2 พ.ค. 2021 เวลา 10:45 • ธุรกิจ
สรุปจาก 📝WhyItMatters EP.4 ทำไม “Venture Capital” ถึงสำคัญ 🚀
======================
สรุปสั้น
======================
1. Venture Capital คืออะไร
- กองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อมาลงทุนกับ startup หรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เป็นธุรกิจที่เติบโตแบบ exponential โอกาสเจ๊งได้ถึง 80-90%
.
2. Venture มีความสำคัญอย่างไร
- เป็นตัวช่วย funding ให้สำหรับบริษัท startup ใหม่ๆ ที่เพิ่งทำซึ่งเทคโนโลยีพวกนี้ ถ้าเป็นบริษัท tradition อาจจะยังไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งมาก นอกจากเรื่อง funding ก็จะช่วยในเรื่องของคำปรึกษา connection และอาจจะรวมถึงการ raise fund ในรอบถัดไป
.
3. คุณสมบัติของคนที่จะมาทำ Venture Capital
- สำหรับบ้านเราที่ startup ยังเป็น stage แรกๆ คนที่จะมาทำ VC ต้องมีจิตใจรักชอบในตัว startup ชอบลุย อยากที่จะช่วยและเติบโตไปกับ startup ถ้าใน stage หลังๆ ในต่างประเทศ ก็อาจจะต้องเน้น technical P&L มากขึ้น
======================
Speaker:
@mengclubhouse คุณเหม็ง
Sompoat Meng Chansomboon (CEO of KT Venture Capital)
@mameaw คุณมะเหมี่ยว
Pahrada Mameaw Sapprasert (Partner of 500 TukTuks)
Moderator: @panit พี
P Panit (วันนี้สรุป..มา)
======================
1. Venture Capital คืออะไร
[คุณมะเหมี่ยว]
- กองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนในบริษัทที่ไม่ใช่ traditional สมัยก่อนเวลาบริษัทเปิดใหม่จะหาเงินทุน ต้องกู้แบงค์ ไม่ก็ยืมเพื่อน แต่การที่จะไปกู้แบงค์ได้ จะต้องเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างแข็งแรง ไม่แปลกแหวกแนว ทีนี้พออะไรที่มันแปลกใหม่แบงค์ก็จะไม่กล้าปล่อยกู้ แต่พอโลกเรามีเทคโนโลยีขึ้นมาเยอะๆ มีสิ่งที่เรียกว่า Tech Startup เป็น business model ใหม่ ที่สามารถ growth ได้แบบ exponential เลย Venture Capital ก็เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลงในธุรกิจสายนี้
[คุณเหม็ง]
- ภาษาไทยเรียกว่า “บริษัทร่วมลงทุน” VC ที่เห็นเราเห็นๆ กันในบ้านเรามีสองแบบ คือ
*1. CVC (Corporate Venture Capital) - ก็จะมีพวกธนาคาร KT Venture ของกรุงไทย SCB 10X ของไทยพาณิชย์ Beacon, KVision ของกสิกร Krungsri Finnovate ของกรุงศรี หรืออย่างพวก corporate ใหญ่ๆ ก็มี จุดประสงค์ของการลงทุนส่วนใหญ่ก็จะลงทุนอะไรที่มัน synergy กับ core business ของตัวเอง
*2. Financial VC (Financial Venture Capital) เช่น 500 TukTuks ดู financial เน้น return เป็นหลัก แบ่งเป็นหลายประเภท แต่ที่เราคุ้นๆ กัน ก็จะเป็น limited partner รวมคนมาลงขันกัน แล้วก็ตั้งเป็นกองทุน แล้วแต่ละกองทุนว่า fund size ขนาดไหน ROI (Return on Investment) เท่าไหร่ ระยะเวลากี่ปี
[คุณมะเหมี่ยว]
- จริงๆ สามารถแตกย่อยไปได้อีกเยอะทั้ง PEVC (Private Equity & Venture Capital) กึ่งๆ traditional กับ tech, Family Office ที่จะลงใน tech startup แต่ไม่ได้จำกัดแค่ด้านนี้ มียิบย่อยอีกเยอะ
2. Incubator, Accelerator คล้ายหรือแตกต่างจาก VC อย่างไร
[คุณเหม็ง]
- Incubator คือการบ่มเพาะ ตั้งแต่ไอเดีย แล้ว incubate ขึ้นมาให้มันตั้งไข่ได้ เหมือนสร้างโปรดักให้ร้อยคนรัก
- Accelerator คือการเร่ง มี product-market fit มี MVP (Minimum Viable Product) มาระดับหนึ่ง เหมือนเจอร้อยคนรัก แล้วมาหาล้านคนชอบ
- สองอันนี้แล้วแต่องค์กร บางทีก็จะทำแค่สองอย่างนี้แต่ไม่ได้ลงทุนด้วย แต่อย่าง dtac Accelerate ที่พี่เคยดูอยู่ ก็จะลงทุนด้วย เป็น CVC ด้วย เพราะเป็น corporate ได้หุ้นและเติบโตไปกับเขา ปั้นให้เขาโตขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
[คุณมะเหมี่ยว]
