5 พ.ค. 2021 เวลา 07:54 • ข่าว
‘เกาหลีใต้’ กำลังจะเจอภาวะสมองไหล
เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่อยากอยู่ มองประเทศตัวเองเหมือน ‘นรก’
14
กระแสการอยากย้ายประเทศที่กำลังเป็นที่พูดถึงและมาแรงในขณะนี้ กลายเป็นเสียงสะท้อนของสภาวะที่เกิดขึ้นต่อความรู้สึกของประชาชนที่มองไม่เห็นอนาคตของตัวเองในประเทศที่เรียกว่า “บ้านเกิดเมืองนอน” จากปัญหาที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นถัดไปที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกำลังหลักขับเคลื่อนประเทศ แทนคนรุ่นเก่าที่ร่วงโรยไปตามกาลเวลา
5
แต่ใช่ว่าจะมีเพียงแค่ประเทศไทยที่เกิดกระแสสังคมนี้เท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วที่มีความก้าวหน้าและโดดเด่นที่สุดประเทศหนึ่งของโลกอย่าง 'เกาหลีใต้' ก็กำลังเผชิญกับสถานการณ์เดียวกัน เมื่อคนรุ่นใหม่ของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่มองประเทศของตัวเองไม่ใช้ดินแดนที่น่าอยู่อีกต่อไป และเปรียบเทียบดินแดนที่ฉากหน้าดูศิวิไลซ์ไม่ต่างอะไรกับ “ขุมนรก”
10
“คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า” คงเป็นการเปรียบเปรยต่อดินแดนโสมขาวได้เป็นอย่างดี เมื่อสื่อของประเทศเกาหลีใต้รายงาน "ผลการวินิจฉัยความขัดแย้งทางเพศจากมุมมองของเยาวชน และการตอบสนองเชิงนโยบายที่แนะนำสำหรับรัฐ ที่รวมไปถึงการวิเคราะห์การรับรู้ถึงความเป็นธรรมทางเพศ" ซึ่งเป็นผลสำรวจตามนโยบายความเท่าเทียมทางเพศครั้งที่ 119 จากสถาบันพัฒนาสตรีแห่งประเทศเกาหลี ที่ได้สำรวจทัศนคติของประชากรที่มีต่อประเทศของตัวเอง โดยใช้เกณฑ์การเก็บข้อมูลจากช่วงอายุระหว่าง 19 – 59 ปี พบว่า
12
กลุ่มคนอายุระหว่าง 19 – 34 ปี มีความกังวลอย่างมากต่ออนาคตของตัวเองในการใช้ชีวิตในประเทศ ซึ่งค่าเฉลี่ยจากผู้คน 8 ใน 10 คน มองเกาหลีใต้เป็นเมือนกับ "นรก" โดยเพศหญิงมีสัดส่วนอยากจะเดินทางออกนอกประเทศคิดเป็น 79% ส่วนผู้ชายคิดเป็น 72%
8
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่อยากหนีออกนอกประเทศของชาวเกาหลีใต้รุ่นใหม่มาจากการอยากมีชีวิตที่ให้อิสระได้มากกว่านี้ แทนที่ต้องทนกดดันกับงานที่แข่งกับเวลา ชีวิตการกินอยู่ที่ย่ำแย่ เศรษฐกิจที่ไม่มีความเสมอภาค ความไม่มั่นคงหลังเกษียณ การแข่งขันทางสังคมที่สูง รวมทั้งรู้สึกว่ารัฐบาลไม่สามารถดูแลประชาชนได้ และการมองเห็นประเทศอื่นมีสวัสดิการที่ดีกว่า
9
ไม่เพียงแค่กลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มวัยทำงานตอนกลางถึงตอนปลาย รวมทั้งกลุ่มที่ใกล้จะเกษียณอายุต่างก็มีความคิดที่อยากจะหนีไปให้พ้นๆ จากประเทศของตัวเองเช่นกัน
1
🔵 เกิดอะไรขึ้นกับประเทศชั้นนำของโลก
1
เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่พัฒนาตัวเองอย่างรวดเร็วหลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประเทศยากจนกลายมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แม้จะมีพื้นประเทศน้อยกว่าไทยเกือบ 5 เท่า แต่ก็มีประชากรมากกว่า 51 ล้านคน และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 12 ของโลก
8
ขณะที่รายได้ประชากรโดยเฉลี่ยต่อปีนับถึงสิ้นปี 2563 ก็สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก คือ 37.91 ล้านวอน ประมาณ 1.03 ล้านบาท จากข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank) และสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลี อีกทั้งเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรป ตุรกี แคนาดา สหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ อีกรวม 36 ประเทศ
9
แต่ชาวเกาหลีใต้กลับต้องเผชิญกับความกดดันในการใช้ชีวิตสูงที่สุดในโลก ประเทศที่มีการแข่งขันสูงในทุกๆ ด้าน ผู้คนถูกปลูกฝังความคิดว่าจะต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ในทุกๆ ทาง ตั้งแต่การเรียน การทำงาน กิจกรรมต่างๆ เพื่อความเป็นเลิศเชิดหน้าชูตาตัวเองและครอบครัว
14
