4 พ.ค. 2021 เวลา 00:20 • ไลฟ์สไตล์
"ปักปัก" อาหารจากขยะ แหล่งที่พึ่งยามที่ท้องร้องหิว ในสลัมฟิลิปปินส์
ปัจจุบันฟิลิปปินส์ยังติดอยูในกลุ่มประเทศที่มีสลัมใหญ่ที่สุด และยังมีปัญหาความยากจนที่ยังแก้ไขไม่ได้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศแผนระยะยาวเพื่อลดจำนวนคนที่ยากจนในประเทศ แต่ปัญหาความยากจนก็ยังไม่หมดไป ประชากร 1 ใน 3 ของประเทศนี้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เส้นของความยากจน
สลัมในฟิลิปปินส์
"กองขยะ" เป็นแหล่งอาหารที่ล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทีอาศัยอยู่ในสลัมของฟิลิปปินส์ ผู้คนมากมายต่างฝากท้องไว้กับเมนูที่มาจากกองขยะนี้ "ปักปัก" คือเมนูอาหารที่ผู้คนในสลัมไว้ใจว่า มันคือเมนูที่ช่วยให้ท้องอิ่มและประหยัดค่าใช้จ่าย
ในเวลากลางคืนจะมีกลุ่มคนที่ดักรออยู่กองขยะหลังร้านอาหารภัตตาคารหรือร้านไก่ทอดต่าง ๆ เป้าหมายเพื่อที่จะเก็เศษอาหารเศษไก่ที่ทางร้านรวบรวมแล้วน้ำมาทิ้งไว้ที่นี่ เมื่อขยะถูกนำมาทิ้งไว้ กลุ่มคนพวกนี้ก็จะรีบเข้าไปเพื่อคุ้ยหาเศษอาหารในกอง ทั้งกระดูกที่ติดเศษเนื้อ หรือเศษเนื้อที่ไม่หมดเลยยิ่งดี พวกเขาจะคัดแยกขยะในทันทีที่มันถูกทิ้งลงถังขยะ นั้นก็เพื่อไม่ให้มันปนอยู่กับขยะประเภทอื่นนาน เพื่อความสะอาดของอาหาร
พ่อค้าขาย "ปักปัก"ที่มารอที่กองขยะเพื่อรอเศษอาหาร
ต่อมา พวกเขาจะนำเศษกระดูก เศษอาหารที่ได้มาล้างน้ำเปล่าสามถึงสี่รอบจนมั่นใจว่าสะอาด จากนั้นก็พักไว้ให้แห้ง
1
ล้างเศษกระดูกไก่เพื่อนำมาทำเมนู "ปักปัก"
ขั้นตอนทำอาหารไม่มีอะไรยาก เริ่มที่เจียวหอมแดงให้หอม แล้วนำเศษอาหารใส่ลงไปผัดรวมกัน โรยเกลือเพเียงหยิบมือหนึ่งเท่านั้น และยังมีเครื่องปรุงสำคัญที่อย่างที่ขาดไม่ได้เลยคือ ซอสมะเขือเทศ ที่เพิ่มรถชาติให้อาหารจานนี้และยังช่วยกลบกลิ่นของอาหารอีกด้วย คลุก ผัดไปมาให้เข้ากัน แล้วตั้งไฟรอ 15 นาที เราก็จะได้อาหารพื้นเมืองอย่าง "ปักปัก" จานร้อน ๆ ที่ราคาขายอยู่ที่ประมาณ 10 เปโซ หรือราว ๆ 7 บาทไทย
ขั้นตอนการทำเมนู "ปักปัก"
ชุมชนแถบสลัมหลายคนฝากท้องให้เมนู "ปักปัก" เป็นแหล่งพึ่งพาสำหรับท้องที่ร้องหิวโหยของเขา และหลาย ๆ คนเชื่อว่าเมนู "ปักปัก" จะไม่เป็นอันตราย เพราะล้างสะอาดและผ่านความร้อนมาแล้ว แต่ถ้าจะท้องเสีย นั้นก็เป็นเพราะร้านที่ขายไม่รู้จักวิธีทำและล้างไม่สะอาดพอ
ลูกค้า "ปักปัก"
ประชากรที่นี่อาศัยอยู่ได้ด้วยรายได้อันน้อยนิด มีรายได้เฉลี่ยต่อวันไม่ถึง 50 บาท ด้วยฐานะที่เป็นอยู่และเลือกไม่ได้ ทำให้ "ปักปัก" ช่วยลดและประหยัดค่าใช้ได้เยอะ ซื้อเพียงแค่ไม่กี่เปโซ แต่ก็สามารถแบ่งกินอิ่มท้องได้ท้องครอบครัวเลยทีเดียว ความจนทำให้เลือกไม่ได้ และนี่คือวิธีการเพื่อความอยู่รอด ของสลัมในฟิลิปปินส์
ขอบคุณ ข้อมูลและรูปภาพจาก
Source : “อาหารขยะ” ที่มาจากขยะจริงๆ ในฟิลิปปินส์ - workpointTODAY
Source : “Pagpag” อาหาร (จาก) ขยะ | ร้อยเรื่องรอบโลก EP58 - YouTube, https://youtu.be/lTFG4wP8TKE
โฆษณา