- 500 Startups มีรัน accelerator ระดับท๊อปๆ ของโลกเหมือนกัน แต่ในประเทศไทยเราไม่ได้รัน จะโฟกัสคนละส่วน มีทั้งส่วน accelerator และ VC แยกกัน แต่มันก็เกี่ยวเนื่องกัน อย่างตอนที่พี่เหม็งรัน dtac Acclerate ก็จะเป็นเหมือนที่ๆ แบบให้ VC มา source deal flow ได้ดีมาก
3. ในเมืองไทยยังมี Incubator หรือ Accelerator ที่ไหนอยู่บ้าง
[คุณเหม็ง]
- ยังมีอยู่ แต่จะเจาะเป็น industry มากขึ้น accelerator สาย food, tech, health ที่เจาะลงไปลึกๆ ไม่ได้กว้างๆ เหมือนสมัยที่ dtac ทำแบบเน้นทุกอย่างที่มัน scale ได้ แต่พอหลังๆ มาก็เห็นว่าเจาะเป็น industry มากขึ้น ก็ยังมีอยู่ แต่อาจจะไม่ได้โปรโมท ทำ marketing เยอะขนาดนั้น
4. ทำไม Venture Capital ถึงมีความสำคัญต่อ Startup
[คุณมะเหมี่ยว]
- เวลาที่เราเริ่มต้นธุรกิจอะไรก็ตาม หนึ่งในปัจจัยหลักที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อก็คือ เงินทุน การที่เราจะ push ธุรกิจให้โตได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่อาจจะมี business model ที่ไม่ได้มีอยู่ในปัจจุบัน การจะหาคนให้เงินก็จะยาก อย่างเช่นตอนที่ Airbnb ก่อตั้งขึ้นมา เขาไป pitch ไอเดียว่า เราจะเปิดห้องที่ไม่ได้ใช้ในบ้าน รับคนแปลกหน้าเข้ามานอน ตอนนั้นมันเป็นไอเดียที่แปลกมาก ไม่มีแบงค์ที่ไหนคิดว่ามันจะเวิร์คแน่นอน คนที่เป็น Venture Capital ก็จะเป็นคนที่ take risk ให้กับโลกใบนี้ เราสร้างโมเดลขึ้นมาให้สามารถ take risk ได้ แต่ก็คือ high risk high return เป็นคนช่วยแบ็คธุรกิจ startup ที่ source of funding เขามีน้อย เราเป็นหนึ่งในตัวเลือกหลักๆ ของเขาที่เป็นคนให้เงิน
[คุณเหม็ง]
- ในยุคปัจจุบันถ้าเราจะทำ tech startup แล้วเราใช้เทคโนโลยี การที่เราจะเดินไปหา souce of fund เก่าๆ อย่างเดินเข้าไปหาแบงค์ หรือกู้ที่เสียดอกเบี้ยต่างๆ พอเดินเข้าไปแล้วบอกว่า asset ของเราคือ cloud, computer หนึ่งเครื่อง พร้อมกับไอเดียเจ๋งๆ ความเข้าใจ คิดว่าในโลก traditional เก่าๆ เขาอาจจะไม่เข้าใจเรื่องราวแบบนี้ ซึ่งก็ถูกของเขา อยู่ดีๆ เคยลงทุนระดับหมื่นล้าน แสนล้าน โดยที่ต้องมีโรงงาน มีอะไรมาค้ำประกัน มี proof of concept เรียบร้อย เขาก็เติบโตมาจากแบบไหน
- แต่โลกธุรกิจใหม่ๆ พอมันต้องใช้เทคโนโลยีในการเติบโต อยู่ดีๆ คงไม่สามารถเดินไปบอกธนาคารได้ว่าเราจะใช้เทคโนโลยีโตแบบนี้ แล้วคุณมาลงทุนกับเรา อาจจะยากหน่อย แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่มีความเชื่อแบบนั้นอย่าง VC (Venture Capital) ก็จะมีความเชื่อว่ามันเติบโตได้ เราเห็นตัวอย่าง อย่าง Google, Facebook, Airbnb, Uber ต่างๆ พวกนี้คือยุค VC หลักๆ เราเห็นแบบนี้แต่ความเสี่ยงมันสูงมาก Startup 80% เจ๊ง 10% เป็นซอมบี้คือไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต มีโอกาสเพียง 0.04% ที่จะเป็น Uber, Airbnb หมายความว่า startup ร้อยตัวยังไม่มีสิทธิเป็น ต้องมีเป็นพันตัว เพราะฉะนั้นโอกาสความสำเร็จค่อนข้างต่ำ นักลงทุนแบบ traditional ก็จะไม่เข้าใจรูปแบบนี้ แต่นักลงทุนที่แบบมันมีโอกาสน้อยก็จริง แต่ถ้ามัน hit jackpot สักหนึ่งตัว สมมุติเราจับ Airbnb, Uber, Facebook ได้ตั้งแต่วันแรกๆ เจอ Steve Jobs ที่จะมาเปลี่ยนโลกด้วยคอมพิวเตอร์ มาขอเงินทุนเรา ถ้าเจอแบบนี้เราเอาไหม ถ้ามันมีคนเชื่อแบบนี้เราก็เอา นี้คือหน้าที่ของ VC ที่ลงทุนใน tech startup เขาจะมี believe แบบนี้ แล้วเรา bet บนความเชื่อว่า เทคโนโลยีแบบนี้มันไปได้ product-market fit มันได้ มันแก้ pain point ให้คนหมู่มากได้
5. ทำไมธนาคารต่างๆ ถึงเข้ามาตั้งกองทุนกันเยอะมาก อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลงมาเล่นในตลาดนี้
[คุณเหม็ง]