นับตั้งแต่เด็กในวัยเรียนที่ครอบครัวชาวเกาหลีใต้จะกดดันให้ลูกเรียนหนังสืออย่างหนัก พร้อมกับการเรียนกวดวิชาเพิ่มในสถาบันกวดวิชา ซึ่งถ้าหากใครเคยไปเที่ยวที่ประเทศเกาหลีใต้โดยเฉพาะในกรุงโซล จะพบว่ามีโรงเรียนกวดวิชาของเอกชนมากมายในย่านดังๆ เช่น แดชิ คังนัม อินซาดง ชินซาดง และนอร์ยางคจิน เป็นต้น และจะเห็นเด็กนักเรียนชาวเกาหลีคร่ำเคร่งกับการเรียนกวดวิชาจนดึกดื่น เพื่อหวังที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศให้ได้ และการเรียนในโรงเรียนกวดวิชาก็จะมีมาตรฐานการันตีถึงดีกรีที่สามารถผลักดันให้นักเรียนของตัวเองเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ ยิ่งโรงเรียนกวดวิชามีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ ค่าเล่าเรียนก็จะสูงมากเท่านั้น บางแห่งมีค่าเรียนสูงถึง 74,000 บาทเลยทีเดียว
21
“SKY” คือชื่อย่อของกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เป็นที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ เด็กหลายคนต่างใฝ่ฝันที่จะสอบเข้าเรียนให้ได้ รวมทั้งเป็นความหวังของครอบครัวไว้เชิดหน้าชูตา ซึ่งประกอบด้วย 3 มหาวิทยาลัยชื่อดังคือ
6
🔹️มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (SEOUL NATIONAL UNIVERSITY)
🔹️มหาวิทยาลัยโคเรีย (KOREA UNIVERSITY)
🔹️มหาวิทยาลัยยอนเซ (YONSEI UNIVERSITY)
4
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล คือมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศที่หากใครเข้าเรียนที่นี่ได้จนจบหลักสูตร การันตีได้เลยว่ามีงานทำในตำแหน่งที่ดีกว่า และสูงกว่าผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ แน่นนอน เป็นตัวเลือกอันดับแรกที่บริษัทขนาดใหญ่ต่างๆ ของเกาหลีใต้จะพิจารณาจองตัวว่าที่บัณฑิตกันเป็นที่แรก และยังติดอันดับ 7 ของมหาวิทยาลัยที่นายจ้างหรือบริษัททั่วทั้งเอเชียชื่นชอบผู้ที่จบการศึกษาจากที่นี่มากที่สุดปี 2018
12
รวมทั้งได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในโลก โดยรั้งอันดับที่ 31 ของโลก จากสื่อยักษ์ใหญ่อย่างรอยเตอร์
4
เด็กเกาหลีใต้จริงจังกับการเรียนมาก เรียนหนักทั้งในห้องเรียนและเรียนพิเศษ ใช้เวลาในการเรียนต่อวัน 14 - 16 ชั่วโมง โดยการเรียนหนังสือในเกาหลีใต้จะเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 8 โมงเช้า และสิ้นสุดลงประมาณ 4 ทุ่ม กระทั่งถึงตี 1 ขึ้นอยู่กับความอึดของนักเรียนแต่ละคน ยังไม่รวมการเรียนเสริมอื่นๆ ทักษะด้านอื่นๆ ซึ่งพ่อแม่จะเป็นผู้รบเร้าให้เรียนหรือบังคับ
21
นักเรียนเกาหลีใต้จึงแบกความหวังของตัวเองและครอบครัวเอาไว้สูงมากตั้งแต่เด็ก และเข้าสู่สนามการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสม จากการกดดันตัวเอง จนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
15
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้ ระบุว่า อัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้มากเป็น 2 เท่าของตัวเลขเฉลี่ยในกลุ่มประเทศ OECD หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว และการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของชาวเกาหลีใต้ในช่วงอายุวัยรุ่นตั้งแต่ 20 - 30 ปี และอายุของผู้ฆ่าตัวตายก็เด็กลงเรื่อยๆ ตรงข้ามกับจำนวนคนฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้พยายามแก้ปัญหาอย่างมาก แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งพื้นฐานครอบครัวที่กดดันจากการเร่งพัฒนาประเทศมาตลอดหลายสิบปีได้ฝังรากลึกไปแล้ว
8
🔵 ชีวิตที่ทำงานหนักแทบตลอดเวลา
2
ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ประเทศเกาหลีใต้เจริญรุดหน้ามาได้ขนาดนี้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว หลายส่วนก็มาจากการวางแผนการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบของพิมพ์เขียวการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล และการใช้ระบบทุนนิยมผูกขาดขับเคลื่อนประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม “แชโบล” ที่มีไม่กี่บริษัทยักษ์ใหญ่จากคนไม่กี่ตระกูลที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ แต่สิ่งที่เป็นฟันเฟืองในการสร้างประเทศคือ แรงงานวัยหนุ่มสาวชาวเกาหลี
7
