4 พ.ค. 2021 เวลา 02:16 • การศึกษา
Lex Constructionis 🏗
In Latin, Lex means “Law” and Constructionis means “Construction”. With the two words combined, the phrase refers to “Construction Law”. Lex constructionis is often used in the context of international law.
Lex constructionis is very specific as it addresses issues only about construction. But in the bigger picture, lex constructionis can be described in the context of “Lex Mercatoria” or the mercantile law in the present.
How lex mercatoria retains its value in legal systems is still controversial. On the positive note, lex mercatoria is often perceived as an autonomous legal order drawing own character from legal pluralism which stems from customs and traditions in trade; therefore, Lex mercatoria is not bound to national law. In contrast, lex mercatoria is arguably nonexistent. Lex mercatoria may legally exist only by virtue of state laws. By itself, lex mercatoria is vague, incomplete, and void of biding force.
Lex mercatoria is important in the field of international law especially in decision process for an arbitration. Occasionally, engaged parties do not wish to have their contracts governed by any of their national laws, parties can instead choose lex mercatoria. Arbitrators may also opt for lex mercatoria when the arbitral tribunal is to decide as amiable compositeur or ex aequo et bono.
Lex construtionis is part of lex mercatoria that is calibrated for construction industry (so called “Lex mercatoria constructionis”). Lex constructionis in international practice is influenced by FIDIC contract. FIDIC is the federation of consulting engineers who provide templates for construction contracts, which are commonly used in the world today to the extent that the World Bank standardizes all contracts for projects it finances by using FIDIC contracts.
FIDIC contract is based on many principles that are considered lex constructionis, as it integrates principles used in some other international commercial contracts such as Pacta sunt servanda (promise must be kept) or Rebus sic stantibus (change in circumstances). These concepts are lex mercatoria by nature and also found in other international laws such as UNCRITAL and UNIDROIT.
Examples of lex constructionis principles in FIDIC contract are variation (not considered a breach of contract); compensation for inaccurate data provided by employer in good faith; and extension of time for project completion.
Moreover, FIDIC contract has one Golden Principle that forms the basis of a contract—that is, the balance of right and duty, no ambiguity, reasonable time to perform dictated tasks, and procedure for dispute resolution. Such is also part of Lex Mercatoria Constructionis.
Lex Constructionis 🏗
คำว่า Lex ในภาษาละติน หมายถึง กฎหมาย (law) ส่วนคำว่า Constructionis ก็หมายถึงการก่อสร้าง (construction) รวมแล้วอาจแปลความได้ว่ากฎหมายของการก่อสร้าง ซึ่งคำศัพท์คำนี้จะใช้อยู่มากในบริบทของสัญญาระหว่างประเท
คำว่า lex constructionis นั้นเป็นคำที่ค่อนข้างเฉพาะเพราะมุ่งเน้นไปที่งานก่อสร้างเท่านั้น แต่หากพูดภาพให้กว้างขึ้นไปแล้ว lex constructionis ก็คือประเภทหนึ่งของ Lex Mercatoria ซึ่งนักกฎหมายระหว่างประเทศจะคุ้นเคยกัน โดยอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่ากฎหมายของพ่อค้า (mercantile law)
lex mercatoria มีค่าในระบบกฎหมายอย่างไร เป็นที่ถกเถียงกันมาก ในด้านหนึ่งเห็นว่า lex mercatoria มีอยู่ในระบบกฎหมายโดยตัวของมันเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายภายใน (national law) และอาจอยู่ในระบบกฎหมายแบบพหุนิยม (pluralism) ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกิดจากธรรมเนียมและทางปฏิบัติทางการค้า ในขณะที่อีกด้านหนึ่งเห็นว่า lex mercatoria นั้นไม่มีอยู่ และจะดำรงอยู่ในกฎหมายก็ต่อเมื่อมีอยู่ในสถานะของกฎหมายที่ถูกนำมาบัญญัติขึ้น เพราะโดยตัวของ lex mercatoria เองไม่มีความแน่นอน และที่สำคัญไม่มีสภาพบังคับ
lex mercatoria สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศมาก โดยเฉพาะในการตัดสินคดีของอนุญาโตตุลาการ ที่บางครั้งที่คู่กรณีไม่ต้องการให้กฎหมายภายในของประเทศใดประเทศหนึ่งบังคับใช้กับสัญญาที่เกิดขึ้น คู่สัญญาอาจกำหนดให้ lex mercatoria บังคับกับสัญญา หรืออาจเป็นการอนุญาโตตุลาการที่ไม่ใช้กฎหมาย (amiable compositeur) หรือใช้หลักของความยุติธรรม (ex aequo et bono) ซึ่งกรณีเหล่านี้อนุญาโตตุลาการสามารถนำ lex mercatoria มาใช้ตัดสินข้อพิพาทได้
lex construtionis ก็คือส่วนหนึ่งของ lex mercatoria คือเป็นลักษณะกฎหมายของพ่อค้าเฉพาะในอุตสหากรรมก่อสร้าง (lex mercatoria constructionis) โดย lex constructionis ที่ปรากฎอยู่ในทางระหว่างประเทศนั้น ส่วนหนึ่งที่สำคัญจะมาจากสัญญา FIDIC ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาก่อสร้างระหว่างประเทศ ร่างโดยสมาพันธ์วิศวกรที่ปรึกษานานาชาติ (โดยธนาคารโลก (World Bank) กำหนดให้ใช้สัญญา FIDIC ในโครงการที่ได้รับเงินกู้)
สัญญา FIDIC มีหลักการที่กล่าวได้ว่าเป็น lex constructionis อยู่หลายหลักการ โดยผสมผสานกันระหว่างหลักการที่ปรากฎในหลักกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย เช่น หลักสัญญาต้องปฏิบัติตาม (Pacta sunt servanda) ซึ่งเป็นหลักที่เคยเรียนกันมา หรือหลักสาระสำคัญของสัญญาเปลี่ยนแปลงไป (Rebus sic stantibus) ซึ่งหลักการต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะเป็น lex mercatoria และปรากฎอยู่ในหลักการระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น UNCRITAL หรือ UNIDROIT เป็นต้น
ส่วนหลักการเฉพาะที่เป็น lex constructionis ในสัญญา FIDIC ยังมีอีกหลายหลักการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงงาน (Variation) ที่ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา การได้ค่าชดเชยจากผลของข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากผู้ว่าจ้างตามหลักสุจริต (Good faith) หรือการกำหนดให้มีการขยายระยะเวลาก่อสร้าง (Extension of time) ได้ เป็นต้น
นอกจากนั้น FIDIC ยังมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าเป็น Golden Principle ซึ่งกล่าวถึงความสมดุลกันระหว่างสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา และสัญญาต้องมีความชัดเจน กล่าวถึงการกำหนดเวลาในสัญญาจ้างก่อสร้างต้องสมเหตุสมผล และกล่าวถึงการระงับข้อพิพาทโดย DAAB ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งใน lex mercatoria constructionis นั่นเอง
โฆษณา