- FOMO (Fear of Missing out) ก็เป็นเรื่องนึง แต่หลักใหญ่ๆ ด้วยความที่เราอยู่ในจุดที่ startup ในภูมิภาค South East Asia โดยเฉพาะประเทศไทย เราอยู่ในเวฟที่ 2 แล้ว เวฟ 1,2,3 ของอเมริกา ของจีนมากันหมดแล้ว เราเห็นตัวอย่างแล้วที่ประเทศต่างๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยกำลังจะ follow to เรื่องแบบนั้นอยู่ พอแบงค์เห็นปุ๊บ เราก็ลิมิต mitigation risk ได้ สมมุติรายได้กำไรปีละหมื่นล้าน เราตัด budget มาพันล้านเลยได้ไหม ตัวนี้เรา bet ได้ เขาก็เข้าใจ แต่เข้าใจบนความเสี่ยงที่ลิมิตแล้ว จะไม่ได้อารมณ์เหมือน SoftBank ที่ทุ่ม WeWork, Uber ทุ่มอัดเข้าไป ซึ่งก็จะมี business model คนละแบบ แต่อย่างแบงค์ไทยเรา imitigation risk แล้ว ถ้าสมมุติ worst case เสียหมด ก็ไม่ impact balance sheet เท่าไหร่ แต่ถ้ามัน hit homerun สักหนึ่งตัว ถ้าเราสามารถหาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อ core business เราได้
- แบงค์เอง core business ค่อนข้างใหญ่การที่จะออกมา innovate อะไรใหม่ๆ แล้วเดินทางให้เร็วกว่า startup มันยากมาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้ก็คือ ก้าวขาข้างหนึ่งเข้าไปด้วยการลงทุน เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นแบงค์ต่างๆ เข้าไปลงทุนกันเต็มไปหมด สิ่งที่เราได้กลับมาคือเทคโนโลยีที่เราไปลงทุน เราได้เข้าใจเทคโนโลยีเหล่านั้น สมมุติเราลงทุนในธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับ blockchain ให้แบงค์มานั่งคิด blockchain เอง ตั้งแต่ day 1 มันต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราลงทุน E-comerece, Payment, Agiculture อยู่ดีๆ เรามี 4-5 เทคโนโลยี เข้ามาอยู่ในเชลฟ์เราที่เราสามารถเอามาต่อยอดกับ core business ได้ ก็อยากให้เห็นภาพแบบนี้
6. การพัฒนาหรือการเติบโตของ Venture Capital ในบ้านเราเป็นยังไงบ้าง
[คุณเหม็ง]
- ในสายของ VC บ้านเราเงินเยอะ ถ้าเราไปดูลิสต์ในตลาดหลักทรัพย์ SET index 400 ตัว เอาแค่ท๊อป 20 Market Cap รวมกันก็มหาศาล แล้วถ้าแบ่งเงินมาแค่ 1% คิดดูว่า capital injection เข้ามาในระบบมหาศาล เยอะกว่า VC เจ้าอื่นๆ ในภูมิภาคด้วยซ้ำ เพราะเงินเราเยอะมากจริงๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็น traditional business บ้านเราเยอะมาก น้ำมัน แบงค์ ปูน เงินปีนึงไม่ต้องพูดถึง เยอะมาก
- VC โตมหาศาล เยอะมาก แล้วเงินเยอะมาก เยอะจนมากไปสำหรับจำนวน startup ที่มีคุณภาพพอจะให้ VC ลง เพราะแต่ละ VC ก็จะมองหาไม่เหมือนกัน บาง VC ก็จะไม่สามารถไปลงทุน startup ที่มีความเสี่ยงมากๆ ไอเดียใหม่ๆ เขาไม่เอา แต่เขาต้องการอะไรที่มัน proof แล้ว เจอล้านคนชอบแล้วต้องการหาสิบล้าน CVC บ้านเราจะชอบแบบนี้ อยู่ที่ช่วงประมาณ Post-Seed หรือ Series A, Series B ขึ้นไป
[คุณมะเหมี่ยว]
- อยากอธิบายว่าจริงๆ VC มีหลายประเภท หลาย stage อย่าง 500 เราจะลงทุนใน Seed stage ส่วนใหญ่อย่าง CVC จะลงทุนอะไรที่โตขึ้นมาจาก Seed อย่าง Series A, Series B ขึ้นไป แล้วหลังจากนั้น Series C, Series D ประเทศไทยอาจจะไม่ได้มี Local Financial VC ที่จะลงทุนได้ถึงรอบใหญ่ๆ ขนาดนั้น นอกจาก CVC ก็จะเป็น Regional VC มากกว่า เป็นการโตด้วยกันไปทั้ง region และเมืองไทยก็ต้องพยายาม keep up ให้ทันกับการโตของ region ด้วย
- เมืองไทยเงินเยอะ ถ้ามีจำนวน quality startup เยอะกว่านี้ เงินน่าจะไหลเข้าไปใน startup ได้อีกเยอะเลย แต่ตอนนี้เรายังไล่ตามประเทศเพื่อนบ้านอยู่
7. ตอนแรกที่มีการเข้ามาตั้ง 500 TukTuks ในปี 2015 ตอนนั้นเห็นโอกาสหรืออะไรในประเทศไทย
[คุณมะเหมี่ยว]
- Strategy เราคือการแบ็ค entrepreneur ที่กำลังจะ take off สู่ stage ที่โตขึ้นได้ ประเทศไทยมี potential เรามีประชากรค่อนข้างเยอะ ตัว GDP ก็ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของ South East Asia ตอนนั้นจะเริ่มมี startup หลายๆ ตัวที่กำลัง raise fund หรืออีกหลายตัวที่เราเติมเงิน Seed funding เข้าไป เขาจะสามารถพุ่งไปต่อได้อีกยาว เราเลยคิดว่า ณ จุดๆ นั้นเป็น sweet spot เป็น Day 1 ของ Silicon Valley