คนเกาหลีใต้ถือว่าเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่หนักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดย OECD พบว่า ชาวเกาหลีใต้มีชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยต่ออาทิตย์สูงกว่าชาติอื่นๆ แม้แต่ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอุตสาหกรรมอย่างเยอรมนีถึง 50% แม้ว่ารัฐบาลจะกำหนดการลดชั่วโมงการทำงานไปเมื่อกรกฎาคม 2018 จาก 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เหลือ 40 ชั่วโมง แล้วก็ตาม
9
บริษัทส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ทำงานกัน 6 วันต่อสัปดาห์ เฉลี่ยต่อวันทำงาน 12 – 15 ชั่วโมง ยังไม่รวมเวลาหลังเลิกงานที่บางคนต้องหอบหิ้วงานกลับมาทำต่อที่บ้าน หรือต้องถูกบังคับให้ออกไปสังสรรค์ต่อกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้
8
วัฒนธรรมการมีพรรคพวก มีเพื่อนฝูง เป็นคนมีกลุ่มสังคมอยู่นั้นสำคัญกับชาวเกาหลีใต้อย่างมาก เพราะมันเป็นการบ่งบอกถึงการได้รับการยอมรับจากสังคม ใครที่ใช้ชีวิตคนเดียว กินข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว ถือว่าเป็นพวกไม่มีใครคบ ไม่มีใครยอมรับ เป็นเหมือนตราบาปของชาวเกาหลีที่ไม่อยากให้ใครมองว่าเป็นคนแบบนั้น และอาจส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในชีวิต
17
ดังนั้นต่อให้ต้องทำงานเหนื่อยสายตัวแทบขาดแค่ไหนก็ต้องไปสังสรรค์ต่อ และตื่นขึ้นมาทำงานในวันรุ่งขึ้นให้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
10
ความเครียดและความกดดันในชีวิตการทำงานทุกสาขาอาชีพ ส่งผลให้ชาวเกาหลีใต้มีปัญหาสุขภาพจิตสูง และเป็นโรคซึมเศร้ามากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สังคมการทำงานที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด การถูกลงโทษทางวินัยในที่ทำงาน หรือการให้ออกจากงานเป็นสิ่งที่คนเกาหลีรับไม่ได้ เพราะจะถูกตีค่าว่าเป็นคนไม่เก่ง ไม่เอาไหน หรือไม่ใช่บุคลากรที่มีคุณภาพ
5
ดังนั้นชาวเกาหลีในวัยทำงานก็มีภาวะการฆ่าตัวตายสูงเช่นเดียวกับคนญี่ปุ่น เพราะชีวิตขาดการสร้างสมดุลระหว่าง Work Life Balance ที่ดี
5
ยังไม่รวมปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ชาวเกาหลีใต้ต้องเผชิญ ซึ่งกดดันให้คนรุ่นใหม่มองว่า นี่ไม่ใช่ประเทศที่น่าอยู่สำหรับพวกเขา และอยากจะออกไปหาประเทศใหม่ที่คุณภาพชีวิตดีกว่า ในขณะที่ชาวต่างชาติที่มองเข้าไปเห็นว่า เกาหลีใต้เป็นเหมือนกับสวรรค์ของการทำงานและใช้ชีวิตเพื่อหาเงิน ซึ่งในความจริงอาจมองจากมิติเดียวด้านเดียวจากคนที่ไม่เคยได้สัมผัส
7
การที่คนในยุคนี้จะเริ่มอยากย้ายประเทศเพื่อหาพื้นที่ที่รู้สึกว่าเหมาะสมลงตัวกับตัวเองที่สุดจึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมนุษย์ไม่ใช้ต้นไม้ที่ต้องฝักรากอยู่ที่ใดที่หนึ่งที่เดียวตลอดไปจนสิ้นอายุไข และสามารถหาความพึงพอใจที่จะมีชีวิตอยู่ตามที่ตัวเองต้องการ
16
แต่มันก็ไม่มีอะไรง่ายเสมอไป เพราะการที่จะไปยังที่ที่ต้องการได้มันแลกมาด้วยปัจจัยมากมาย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ "เงิน" และ "งาน" ที่ต้องมีมากเพียงพอที่จะก้าวไปสู่เส้นทางที่ฝันไว้ รวมทั้งการจัดการเรื่องเอกสารต่างๆ และการรับมือกับสังคม วัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคยที่จะต้องเจอในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
5
เพราะฉะนั้นการที่ประเทศซึ่งพัฒนาแล้วระดับเกาหลีใต้ผู้คนยังรู้สึกไม่อยากอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะพบเจอกับความรู้สึกที่ไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตของตัวเอง เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาก็อาจจะไม่เหมาะกับหลายคนที่รู้สึกว่าประเทศนี้อยู่ยาก ไม่ตอบโจทย์ชีวิต และไม่พอใจในสวัสดิการจากภาครัฐ ซึ่งก็เป็นปัญหาในรูปแบบของประเทศไทยที่หลายคนพบเจอ แม้จะแตกต่างกันตามแต่ละบริบทของประเทศแต่สุดท้ายก็คือความรู้สึก “ไม่อยากอยู่” เหมือนกันนั่นเอง
8
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
4
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
1
โฆษณา