5 พ.ค. 2021 เวลา 07:50 • สุขภาพ
ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม สิ่งที่เราถูกสอนมาแต่เด็กๆ คือ สิทธิ และ หน้าที่ + ความรับผิดชอบ
เมื่อใดก็ตามที่เราเรียกร้องสิทธิ์ (ไม่ว่าจะสิทธิที่จะทำ หรือ ไม่ทำ) เราก็ต้องรับ หน้าที่ + ความรับผิดชอบ จากการที่เราเลือกที่จะใช้สิทธิ์ (หรือ ไม่ใช้สิทธิ์) นั้น
ถ้าเรามีสิทธิ์ซื้อประกันสุขภาพ แล้วเราไม่ใช้สิทธิ์นั้น (เพราะอะไรก็แล้วแต่ เช่น เราประเมินแล้วว่า "ไม่คุ้ม") เมื่อ เกิดปัญหาสุขภาพ เราก็ต้องมีหน้าที่ + ความรับผิดชอบที่ต้องจ่ายเอง หรือ ไปใช้บริการของรัฐฯ
ราคาของความเสี่ยงที่จะซวย = โอกาสที่จะซวย x มูลค่าของความซวย
ในความคิดผม (แน่นอนว่าแต่ล่ะคนคิดไม่เหมือนกัน) โอกาสจะเดินตกท่อ 5% ค่าไปหาหมอ 10,000 บาท
ราคาของความเสี่ยงที่จะตกท่อ 0.05 x 10,000 = 500 บาท
ใครคิดเบี้ยประกันตกท่อผมมากกว่า 500 บาท ผมก็ไม่ซื้อ ใครขายถูกกว่า 500 บาท ผมก็ซื้อ ง่ายๆแค่นั้น
ถ้าผมเสนอหลักการง่ายๆแบบนี้ล่ะครับว่า ควรฉีดหรือไม่ฉีด โดยใช้หลัก สิทธิ์ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ ราคาความเสี่ยง
ราคาของความเสี่ยงที่จะซวยจากผลข้างเคียงวัคซีน (R vaccine)= โอกาสที่จะซวยเพราะวัคซีน x มูลค่าของความซวยจากวัคซีน
ราคาของความเสี่ยงที่จะซวยจากโควิด (R Covid) = โอกาสที่จะซวยเพราะโควิด x มูลค่าของความซวยจากโควิด
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้่ครับ ใครจ่ายค่าความซวย
ก. รัฐ(ภาษีคนทั้งประเทศ) หรือ ข. ผมจ่ายเอง
โดยหลักการ สิทธิ์ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ถ้ารัฐจ่ายมูลค่าความซวยให้ผม ผมก็ไม่ต้องคิดมาก แหกปาก กูจะเอาโน้น กูจะเอานี่ เสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ เย้ๆ อย่างเดียวเลย 555
ผมไม่ฉีด(ยี่ห้อไหนก็ตามที่ผมมีสิทธิ์) แต่ถ้าติดโควิด รัฐ(เอาภาษีคุณ)มาจ่ายซ่อมสุขภาพผม(และญาติพี่น้องคนใกล้ชิด)นะ ... ถามเด็กประถมก็รู้ว่าแบบนี้ไม่เข้าท่าเนอะ
แต่ถ้าผมไม่ฉีด(ยี่ห้อไหนก็ตามที่ผมมีสิทธิ์) ผมใช้สิทธิ์ปฏิเสธ ถ้าติดโควิด ผมจ่ายค่าซ่อมสุขภาพผม(และญาติพี่น้องคนใกล้ชิด)เอง ไม่หนักกระบาลใคร ... เออ แบบนี้ค่อยเข้าท่าหน่อย จริงไหมครับ
คราวนี้แหละ ถ้าผมต้องจ่ายค่าความซวยเอง (ไม่ฟรี) ผมจะเริ่มใช้สมองล่ะ (แทนที่จะใช้ปากด่าๆ) เหมือนตอนตัวแทนมาขายประกันโน้นนี่นั่นให้ผม
ถ้า R vaccine > R covid ผมก็ไม่ฉีด ยอมรับความเสี่ยงถ้าติดโควิด
ถ้า R vaccine < R covid ผมก็ฉีด ยอมรับความเสี่ยงผลข้างเคียงวัคซีน
"คนเราจะคิดก็ต่อเมื่อต้องรับผลจากการตัดสินใจด้วยตัวเองเท่านั้น เมื่อคนอื่นมารับผิดชอบผลลัพท์ให้ เรามักไม่ใช้สมองคิด แต่ใช้ปากเรียกร้อง (เหมือนเด็กน้อยงองแง)"
โฆษณา