
การทานไข่ลี่เซี่ยมีความเป็นมาช้านานแล้ว มีคำพังเพยกล่าวว่า: “ถึงลี่เซี่ยทานไข่ต้ม หน้าร้อนไม่มีไข้【俗语—立夏吃了蛋,热天不疰夏。】” กล่าวคือตั้งแต่วันลี่เซี่ยเป็นต้นไป อุณหภูมิเริ่มอบอุ่นและค่อยๆ ร้อนขึ้นจนเป็นทำให้เด็กหรือผู้ใหญ่บางคนรู้สึกเหนื่อยล้า แขนขาอ่อนแรง ความอยากอาหารลดลงและซูบผอม ซึ่งอาการนี้เรียกว่า “จู้เซี่ย(中药术语—疰夏)” มีตำนานกล่าวว่า: เจ้าแม่หนี่ว์วา(女娲娘娘)ได้บอกกับมนุษย์ว่าในวันลี่เซี่ยของทุกปี ให้นำไข่มาต้มจนสุกแล้วนำไปแขวนไว้บริเวณหน้าอกของเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กมีอาการจู้เซี่ย ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ให้นำไข่เหล่านั้นมารับประทาน ด้วยเหตุนี้เองธรรมเนียมการทานไข่ลี่เซี่ยจึงยังคงมีมาจนถึงปัจจุบัน
.
2. การละเล่นชนไข่(立夏斗蛋):ในวันลี่เซี่ยผู้ใหญ่จะนำเส้นไหมมาห่อรอบๆ ไข่ต้มแล้วแขวนไว้ที่คอของเด็กเล็ก โดยให้ไข่อยู่บริเวณหน้าอก เชือกที่ใช้เรียกว่า “เชือกจู้เซี่ย(疰夏绳)” ซึ่งเป็นเชือกที่ใช้กันมาช้านานแล้ว เป็นเชือกที่นำเส้นไหม 5 สีมามัดรวมกันเป็นเส้นเดียวแล้วจึงนำไปผูกที่ข้อมือเด็กหรือตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องรางไว้ป้องกันโรคภัยที่มากันช่วงหน้าร้อน
ยามเที่ยงในวันลี่เซี่ย แต่ละบ้านจะนำไข่มาต้มแล้วมัดด้วยไหมห้าสี หลังจากนั้นก็นำไปห้อยบนคอเด็กเล็กหรือไม่ก็ตามสถานที่ต่างๆ ในขณะเดียวกันนี้ เด็กๆ ในหมู่บ้านจะรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อเล่นเกมชนไข่(斗蛋游戏)โดยใช้ปลายแหลมของไข่เป็นหัวและปลายมนเป็นหาง บางคนอาจจะวาดลวดลายบนเปลือกไข่ให้ดูน่าเกรงขาม กติกาไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลยคือหัวชนหัว หางชนหาง ไข่แตกก็พ่ายแพ้ ถ้าชนะลำดับแรกจะเรียกว่า “ต้าหวาง(大王)” ลำดับรองเรียกว่า “เอ้อร์หวาง(二王)” และลำดับสุดท้ายจะเรียกว่า “เสี่ยวหวาง(小王)”
.
3. ถึงลี่เซี่ยต้องชั่งน้ำหนัก(立夏秤人):นอกจากตอนเที่ยงทานไข่ต้มแล้วยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งคือ “การชั่งน้ำหนัก(秤人)” ชาวบ้านในหมู่บ้านจะแขวนเครื่องชั่งไม้ขนาดใหญ่ไว้ตรงทางเข้าหมู่บ้าน แขวนเก้าอี้สานด้วยหวายไว้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งก็จะนำลูกตุ้มมาแขวนถ่วงเอาไว้ ชาวบ้านและเด็กก็จะผลัดกันมาชั่งน้ำหนัก หลังจากนั้นก็จะกล่าวคำอวยพรให้แก่กันและกัน