3 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
#Crypto101 The Series: ทำยังไงให้พอร์ตคริปโต ได้กำไรสูงสุด!
หากอยากให้พอร์ตคริปโตได้กำไรสูงสุด เราต้องรู้จักการบริหารพอร์ต! ตอนนี้เพื่อนๆ บริหารพอร์ตกันยังไงบ้าง ลงทุนอะไรมาแชร์กัน และวันนี้แอดมายด์สรุปความรู้จาก Binance Academy แนวทางการจัดพอร์ตหลากหลายรูปแบบ เพิ่มกำไร ลดความเสี่ยง เหมาะสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย มา!
.
4
#ทำไมต้องบริหารพอร์ต
การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง และผลตอบแทนที่แตกต่างกัน จากทฤษฎีร์ Modern Portfolio Theory (MPT) โดย Harry Markowitz กล่าวว่า หากเราบริหารพอร์ตเป็น เราสามารถมีผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำได้ง่ายๆ ด้วยการกระจายความเสี่ยงในแต่ละสินทรัพย์
.
#เริ่มต้นยังไงดี
1). เข้าใจความเสี่ยงสินทรัพย์แต่ละประเภทเบื้องต้น
ทรัพย์สินสามารถแบ่งได้เป็น สินทรัพย์พื้นฐาน (Traditional Asset) อย่างหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุนรวม หรือประกันภัย และ สินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset) อย่างอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และคริปโต
อีกทั้ง การลงทุนในคริปโตเองก็มีความเสี่ยงหลายรูปแบบมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการเทรดดิ้ง ระยะสั้น, DeFi, NFT ขายภาพวาดของเรา, เอาคริปโตไปฝากเพื่อปล่อยเงินกู้ กินดอกเบี้ยชิวๆ, การขุดเหรียญ, Staking ฯลฯ
2). รู้จักตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้ระดับใด
เพื่อนๆ สามารถเช็คความเสี่ยงที่รับได้ ที่ลิ้งค์ด้านล่างนะคะ
3). นำเงินไปลงทุนตาม % ความเสี่ยงที่รับไหว
เช่น แอดมายด์ รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จึงแบ่งการบริหารพอร์ตเป็น -> 40% ลงทุนในหุ้น, 30% ลงทุนในตราสารหนี้ กองทุน, 10% เก็บไว้ในรูปแบบเงินสด เผื่อเหตุมิคาดฝัน และ 20% ลงทุนในคริปโต
ซึ่งใน 20% ที่ลงทุนในคริปโต เราอาจมีกลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
- HODL ถือสะสมระยะยาวเป็นสินทรัพย์เหมือนทองคำ โดยเหรียญที่นิยมถือสะสมระยะยาวคือ บิทคอยน์
- Trading ระยะสั้น สำหรับสายซิ่ง ดูกราฟ Indicators ต่างๆ ทำกำไรระยะสั้นกับ Altcoins
- Hybridized Strategies การแบ่งสัดส่วนสะสมถือระยะยาว และเทรดดิ้งระยะสั้นตามความเสี่ยงที่รับไหว
- หา Passive Income จากแพลตฟอร์ม DeFi, NFT, Staking, ปล่อยกู้ตาม Platform ต่างๆ อย่าง Compound, Binance
ตัวอย่างการบริหารพอร์ตเบื้องต้นสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้ อาจแบ่งเป็น
50% ลงทุนถือสะสมระยะยาวกับ Bitcoin
20% ลงทุนใน DeFi
15% ลงทุนใน large-caps (เหรียญ Top10 ของ Market Cap)
10% mid-caps (เหรียญลำดับ 10-50 ของ Market Cap)
5% small-caps (เหรียญต่ำกว่าลำดับ 50 ของMarket Cap)
.
#บทสรุป
การบริหารพอร์ตมีเป้าหมายเพื่อให้เพื่อนๆ ลดความเสี่ยงน้อยลง เพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้องแบ่งตามตัวอย่างด้านบนนะคะ การบริหารพอร์ตตัวอย่างด้านบนเป็นเพียงการกระจายความเสี่ยงเพื่อให้เห็นภาพในการลงทุนมากขึ้น หากรู้จักตัวเอง รู้ความเสี่ยงที่รับได้ และเข้าใจสินทรัพย์นั้นๆ อย่างดีแล้วก็ลุยเลย! เพื่อนๆ ลงทุนอะไรรูปแบบไหนบ้าง มาแชร์แบ่งปันความรู้กันได้นะคะ เพื่อเป็นการเปิดประสบการณ์ในการลงทุนใหม่ๆ และผลบุญนี้จะส่งผลให้ได้กำไรกลับคืนมาแน่นอน! ไว้เจอกันโพสต์หน้าค่า อยากรู้ ลงทุนเรื่องไหน อย่าลืม DYOR- Do Your Own Research หรืออยากให้แอดมายด์ช่วย Research ก็คอมเม้นทิ้งไว้เลยนะคะ
แอดมายด์
โฆษณา