8. คนที่อยากมาทำงานสาย VC ต้องเป็นคนประเภทไหน
[คุณมะเหมี่ยว]
- ขอแชร์ background ของตัวเอง ตั้งแต่ตอนเรามาทำงานที่ 500 ไม่ได้มี background ทำ VC มาก่อน ก็ทำงานแบงค์มาเหมือนกันแต่ว่าตอนเรียนเรียนสาขา Innovation & Entrepreneurship แล้วก็ค่อนข้างรู้จัก VC อยู่แล้ว ซึ่งตอนนั้นที่เรียนอยู่ เมืองไทยยังไม่มี แล้วเราเห็นว่า 500 จะเข้ามาในประเทศไทย เราก็สนใจและอยากไปร่วมงานด้วย เผอิญเจอพี่หมู พี่กระทิง แล้วก็เหมือนคลิกกัน vision ไปในทางเดียวกัน เลยได้มาร่วมงานกัน
- จริงๆ ไม่ได้ฟิคว่าเราจะต้องจบ finance หรือมี background ทางด้าน IB (International Business) มาก่อน คือเป็น soft skill ซะส่วนใหญ่ คนอาจจะคิดว่า VC จะต้องสร้างแต่ financial model แต่จริงๆ งานของ VC คือการดีลกับคนซะส่วนใหญ่ และการมองให้ออกว่า startup ที่เรามองอยู่ อีก 5 ปี 10 ปี จะเป็นยังไง โดยการใช้ tool ต่างๆ พวก financial model เป็นเครื่องมือมากกว่าเป็นหลัก
- การที่จะ win ใน industry ได้ก็คือต้องลงตัวที่ถูกต้อง แล้วตัวถูกที่ถูกต้องจะไม่ได้มีเราคนเดียวที่เห็น มันจะต้องแย่งลงทุนกัน เพราะฉะนั้น startup ที่ดีมากๆ เจ้าหนึ่ง ที่ VC 5-10 เจ้า ขอลง แต่สล็อตมีจำกัด ทำไมเขาถึงอยากจะให้เราลง อันนี้ก็เป็นจุด critical ที่สุดที่เราจะแยกแยะว่าเราเป็น Success Venture Capital หรือไม่ ก็คือการที่เราได้ลงตัวที่เป็น winner ขึ้นมา
- จริงๆ เราอยู่ใน industry ไหนก็ได้ แต่เราอาจจะต้องมี attitude และความเข้าใจใน industry มี passion ว่าเราชอบในการช่วยเหลือ startup ให้เขาเติบโตจริงๆ แล้วเราก็มีความสามารถที่ใช้ tool ที่มี ณ ตอนนี้ เช่น การตี valuation การใช้ connection ช่วยหา partnership หรือกำหนด milestone โดยใช้โมเดลต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเกินไป หลายคนก็หัดทำได้โดยไม่ต้องมี background มาก่อน
[คุณเหม็ง]
- อยากเน้นย้ำเรื่องนี้โดยเฉพาะ VC ในประเทศไทย อยากให้มีความเข้าใจและ passion ที่จะช่วยเหลือ startup จริงๆ คือ startup ในบ้านยังไม่อยู่ในช่วงที่มันเป็น mature stage มากนักเหมือนในอเมริกาที่มี exit กันมหาศาล มีเงิน flow กันเข้ามา founder เก่าๆ ใส่เงินกลับเข้ามา ยังไม่ใช่ภาพนั้น เพราะฉะนั้นภาพนี้ใน community ใน network ต่างๆ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันพอสมควร แล้วถ้าคุณเป็น VC ในแง่ที่จะมาฟันเงินอย่างเดียว มันจะไม่มีประโยชน์ต่อ ecosystem มากนัก แต่ถ้าเป็น VC อย่างมะเหมี่ยวและทีม 500 เป็นประเภทที่ลงไปล้มลุกคลุกคลานกับ startup เจ้านั้นๆ ช่วงที่มีปัญหาก็ลงไปมีปัญหาด้วยกัน ช่วงที่ไม่มีปัญหาก็ลงไปช่วยเติบโตด้วยกัน เราต้องการ VC แบบนี้ เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาในวงการ VC ในช่วงนี้ของประเทศไทย นอกจาก hard skill และ soft skill ก็ต้องมี passion ที่จะสนุกกับเรื่องเทคโนโลยีแบบนี้และเข้าใจว่าการทำ startup มันยากจริงๆ อย่างพี่เป็น VC เป็นลูกจ้างมืออาชีพ ไม่ใช่ entrepreneur แต่พี่รู้จักและลงทุน entrepreneur เยอะมาก รู้ว่าการทำ startup พวกนี้มันยากจริงๆ ถ้าให้พี่ไปทำเองก็คงทำไม่ได้ คง fail ตั้งแต่วันแรก พอมันยากแบบนี้เราต้องการคนที่เข้าใจว่าทีม startup พวกนี้ว่า เขาทำอะไรกันอยู่ จะไม่สามารถเดินไปบอกให้เขาทำแบบนั้นแบบนี้ อยากให้คนที่เป็น VC เข้าใจ startup จริงๆ มี empathy และต้องการจะช่วยเหลือเขาตลอดเวลา ผมจะมองตรงนี้เป็นหนึ่งใน criteria สำคัญ ถ้าจะรับทีมงานเข้ามาเป็น VC
9. จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาจากที่อื่นมาก่อนไหม ถึงจะมาทำ VC ได้
[คุณเหม็ง]
