3 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • หนังสือ
อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น... ep1.
วันนี้รู้รอบขอบชิด ขอแหวกแนวจากเดิม ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมาย วันนี้จะขอมาเล่าเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ โดยมารวบรวมเนื้อหาสาระที่ได้จากหนังสือมาให้ท่านผู้อ่านได้มาอ่านกัน
การพูดคุยเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญมากในชีวิต หากการพูดเป็นที่พอในแก่ผู้อื่นก็จะเกิดประโยชน์แต่ตน แต่หากพูดไม่เป็นที่น่าพอใจแก่ผู้อื่นแล้ว ก็อาจจะเกิดโทษแก่ตนได้เช่นกัน ดังสุภาษิตที่ว่า ''พูดดีเป็นศรีแก่ตั พูดชั่วพาตัวเสียหาย''
สำหรับคนที่พูดไม่เก่งแล้ว อย่าพึ่งกังวลไป ทักษะการพูดคุยนี้เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้
บทที่ 1 วิธีเริ่มต้น ''คุยเล่นๆแบบคนชั้นแนวหน้า''
1. การนำเสนอตัวเองให้คู่สนทนารู้สึก ''ชื่อชอบ'' และ ''ไว้วางใจ''
คนเราจะประเมินคู่สนทนาแบบคร่าวๆ ตั้งแต่นาทีแรกที่เริ่มสนทนา โดยใช้เวลานานที่สุดไม่เกิน 4 นาที ดังนั้นเราควรสร้างความเป็นกันเอง
หลักของวิธีนี้ คือ ''ไม่โอ้อวดตัวเอง'' และ ''เล่าเรื่องผิดพลาดเล็กๆน้อยๆของตัวเอง'' ให้คู่สนทนาฟัง
2. คำเลียนเสียงที่คนในวงการบันเทิงชอบใช้
ตัวอย่าง ''พอออกจากสถานีรถไฟฝนก็ตกหนัก'' เปลี่ยนเป็น ''พอออกจากสถานีรถไฟฝนก็ตกลงมาโครมใหญ่
ใช้คำเลียนเสียงรวมทั้งภาษากายและภาษามือที่สอดคล้องกับคำพูดนั้น เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในเหตการณ์ที่เล่าด้วย
3. เปลี่ยน ''การคุยเล่นแบบไร้การวางแผน'' ให้เป็น ''การคุยเล่นแบบมีแผนการ''
ตัวอย่าง เมื่อเราอยากรู้สถานการณ์ หรือชีวิตประจำวันของอีกฝ่าย
A : คุณ B ชอบทำอะไรในวันหยุดครับ
B : ปกติแล้วผลเป็นพวกไม่ชอบเดินทางไปไหนครับ เลมมักจะพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ครับ
A : พักผ่อนอยู่ที่บ้านงั้นหรอ คุณคงงานยุ่งมากเลยอยากอยู่บ้านเฉยๆสิครับ
B : ใช่แล้วครับ ช่วงนี้งานยุ่งเป็นพิเศษเลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน
กำหนดเป้าหมายในการคุยเล่น
4. การพูดโดยใช้ระดับเสียง ''ฟา'' หรือ ''ซอล''
กล่าวคือ เป็นการพูดด้วยการใช้เสียงสูงนั้นเอง เพราะการพูดโดยใช้เสียงสูงจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าผู้พูดเป็นคนชอบเข้าสังคม (ดูเป็นมิตร)
ส่วนการพูดด้วยเสียงต่ำ มักใช้เพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้พูดดูเป็นคนจริงงจัง เหมาะกับการพูดแบบเป็นทางการมากกว่า
5. พูดว่า ''ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย!'' เพราะไม่มีใครปฏิเสธคำพูดฝากเนื้อฝากตัวของคนอื่น
การทักทายอย่างนอบน้อมว่า ''ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย!'' จะช่วยสร้างบรรยากาศการสนทนาที่ดี
''ทักษะการสื่อสารถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าในชีวิตของเรา คนที่พูดคุยไม่เก่งอาจต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ควรหมั่นฝึกฝนจนสามารถพูดต่อหน้าผู้คนได้อย่างสบายๆ การเขินอายเวลาพูดต่อหน้าผู้คนถือเป็นจุดอ่อนอย่างร้ายแรง ทักษะการสือสารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก''
วอร์เรน บัฟเฟตต์
บทที่ 2 ต้องใช้หัวข้อการสนทนาแบบไหน การคุยเล่นจำจะสนุกสนาน
6. เลือกเรื่องเบาๆที่ไม่กระทบต่อผู้อื่นมาเป็น ''หัวข้อสนทนาแรก''
อาทิ สภาพอากาศ แฟชั่น สุขภาพ งานอดิเรก ข่าวปัจจุบัน เรื่องที่มีจุดร่วมกันกับอีกฝ่าย และงาน โดยที่เรื่องดังกล่าวม่กระทบผู้อื่น และไม่ได้เจาะจงพูดถึงใครเป็นพิเศษ
หัวข้อที่ไม่ควรนำมาพูดอย่างยิ่ง คือ การเมือง ศาสนา เพราะอาจเกิดการถกเถียงกันได้
หรือเราจะลองค้นหาว่าอีกฝ่ายสนใจเรื่องไหนแล้วพูดคุยในเรื่องนั้นแบบลงลึกก็ได้
7. สิ่งที่จำเป็นไม่ใช้หัวข้อสนทนาที่ ''ตลกขบขัน'' แต่เป็นหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจ''
คุณไม่จำเป็นต้องฝืนเล่าเรื่องที่ตลก แค่พูดเรื่องที่อีกฝ่าย ''สนใจและอยากให้คุณเล่าให้ฟัง'' บรรยากาศการคุยก็สนุกสนานขึ้นแล้ว
ถ้าคุณเล่าเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจจนติดตรึงอยู่ในความทรงจำ อีกฝ่ายจะจดจำคุณได้ดีว่าคุณคือ ''คนเล่าเรื่องนั้นให้ฟัง''
เรื่องที่น่าสนใจ คือ เมื่อคุณเล่าแล้วอีกทำให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึก ''จริงหรอ'' ''ทำไมล่ะ'' ''อยากรู้ให้มากกว่านี้'' เพียงเท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
อาจเป็นเรื่องที่จบได้ในชีวิตประจำวัน
8. สิ่งที่ทำให้จับใจคนได้ ไม่ใช่ ''ความรู้เบ็ดเตล็ด'' แต่เป็น ''ความรู้ที่นำไปใช้งานได้''
กล่าวคือ ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้ ไม่ใช่ความรู้เบ็ดเตล็ดที่มีไว้ประดับสมองเฉยๆ
ตัวอย่าง
''เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เรียนรู้วิธีฟื้นฟูร่างกายจากการเหนื่อยล้าแบบเด็ดๆมาครับ....''
''ผมได้ยินจากเพื่อนสนิทมาว่าที่ดิสนีย์แลนด์ มีมุมถ่ายรูปสวยๆที่ไม่ค่อยมีคนรู้อยู่ครับ..''
เป็นต้น
9. หาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ไม่ใช่เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ (ในที่นี้อาจหมายถึงแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ) เพราะแหล่งข้อมูลจะช่วยพัฒนาทักษะการคุยเล่น
ถ้าคุณสามารถพูดคุยในฐานะ ''ผู้เชี่ยวชาญในวงการของตนเอง''คุณก็จะได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น
เจอกันใหม่ใน ep2 วันพฤหัสนี้นะคะ
อ้างอิง : หนังสืออย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น ยาซุดะ ทาดาชิ
โฆษณา