3 พ.ค. 2021 เวลา 02:35 • ธุรกิจ
ถ้าคุณเป็น CEO บริษัททำเหมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้วได้ยินข่าวมาว่ามีคนงานเหมืองของคุณแห่งหนึ่งเสียชีวิต คุณจะตัดสินใจสั่งหยุดงานเหมืองแห่งนั้นในทันทีหรือจะดำเนินธุรกิจไปตามปกติ?
บรรยากาศคลาสเรียน MBA ที่ Harvard Business School โดย Professor Tsedal Neeley มีพลังงานสูงมาก มีความสามารถในการดึงศักยภาพและความคิดนักศึกษาให้มีอารมณ์ร่วมในห้องเรียนตลอดเวลา ทำให้นักศึกษามีพลังในการเรียนรู้ตามไปด้วย
พวกเราคงเคยเรียนกับอาจารย์แล้วรู้สึกมีพลังในการเรียนแบบนี้ ที่ทำให้รู้สึกว่าชั่วโมงเรียนของคลาสนั้นสั้นมากเพราะทั้งสนุกในการเรียน กล้าใช้ความคิดที่แตกต่างแล้วไม่กลัวในการตอบผิดเพราะอาจารย์ใส่ใจในทุกคำตอบ อาจารย์จะคอยชี้นำให้เราคิดอย่างลึกซึ้งมากขึ้น บอกวิธีที่จะทำให้เรามองเห็นจุดอ่อนของความคิดเราเอง แล้วทำยังไงในการสื่อสารความคิดเพื่อ influence คนอื่นได้ ทำให้ทุกคนไม่กลัวที่จะตอบและต้องการ participate
1
ในชีวิตการทำงานจริง เราต้องเจอปัญหา ความท้าทาย ความเสี่ยงและโอกาสให้เราต้องตัดสินใจอยู่เสมอ ทำให้การมีหลักคิดและการเตรียม Practical framework ในการตัดสินใจ อย่าง VUCA management framework หรือ ERM framework ตามแนวทางของ COSO มาปรับใช้ในบริษัทเป็นเรื่องสำคัญมาก
ชอบนักศึกษาคนหนึ่งที่ตอบคำถามอาจารย์ว่า “คำถามของอาจารย์นั้นท้าทายมากเลย” ประมาณว่าไม่รู้จะตอบยังไงดี 😂
1
ตัวอย่างของ VUCA framework simple VUCA framework https://hbr.org/2014/01/what-vuca-really-means-for-you
ERM หรือการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management) หมายถึง กระบวนการที่บุคลากรทั่วทั้งองค์กรได้มีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ และคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งการระบุแนวทางในการจัดการกับความเสี่ยงดังกล่าว ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยอมรับได้ เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุในวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ตามกรอบวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร
1
กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลกิจการของแต่ละองค์กร โดยหากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร ทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
COSO หรือ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission ถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1985 โดยคณะกรรมการของสถาบันวิชาชีพ 5 สถาบัน ในสหรัฐอเมริกา อันได้แก่
1. สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Institute of Certified Public Accountants หรือ AICPA)
2. สมาคมผู้ตรวจสอบภายใน (The Institute of Internal Auditor หรือ IIA)
3. สมาคมผู้บริหารการเงิน (The Financial Executives Institute หรือ FEI)
4. สมาคมนักบัญชีแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Accounting Association หรือ AAA) และ
5. สมาคมนักบัญชีเพื่อการบริหาร (Institute of Management Accountants หรือ IMA)
การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)
สภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการกำหนดกรอบบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น วัฒนธรรมองค์กร นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติงานบุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น สภาพแวดล้อมภายในองค์กรประกอบเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดทิศทางของกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)
องค์กรต้องพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจน และเหมาะสม
3) การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification)
เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น นโยบายบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ กฎหมาย ระบบบัญชี ภาษีอากร ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้บริหารสามารถพิจารณากำหนดแนวทางและนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
4) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยงเป็นการจำแนกและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) โดยสามารถประเมินความเสี่ยงได้ทั้งจากปัจจัยความเสี่ยงภายนอกและปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร
5) การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)
เป็นการดำเนินการหลังจากที่องค์กรสามารถบ่งชี้ความเสี่ยงขององค์กร และประเมินความสำคัญของความเสี่ยงแล้ว โดยจะต้องนำความเสี่ยงไปดำเนินการตอบสนองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดความสูญเสียหรือโอกาสที่จะเกิดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
6) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
การกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่างๆ ที่กระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เช่น การกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรภายในองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
7) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบ และขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด
8) การติดตามประเมินผล (Monitoring)
องค์กรจะต้องมีการติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินการว่ามีความเหมาะสมและสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
http://ermthailand.blogspot.com/p/erm-coso.html?m=1
โฆษณา