- ขึ้นอยู่กับ position ถ้า junior หน่อยก็ไม่จำเป็น แต่ถ้า VC ที่เจ้าใหญ่หน่อย แล้วเดือนนึงมีเข้ามา 10 ดีล ถ้าจะรับ position ที่มันใหญ่หน่อยก็ต้องเป็นอีกแบบนึง แต่ถ้าเด็กจบใหม่ก็มี pontential เพราะงาน VC หลักๆ ถ้าลงใน early stage เราไม่ได้ใช้ financial tool อะไรเยอะแยะ แค่รัน linear regression รัน NPV IRR เข้าใจคอนเซ็ปต์ก็พอ แต่จริงๆ คือ soft skill เรื่องการดีลกับคน เพราะมันต้องดีลกับคนเยอะมาก เผลอๆ ต้องไปอยู่กินนอนกับ startup เอกสารอย่างนู้นอย่างนี้ process ต่างๆ หรือ legal ทำไมคิดแบบนี้แบบนั้น แต่ก็ต้องกลับมาดูว่าเขามี passion และเข้าใจโลก startup ไหม คุณพร้อมลำบากกับเขาไหม เพราะต้องอยู่กับเขาอย่างน้อยๆ 5 ปี บางวันดึกๆ ก็มี founder โทรหาพี่ รับสายตี 1 ตี 2 เราต้องเข้าใจและไม่ใช่ไปด่าเขา เพราะเขาก็ต้องมีปัญหาสำคัญ เราต้องการคนที่เข้าใจและพร้อมอยู่กับเรื่องพวกนี้
10. อะไรคือความสนุกของการทำ VC
[คุณเหม็ง]
- ทุกวันที่พี่ตื่นไปทำงาน พี่จะมีความรู้สึกว่าวันนี้เราไปทำงานเหมือนไม่ได้ไปทำงาน เพราะเราได้ไปทำในสิ่งที่เราชอบ อย่างน้อยวันนี้เราเดินออกไป เรารู้ว่าเรากำลังจะสร้าง impact ให้กับ startup เจ้าใดเจ้าหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม อย่างเรา build network ให้เขาเจอกับอีกคนนึง ให้เขาสามารถก้าวต่อได้อีกหนึ่งก้าว one step closer to success นั้นแหละก็เป็นความแฮปปี้ของพี่แล้ว จริงๆ impact มันอาจจะไม่ได้เยอะมาก แต่มันเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของเรา มันหล่อเลี้ยงทุกวัน เรื่องราวแบบนี้ถ้า VC แบบนี้จะเป็นอะไรที่สวยงามสำหรับ startup บ้านเรา
- แต่ว่ามันอาจจะไม่ใช่ทุกคน ถ้า stage ใหญ่ๆ แล้วก็คงไม่ได้มานั่งดูเรื่องพวกนี้แล้ว Series C Series D ก็จะเป็นเรื่องของ P&L (Profit & Loss) รัวๆ แล้ว revenue เท่าไหร่ expense เท่าไหร่ เดือนนี้จะเติบโตยังไง
11. Value-added ของ VC นอกจากเรื่อง funding
[คุณมะเหมี่ยว]
- ด้วยความที่ VC ไม่ได้ปล่อยกู้ เราเข้าไปลงทุนในบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้น การที่จะช่วยให้เขาโตก็เท่ากับเราโตด้วย ไปด้วยกัน หน้าที่หลักคือช่วยให้ startup ที่เราลงทุนเติบโตไปได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หนึ่งในวิธีที่เติบโตก็คือการ provide connection ให้เขา ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่ startup อยากให้ VC ลงทุนมากกว่าการไปกู้แบงค์ เพราะ VC จะ provide ส่วนที่เป็น value added ไม่ใช่แค่คำปรึกษา แต่ช่วย raise fund รอบหน้า เพิ่ม connection ในทั้งทางด้าน business และ fund raising ก็คือ VC อื่นๆ ที่จะมาต่อไม้จากเรา
- อย่างเราก็ต้องส่ง startup จากรอบ Seed ขึ้น Series A ให้ได้ ต้องรู้ว่าใน region นี้ ประเทศนี้ หรือทั้ง global เลย มีใครที่ลงทุนใน Series A ใน startup industry นี้ๆ บ้าง มีลิสต์ยืดยาวว่ามีใครบ้างที่ลงทุน size ประมาณเท่านี้ industry ประมาณเท่านี้ เราจะต้องเป็นคนช่วย connect ให้เขา
[คุณเหม็ง]
- ธงหลักอันนึงของ VC ก็คือเรื่องการ exit เรื่องของ ROI (Return of Investment) แล้วจะ exit ยังไง เราก็ต้องส่งไม้ต่อให้ VC ที่ลงใน stage ถัดไป มาลงหรืออาจจะมา exit เราก็ได้เหมือนซื้อหุ้นเราไปทั้งหมด เรามี common goal เดียวกับ startup พอมันเป็น common goal เดียวกัน ก็เลยต้องการ connection ที่จะทำให้ไปรอบต่อๆ ไปได้ ยกตัวอย่างเคสของ dtac Accelerate เป็น incubator เป็น accelerator เป็นนักลงทุนด้วย common goal เราคือต้องการให้ startup สามารถเติบโตต่อได้ และเราต้องการที่จะ exit เราก็ต้องการ VC ที่จะมารับไม้ต่อเรา ก็คือ VC ที่ลงใน Seed stage ซึ่ง 500 TukTuks ก็เป็นลูกค้าประจำของเรา มีอยู่ยุคนึงเราลงอยู่ 60 บริษัท ครึ่งนึง 500 TukTuks ก็ลงหมด ในลิสต์ของเราก็ต้องดูว่ามีใครบ้างที่จะลงในรอบ Seed มีลิสต์เลยว่า network เราเป็นยังไงบ้าง มีใครบ้าง เพราะฉะนั้น connection ตรงนี้สำคัญมาก
.
