2 พ.ค. 2021 เวลา 13:35 • ไลฟ์สไตล์
การเงิน เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ คิดว่าใช่หรือไม่?
การเงิน เป็นเรื่องไกลตัวจริงหรือ?
ระบบการศึกษารังแกฉัน เพราะไม่สอนเรื่องการลทุน หรือจริงๆแล้วมีคนไม่กี่คนที่เข้าใจเรื่องนี้จริงๆ
ถ้าไม่ใช่ ทำไมเราไม่เคยเรียนกันตั้งแต่สมัย ประถม มัธยม หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ยกเว้นคนที่เรียนคณะบัญชี
เงินคือปัจจัยที่เราใช้กันทุกวัน ไปโรงเรียนอย่างน้อยๆก็มีค่าขนม สิ่งที่เราได้รู้เกี่ยวกับเงิน ตั้งแต่เด็กๆ คือควรประหยัดอดออม
สมัยเด็กๆเรามีกระปุกออกสินตุ๊กตาเซรามิกสีสันน่ารัก เวลามีพ่อค้า แม่ค้าหาบเร่ใส่หาบตะกร้ามาขาย (สมัยโบราณมาก ที่ต่างจังหวัด) มีกระปุกทรงกระบอกพลาสติกยาว ได้กระปุกจากธนาคารออมสิน แล้วก็แกะก้นกระป๋องเอาเงินออกมาใช้อยู่ดี
สิ่งที่แม้แต่โตเป็นผู้ใหญ่แล้วเรายังไม่รู้ และทำได้ไม่ดีพอก็คือ
1. การลงทุนคืออะไร ?
2. ค่าใช้จ่ายจำเป็นที่คนคนหนึ่งพึงต้องรับภาระมีอะไรบ้าง
3. หน้าที่ของพลเมืองไทยต้องจ่ายภาษีที่ถูกต้องอย่างไร
ทำไมสามข้อนี้ แม้คนที่ทำงานจนเกษียณก็ยังมีทำผิดทำถูกแต่ไม่มีการวางระบบการให้ความรู้ หรือเป็นเพราะเราไม่หาความรู้เอง
การลงทุน จะทำให้เราไม่มัวแต่หาเงิน ใช้เงินและเก็บเงิน แต่จะทำให้เรียนรู้ว่าเราควรกระจายความเสี่ยงเพื่อเรียนรู้วิธีเก็บเงินในที่ต่างๆ ไม่เก็บเงินไว้ที่เดียว และเรียนรู้วิธีการบริหารสินทรัพย์ให้งอกเงย เพื่อทำงานแทนเรา
1) สิ่งที่ควรสอนไม่ใช่ประหยัด อดออมเพื่อเก็บเงิน แต่เป็นการใช้เงินให้คุ้มค่า โดยสิ่งที่เราควรให้คุณค่าคือเวลา ที่ไม่ว่าคนจนหรือรวย คนอัจริยะ หรือคนธรรมดาก็มีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันต่อวัน เพราะฉะนั้น “เวลา” ควรใช้ให้คุ้มค่า ใช้เพื่อใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ อย่าปล่อยให้ตัวเองงมอยู่กับกับดักการหาเงิน
คำว่าคุ้มค่าจึงมีความหมายต่างกันออกไปขึ้นกับปัจจัยที่แต่ละคนมี แต่คุณควรรู้ว่าเวลาคือสิ่งที่หาเพิ่มไม่ได้ ทดแทนไม่ได้ ขอยืมใครก็ไม่ได้ ต่อให้รวยล้นฟ้า ก็ไปเอาของคนอื่นมาต่อเวลาตัวคุณเองไม่ได้ ดังนั้นการหาเงิน เก็บเงินใช้เงิน ยังไม่สำคัญเท่าการบริหารเวลา พูดให้เข้าใจง่าย ถ้าคุณเอาเวลาไปทำงานบ้าน ทั้งที่คุณพอมีเงินจะจ้างแม่บ้าน แต่ไม่ยอมจ่ายเพราะประหยัด เวลาที่เสียไปทั้งวัน คุณไม่ได้เอาไปดูแลกิจการหรือเสริมทักษะในการพัฒนาการทำงาน เช่นนี้คือประหยัดเงินได้ โดยคุณเลือกให้คุณค่ากับการทำงานบ้านมากกว่า
2) การสอนให้รู้จักความรับผิดชอบว่า การใช้ชีวิตต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างเป็นพื้นฐาน เช่น ค่าเช่าบ้าน เงินผ่อนบ้าน เงินกู้บ้านถ้ามี ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เนต ค่าจ้างแม่บ้าน คนงานในบ้าน พี่เลี้ยงเด็กถ้ามี ค่าผ่อนรถถ้ามี ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่ารถโดยสารสาธารณะ ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าประกันชีวิต ค่าประกันสุขภาพ ยังมีค่าสังสรรค์เข้าสังคม ต่างๆ จิปาถะ
คุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้รับรู้ได้ในช่วงอายุใด เด็กเล็กสามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ และมีประโยชน์อะไรที่เด็กควรรู้ หรือคิดว่าเป็นแค่เรื่องของผู้ใหญ่ ?
หากเราสอนลูกหลานให้ทราบส่ิงเหล่านี้ จะทำให้เข้าใจถึงภาระความรับผิดชอบในแบบที่คนหนึ่งคนพึงจะมี จะเร็วหรือช้า เค้าก็ต้องได้รับบทบาทนี้ ยิ่งเข้าใจเร็วยิ่งปรับตัวเร็ว ก็ยิ่งมีประโยชน์
หากไม่เข้าใจ ก็จะได้รู้ตัวเร็วว่าขาดความรู้จุดไหน ไม่ใช้ชีวิตแบบประมาท พลาดพลั้งจนเป็นหนี้หนัก
แล้วเพราะเหตุใดเราจึงไม่เคยแบ่งปันความลับนี้ให้เด็กๆได้รับรู้ !!!
3) สุดท้าย หน้าที่สำหรับพลเมืองไทยที่ต้องจ่ายภาษีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ สำหรับผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ และรวมถึงผู้มีอาชีพอิสระใดๆด้วย การรู้ไว้ไม่ใช่เพื่อหลบหลีกแต่เพื่อให้วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้นึกภาพว่าแม่ค้าพ่อค้าที่ตั้งราคาขายสินค้า แต่ไม่เคยคำนึงถึงค่าภาษี ไม่รู้เรื่อง Vat ด้วย ต่อให้ขยันขันแข็งทำงานก็อาจจะเจ๊ง เหมือนที่มีให้เห็นหลายราย เพราะยอดขายดีแต่ไม่คุ้มทุน เพราะขาดวิสัยทัศน์ในเรื่องการเงินแบบครบวงจรของภาพรวมทั้งหมด
ไม่ว่าเราจะอายุมากหรือน้อยก็ไม่สำคัญ เริ่มต้นหาความรู้ด้านการเงินการลงทุน การทำรายรับรายจ่าย (พูดง่ายแต่ทำให้เป็นนิสัยยากมาก) จะช่วยให้คุณไม่เครียดจนเกินไปเรื่องการเงิน ไม่ต้องกังวล และมีอิสระภาพ เพื่อใช้เวลาที่คุ้มค่าในการ ...
“ออกแบบชีวิต” ของตัวเอง
โฆษณา