3 พ.ค. 2021 เวลา 01:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“แสง” ที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงมีพลังงานเท่าไหร่?
#วิเคราะห์ (เรียบเรียงโดย ธนกฤต ศรีวิลาศ)
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกของเราออกไป 150 ล้านกิโลเมตร มันเป็นสถานที่ที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ซึ่งพลังงานจากปฏิกิริยานี้ส่งต่อพลังงานขับเคลื่อนชีวิตบนโลกให้ดำรงอยู่ได้
ทฤษฎีควอนตัมชี้ว่าแสงมีคุณสมบัติเชิงอนุภาค โดยอนุภาคของแสง เรียกว่า โฟตอน (photon)
กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชและสาหร่ายเป็นกระบวนการสำคัญที่รับพลังงานแสงมาแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีสะสมไว้ มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อโฟตอนมีพลังงานมากพอ เพื่อให้อิเล็กตรอนในรงควัตถุอย่างคลอโรฟิลล์มีพลังงานเพิ่มขึ้นได้ถึงจุดหนึ่ง
ระบบแสงที่ 1 (Photosystem I )ในพืชที่ทำหน้าหลักในปฏิกิริยาแบบใช้แสง (Photosynthesis) ที่มา : http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Biology/antpho.html
อิเล็กตรอนในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ จะเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะกระตุ้นได้ เมื่อมีการดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นราว 700 นาโนเมตร การคำนวณจากสูตรของพลังค์ (E = hc/λ) จะพบว่าแสงหนึ่งอนุภาคต้องมีพลังงานราว 1.8 eV นั่นเอง
3
คลอโรฟิลล์ ส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ ที่มา : Wikipedia
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์แสงมักถูกถามว่า “คุณทำให้มนุษย์สังเคราะห์แสงแล้วไม่จำเป็นต้องกินข้าวได้รึเปล่า?” ตอบสั้นๆ เลยคือ "ด้วยเทคโนโลยีตอนนี้เรายังทำไม่ได้!” และนั่นก็คือจุดจบบทสนทนา
แต่เรายังสามารถสนุกไปกับความเป็นไปได้ที่ว่า นักวิทย์ฯอาจสร้างเนื้อเยื่อที่สามารถสังเคราะห์แสงได้มาปกคลุมผิวหนังของมนุษย์โดยผิวหนังมนุษย์มีพื้นที่ประมาณ 1 ตารางเมตร ส่วนจะเอาพลังงานที่ได้ไปใช้ทำอะไรนั้นค่อยว่ากันอีกที
โฆษณา