- แล้ว VC เจ้าใหญ่ๆ บางครั้งเขาจะดูว่า startup VC เจ้าแรกๆ มีใครลงบ้าง มีเหมือนเป็น white list ถ้าเขาเห็นมี VC ชื่อดีๆ ลงมาแล้ว เขาก็จะยินดีที่จะคุยต่อ แต่ถ้ามีแต่ VC เจ้าแปลกๆ เขาก็จะสงสัยว่า startup เป็นใคร ถ้าคุณโตจริงในประเทศไทย ทำไม 500 TukTuks ไม่ลง ก็จะมีคำถามเหล่านี้อยู่ แต่ไม่ใช่ว่า 500 TukTuks ไม่ลงแปลว่าไม่ดี แต่ถ้าลงแล้วก็จะเหมือนมีตรา stamp เหมือนมีโรงเรียน dtac โรงเรียน 500 มันก็จะคุยง่ายขึ้น
12. บริษัทหรือ startup ประเภทไหนที่เหมาะสำหรับการมาขอเงินกับ VC
[คุณเหม็ง]
- ต้องแยกเป็นสองส่วน แต่ละ VC จะมี industry และ stage ที่จะลงแตกต่างกัน เช่น เคสของ 500 ก็จะเน้น Seed Stage หรือถ้าเป็น CVC ส่วนใหญ่จะเป็น Series A Series B ขึ้นไป
แต่ overall ถ้าเป็นของพี่เองโดนส่วนตัวจะดูหลักๆ โดยรวมดูอยู่สองเรื่อง
*1. Product-market fit หรือไม่
- มี market รองรับขนาดไหน ไม่ใช่ว่าทำมาแล้วมีแค่คนรอบตัวใช้ สามารถทำโปรดักออกมาแล้ว เจอร้อยคนรักแล้วเจอล้านคนชอบหรือเปล่า scale มากพอไหม scale เหล่านั้นใช้เทคโนโลยีแก้ไขได้หรือเปล่า
*2. Team
- ให้น้ำหนักค่อนข้างสูง ต้องเป็นทีมที่ใช่ในเวลาที่ถูกต้องที่จะ solve เรื่องนั้นๆ สมมุติจะ solve เรื่องอย่าง Uber, Grab ถ้าเข้าใจไม่ผิดจริงๆ มี research ในรั้วมหาลัย เรื่องเกี่ยวกับการทำ ride-hailing ค่อนข้างเยอะมาก แต่ทำไมมันไม่เกิดขึ้นในบ้านgik กลายเป็น Uber, Grab ไปทำ เพราะฉะนั้น Founder คนที่ใช่ในเวลาที่ถูกต้อง ต้องมีคนเหล่านั้น ต้องมี badass ทีม นอนไม่หลับ ต้องตื่นเช้ามาแก้ปัญหานี้ ที่จะออกมาทำและมีพื้นฐานที่เข้าใจในธุรกิจนั้น และอยู่กับปัญหานั้นนานพอจริงๆ ที่จะลุกขึ้นมาทำ
แต่ถ้าเป็น CVC ใน stage ที่สูงขึ้นจะต้องเติมเรื่องที่ 3 คือ
*3. Business Model ต้อง proven แล้ว ไม่ใช่ว่าทำไปแล้วมีแต่เรื่องขาดทุน ขาดทุนได้ แต่ต้องมีวิธีการหาเงินที่ชัดเจน ตอนนี้ยอมขาดทุน แต่ถ้าเราต้องการที่จะกำไร เราสามารถเปิดสวิตซ์บางอย่างได้
13. อยากเห็นอะไรเพิ่มเติมสำหรับ startup ในเมืองไทย
[คุณมะเหมี่ยว]
- อยากให้มองปัญหาให้มันลึกมากขึ้น เท่าที่เห็นปกติ startup จะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับเชื่อมต่อกัน แต่ว่าตอนนี้โลกและวงการ startup ecosystem ของ regional มัน move toward ไปในทางที่เจาะลึกลงไปในแต่ละปัญหามากกว่าที่จะมองปัญหาใน surface ต้อง specific มากขึ้น ไม่ใช่แค่จับแพะชนแกะ
- อยากให้มี real technology เป็นอะไรที่ defend และทำให้ scale ได้ หลายๆ ครั้งที่ startup ไทยไป raise fund จาก regional investor สิ่งที่เขาให้ feedback คือ startup ไทย ไม่สามารถ scale ได้มากไปกว่านี้ เพราะว่า day 1 เขาไม่ได้คิดเรื่องว่าจะออกนอกประเทศตั้งแต่วันแรก เราเหมือนติดกรอบให้ตัวเองว่าเราจะ serve ประเทศไทยและส่วนใหญ่ก็จะเป็น middle income พอไปถึงจุดนึงมันก็จะหยุดและไม่สามารถ scale ไปได้ต่อกว่านี้ เราต้องคิดตั้งแต่เริ่มแรกว่านอกจากประเทศไทยหรือนอกจากกลุ่มที่เรา target ที่จะขายตั้งแต่แรก เราจะ scale ไปได้ยังไงต่อ แล้วจะใช้เทคเข้ามาช่วยตรงนี้ได้ยังไง
- เรายัง analyze ปัญหาและ solution ได้ยังไม่ค่อยแมตช์กันเท่าไหร่ ต้องไปดูใน market เยอะๆ กว่านี้ จริงๆ ปัญหาในประเทศไทยที่รอ solve เยอะมาก โดยเฉพาะปัญหาที่ corporate ต่างๆ มี จริงๆ ธุรกิจ B2B มีโอกาสเยอะมาก มีช่องอะไรให้เล่นเยอะมาก และ corporate หรือ CVC เอง ก็พร้อมที่จะลงทุนตรงนี้อยู่
14. ในปัจจุบันบ้านเรามองว่าโอกาสทางด้าน startup ด้าน B2B จะมากกว่า B2C ไหม
[คุณมะเหมี่ยว]
- ถ้าพูดถึง region as a whole ไปดูลิสต์ของ Unicorn (ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) ที่มาจาก South East Asia จะเห็นว่า B2C เยอะกว่า B2B แต่ประเทศไทยด้วยความที่ economy ประเทศเรามันเป็น corporate ซะเยอะ คิดว่าเมืองไทย B2B อาจจะ more exciting สำหรับเรา
[คุณเหม็ง]
- ทุกวันนี้หลายๆ startup จะเป็น me too เยอะขึ้น หมายถึงที่มีคนทำอยู่แล้ว B2C ทั้งหลาย เรียกรถแท็กซี่ e-commerce เต็มไปหมด แพลตฟอร์มจับคู่ แล้วต่างชาติที่เข้ามาแต่ละเจ้าก็รายใหญ่ๆ ทั้งนั้น อย่าง Fintech ก็ดี พี่ว่าเวฟของเรามันอยู่ในช่วงพีคแล้ว ใครที่จะออกมาทำก็อาจจะเป็น me too ไปแล้ว แต่ถ้ามองเห็นโอกาสก็อาจจะได้ แต่ในทั่วไปคิดว่ากลายเป็น me too ไปแล้ว เทคอเมริกา เทคจีน เจ้าใหญ่ๆ เขาก็กระโดดเข้ามาใน Fintech เยอะ Grab มาทำ GrabPay ปล่อยกู้ GoJek ก็มีอะไรเต็มไปหมด บ้านเราสายแบงค์ก็กระโดดลงมาทำเองเยอะมาก แต่สิ่งที่พี่มองในแง่ของ industry หรือ tech บางตัว อย่าง health tech พี่ว่าน่าจะเป็นเวฟถัดไป น่าจะเป็นจุดที่ดีที่เริ่ม จริงๆ น่าจะเริ่มปีสองปีแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เริ่ม พี่ก็ชักชวน ให้คุณหมอ ใครที่อยู่ในวงการ หรือว่าสาย tech ต่างๆ ที่อยากจะหามุม startup ที่ทำแล้วเราอินกับเรื่องพวก health solution ต่างๆ พวกนี้ถ้าเจาะลึก industry ลงไป และหาอะไรที่เป็น B2B ก็ได้ ทำ solution ให้โรงพยาบาล เป็น B2G ให้รัฐ เกี่ยวกับพวกเรื่องโครงการ รายได้ทั้งหลายที่เกี่ยวกับสุขภาพของประเทศ พวกนี้พี่ว่าเข้าทาง ตามมาติดๆ ก็น่าจะ education tech และไกลๆ หน่อยก็ agriculture tech พี่ว่าพวกนี้เป็นอะไรที่มีโอกาสมาก สามสี่ตัวนี้น่าจะมีโอกาสมากถ้าลง deep ลงไป
- อย่าง startup มีเจ้านึงชื่อ Perceptra ทำ AI Machine Learning สำหรับดูฟิล์มเอกซเรย์ และ predict ได้เลย ความแม่นยำเกิน 90% พี่เพิ่งรู้ว่าประเทศไทยมีหมอรังสีเฉพาะทาง 1 คนต่อ 200,000 ราย ยังไงก็ไม่มีทางทำทัน แล้วความแม่นยำของแพทย์รังสีอยู่ที่ประมาณ 80% แต่แพทย์ปกติที่ไม่ใช่แพทย์รังสีจะต่ำกว่า 60% แล้วยิ่งต่างจังหวัด ยิ่งมีแพทย์เฉพาะทางน้อย การวินิฉัยโรคผิดทำให้เกิดผลกระทบมหาศาลมาก Perceptra เขาก็มองเห็นโอกาสตรงนี้ และมองว่าเขาสามารถเทรนระบบ เทรน AI ให้สามารถทำตรงนี้ได้ เขา partner กับหมอที่ Stanford และทำกับโรงพยาบาลศิริราช ก็คือ data มหาศาลของคนทั้งประเทศ และ CTO ก็จบทางด้านนี้เป็นเบอร์ต้นๆ ของระดับเอเชีย ลงมาดูเรื่องพวกนี้ จับเรื่องนี้เป็น B2B provide service แบบนี้ โรงพยาบาลก็สามารถซื้อ service เขาได้เลย แทนที่จะให้แพทย์ปกติทั่วไปกลายเป็นให้ AI อ่าน ความแม่นยำ 90% เหมือนแพทย์รังสีอ่านเอง 14 คน เอาเวลาของแพทย์รังสีไปทำเคสยากๆ เคสง่ายๆ ก็ให้ AI ทำไป แบบนี้ก็มีโอกาสมหาศาล อย่าง food บริษัท JuiceInnov8 ทำลดน้ำตาลในน้ำส้ม พี่ก็เพิ่งรู้ว่าน้ำตาลในน้ำส้มหนึ่งแก้วแทบจะเท่ากับโค้ก เขาสามารถสกัดยีสต์ไปลดน้ำตาล พอไปกินรสชาติอร่อยมาก หวานเหมือนเดิมแต่ว่าไม่มีน้ำตาลแล้ว แล้วเป็นวิธีทางธรรมชาติ แบบนี้ดูในตลาดโลก โอกาสมหาศาลเป็นหมื่นๆ แสนๆ ล้าน แบบนี้คือ deep มาก real technology มหาศาล VC ชอบ มันมี scale มี pain point มหาศาลแล้วยังเป็น blue ocean ในโลกใบนี้อยู่ แต่มันก็ยากเรากำลังพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ คนเทรน AI มันอาจจะยากกว่าแพลตฟอร์ม แต่มีโอกาส
[คุณมะเหมี่ยว]
- พูดง่ายๆ ว่าเรามองหาเทคโนโลยีที่มัน defendable ไม่ใช่ว่าใครทำก็ได้
15. ถ้าคนที่สนใจทำ startup อาจจะไปหาพาร์ทเนอร์กับนักวิจัย หรือแพทย์ที่เก่งๆ แล้วนำโปรดักพวกนั้นมา launch สู่ตลาดได้ใช่ไหม
[คุณเหม็ง]
- จริงๆ มันเป็นสูตรที่ดี อย่างในอเมริกา พวก professor ใน Standford พวกเก่งๆ เขาไม่อยากทำ startup แต่เขาอยากจะถ่ายทอด แม้แต่บ้านเรา เขาอยากจะสร้าง อยากทำงานวิจัย แต่ไม่อยากออกไปขายของ ถ้ามี startup เจ้าไหนที่เห็นโอกาสทางธุรกิจแล้วคุณสามารถพาร์ทเนอร์กับเขา เห็น pain point เรื่องเดียวกัน อินเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่ไปเอารัดเอาเปรียบเขา แต่เราขายความคิด ขาย business model แล้วเรา agree กันได้ อันนี้ก็เป็นท่าที่ดี
- ตามมหาลัย professor ที่เก่งๆ ก็จะแตกต่างกัน บางเจ้าก็เป็น hardware บางเจ้าก็เป็น computer vision แต่ละมหาลัยก็จะเก่งแตกต่างกันไป ถ้าเป็นสาย health อาจจะเป็นอาจารย์หมอที่อยู่ในโรงพยาบาล คนที่อยู่ใน industry นั้นๆ น่าจะรู้ว่าถ้าฉันทำเรื่องนี้ได้ คนที่เก่งเรื่องนี้อยู่ไหน ก็ไปหาให้เจอ แล้วก็พาร์ทเนอร์กับเขา
16. ฝากส่งท้าย
[คุณมะเหมี่ยว]
- ฝากไว้ว่าทำ startup กับ VC ถ้าเรามองเห็นทั่วโลก บริษัทที่ market cap ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกจะเห็นว่าหลายอันเริ่มมาจากการเป็น tech startup หรือการเป็น technology company โลกเรามันหมุนไปในทิศทางนี้ ใครที่กำลังคิดๆ อยู่ว่าจะทำ มันมีอนาคตแน่นอน และมันมีเงินทุนรออยู่เยอะแยะเลย ถ้าสมมุติทำ startup ที่เป็น solution แก้ปัญหาที่มัน mattter จริงๆ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีเงิน funding เพราะว่ามี VC CVC หลายเจ้า รอลงทุน รอซัพพอร์ตอยู่
[คุณเหม็ง]
- อยากให้ทุกคนที่จะทำ startup อย่าทำเพราะอยากรวย เรื่องรวยก็เรื่องนึง แต่ไม่ควรเป็น fundamental แรก ทำอะไรที่คุณคิดว่า ถ้าคุณอยู่กับปัญหานั้นมานานมากๆ และนานจนรู้สึกทนกับมันไม่ไหวแล้ว คุณกำลังจะเข้าใจปัญหานั้นแบบถ่องแท้มากกว่าคนอื่นๆ วันก่อนเพิ่งแชร์กับทางเพจ เกลา นิสัยอันตราย เรื่อง startup หลายๆ เจ้าที่ประสบความสำเร็จ เขามี 10,000 ชั่วโมงกับปัญหานั้น อย่างคุณเก็ท คุณแบงค์ที่ทำ FINNOMENA เขามี 10,000 ชั่วโมงกับการที่เขา master เรื่องการลงทุน เขาอยู่กับปัญหาที่คนไม่สามารถมีเงินพอเกษียณอายุ ไม่สามารถมีการลงทุนที่ถูกต้อง หมอตั้ม Health at Home เป็นคุณหมอที่ดูแลเรื่องผู้ป่วยเรื้อรัง เขาอยู่กับปัญหามานานมากจนเขารู้สึกว่ามันน่าจะมี solution ที่ดีกว่าปัจจุบันนี้ นั้นแหละพี่คิดว่าถ้าเราอยู่กับปัญหานั้นมานานมากพอ และเราทนกับมันไม่ไหวแล้ว คิดว่าถ้าคุณเป็นคนคนนั้นที่จะลุกออกมาทำ คุณน่าจะหา solution ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่าได้ เพราะคุณอยู่กับมันมานานมาก ถ้าเป็นแบบนั้นเมื่อไหร่มาคุยกัน
======================
Date: 25 APR 2021 (20:00-21:00)
Club: วันนี้สรุป..มา
#Clubhouse #ClubhouseTH #ClubhouseThailand #WhyItMatters #ทำไมถึงสำคัญ #EP4 #VentureCapital #KTVentureCapital #500TukTuks #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา