5 พ.ค. 2021 เวลา 09:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปและคาดการณ์ สภาวะเศรษฐกิจไทย (World &Thailand Economic Outlook 64 )
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจ GDP ปี 64/65 ลงจาก 3.2 เหลือ 3ในไตรมาส1/64 forecast ไตรมาส1/65 จาก 4.8 เหลือ 4.7 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มปรับขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้นจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะการลงทุนของรัฐ G-Invesment ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 11.6 แต่อย่างไรก็ดีการขยายตัวยังไม่ทั่วถึงแม้การส่งออกจะดีขึ้นแต่ภาคบริการ การท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตราการที่ยังไม่ผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยว อีกหนึ่งตัวสำคัญคือตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากจาก การนำเข้าทองและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง ค่า freight ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปัญหาตู้คอนเทรนเนอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการจากปัจจุบันที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน การส่งของที่เพิ่มมากขึ้นกับจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีปริมาณเท่าเดิม อีกทั้งท่าเรือบางแห่งยังปิดทำการ
** การประมาณการในไตรมาส1/64 ไม่ได้รวมการระบาดคลัสเตอร์ทองหล่อในปัจจุบัน โดยประมาณการไว้เดือน มีนา64
-อิทธิพลสำคัญที่ทำให้การส่งออกดีขึ้นเนื่องจากประเทศคู่ค้าเริ่มมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจหากดูภาพรวมที่ไม่เจาะจงตามภูมิภาค การประเมินของ IMF คาด GDPโลกจะอยู่ที่6%ในไตรมาส 1/64 หากดูจาก professional forecasters BOT ประมาณการไว้ที่ 6.4% ในไตรมาส1/64
2 ตัวช่วยเศรษฐกิจไทย ฝั่ง monetary policy และ fiscal policy
- monetary policy 1.กระจายสภาพคล่องให้ตรงจุด (ธปท.ให้เหตุผลว่าสภาพคล่องในระบบมีเพียงพอแต่ขาดเพียงการกระจายตัวไปยังกลุ่มที่เดือดร้อนที่อาจติดกฎเกณท์บางอย่างในรายย่อย) 2.การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน 3.อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ 4.ปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งมาตรการ foft loan , asset warehousing หยุดพักชำระหนี้
**ทั้งนี้ policy ของธปท.ตั้งอยู่บท สมมติฐาน 3 ประการ 1. price stability 2. economic growth 3. financial stability
- fiscal policy 1.มาตราการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เป็นต้น 2.ดูแลสภาพเศรษฐกิจให้กิจกรรมเศรษฐกิจดำเนินต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วง
.
สภาวะการเงินโลกและไทย
UST Yield ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่นักลงทุนคาดการณ์การผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐจากการคาดการตัวเลขเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของสหรัฐจากมาตราการที่รัฐบาลเตรียมสนับสนุนเศรษฐกิจอัดงบประมาณฟื้นฟูขนาดใหญ่ รวมถึงตัว UST Supply yield ที่คาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นจากการก่อหนี้ของตัวสหรัฐเอง ซึ่งตรงนี้ทำให้ government bond yield ของหลายประเทศรวมถึงไทยปรับตัวสูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
ธปท.ชี้แจงว่ากลไกการทำงานพันธบัตรของไทยยังคงทำงานได้ปกติ หากดูการระดมทุนของเอกชน การ rollover ใหม่ ในตราสารหนี้ ยังคงเป็นปกติ หากมองในส่วนของหุ้นกู้ภาคเอกชนเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลระยะ1-3ปี ตัว yield spread ยังคงอยู่ในสภาะที่ดี เมื่อมองใน credit rating ในกลุ่มAขึ้นไปกราฟมีแนวโน้มลดลง นั้นหมายถึงต้นทุนการระดมทุนภาคเอกชนยังคงดีอยู่ คือต้นทุนถูกลง ไม่ต้องเสี่ยงจ่ายผลตอบแทนสูงๆเพื่อจูงใจนักลงทุน ส่วนกลุ่ม credit rating ที่อยู่ triple b ยังคงทรงตัวเนื่องจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจและCOVID
-เงินบาทอ่อนค่าลงตามดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงของไทย จากการ forecast ในปีหน้าเงินบาทอาจคงตัวหรือแข็งค่าขึ้นอีกตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น จากการเปิดรับนักเที่ยวเข้ามาเกือบเต็มรูปแบบ
สภาพัฒน์
**เป็นเพียงการคาดการณ์ ทั้งปี64
Economic Outlook
GDP คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (2) แรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ (3) การกลับมาขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชน ในประเทศ โดยคาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ 5.8 การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.0 และร้อยละ 5.7 ตามลำดับ อัตราเงิน เฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 – 2.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.3 ของ GDP
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 8,136,114.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.1 ของ GDP ประกอบด้วย เงินกู้ภายในประเทศ 7,997,294.3 ล้านบาท (ร้อยละ 51.2 ของ GDP) และเงินกู้จาก ต่างประเทศ 138,820.3 ล้านบาท (ร้อยละ 0.9 ของ GDP) โดยแบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล 7,054,937.3 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 787,186.9 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 286,376.9 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 7,613.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.7 ร้อยละ 9.7 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 0.1 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ
ฐานะการคลัง: ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 412,504 ล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 27,409 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 340,810 ล้านบาท ท าให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดสุทธิ 99,103 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ของ ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 572,104 ล้านบาท ส่งผลให้ฐานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีจำนวนทั้งสิ้น473,001 ล้านบาท
.
world economic outlook By NESDC
เศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวภายหลังจากการลดลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจในปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดของหลายประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนับตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563ประกอบกับผลจากการดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมทั้งด้านการเงินและการคลังที่มีอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลักอาทิ การประกาศใช้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรโซน และญี่ปุ่น รวมทั้งการพิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่
-เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.0 ในสมมติฐานการประมาณการครั้งก่อน และฟื้นตัวขึ้นจากการลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 11.0ในปี 2563 ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักที่มีสัญญาณการฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ จีน และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าของการอนุมัติและการกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักนับตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจทั้งในด้านการเงินและการคลังของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
.
.
EIC (SCB Economic Outlook)
EIC ปรับเพิ่มประมาณการ GDP ของไทยปี 2021 เป็น 2.6% จากเดิมที่ 2.2% จากแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีกว่าคาด และจากเม็ดเงินภาครัฐที่สนับสนุุนเศรษฐกิจต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศยังมีข้อจำกัดจากรายได้ภาคท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะฟื้นตัวช้าและผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่กระทบต่อรายได้และงบดุลของ SME และภาคครัวเรือน ทั้งนี้การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจสหรัฐ จากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทำให้ตลาดเริ่มมีความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว จนทำให้ตลาดพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ อย่างไรก็ดีEICประเมินความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังควบคุมได้
ทั้งนี้ แม้ตลาดจะคาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ มีแนวโน้มลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินแต่จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนถึงปี2564 โดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นสำคัญ โดยยังคงกรอบนโยบายการเงินแบบยืดยุ่น แต่ยังคงต้องจับตามองอัตราเงินเฟ้อในระดับปานกลางถึงสูงได้เกินคาด จากการเปลี่ยนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี2021
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีในไตรมาส2 เป็นต้นไป แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่แต่ละประเทศว่าประชาชนในประเทศนั้นได้รับวัคซีนมากน้อยเพียงใด โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ดังนี้ 1.การแจกจ่ายวัคซีนเพื่อให้ได้ภูมิคุ้มกันหมู่ จะเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากประเทศที่มีภูมิคุ้มกันหมู่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นและอาจทำให้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น โดย EIC คาดว่าประเทศที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะได้รับภูมิคุ้มกันหมู่ในช่วงไตรมาสที่2-3 ปี2021 ในขณะที่จีน จะมีภูมิคุ้มกันหมู่ 4/2021 ส่วนไทยจะมีในไตรมาส1/2022 ในขณะที่กลุ่ม CLMV จะมีในท้ายปี 2022
2.การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของประเทศเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะสหรัฐจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ก EIC คาดว่าทางสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลต่อเนื่องในปีนี้ โดยสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเป็นประเทศแรกในช่วงต้นปี2022 สำหรับนโยบายการคลังนั้น กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่กว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และยังมีแนวโน้มขยายมาตรการเหล่านี้ต่อไป รวมทั้งออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม เช่นในสหรัฐฯ ที่ล่าสุุดได้มีการเสนอมาตรการกระตุ้นขนาด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
3.เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวและการบริการสููง และมีความเชื่อมั่นในระดับต่ำจะมีอัตราการฟื้นตัวที่ช้ากว่าโดยภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศน่าจะฟื้นตัวได้ช้าที่สุด โดยเฉพาะหลังจากหลายประเทศกลับมาใช้มาตราการควบคุมทเข้มงวด สำหรับการเดินทางในประเทศที่ฟื้นตัวก่อนหน้านี้ก็ปรับชะลอลงเช่นกัน นอกจากนี้ภาคบริการยังคงฟื้นตัวช้ากว่าภาคการผลิต เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองและนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม
จากปัจจัยข้างต้นทำให้ EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ 5.5% โดยการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปี แรกมีแนวโน้มชะลอลงจากการกลับมาระบาดของไวรัส ก่อนที่จะฟื้นตัวได้ดีในครึ่งปีหลังทั้งนี้การฟื้นตัวจะแตกต่างกันตามความเร็วในการฉีดวัคซีน และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากมีมาตรการขนาดใหญ่ออกมาเพิ่มเติม ขณะที่เศรษฐกิจยุุโรปและ ASEAN มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาดเล็กน้อย จากการแจกจ่ายวัคซีนที่ช้ากว่าที่เคยคาดไว้ และมีมาตรการออกมาเพิ่มเติมน้อยกว่า
มาตรการชุุดใหม่ที่คาดว่าจะออกมา จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวร้อนแรง(overheating) เกินไปหรือไม่? (มาตราการการอัดฉีดเม็ดเงินกว่า1.9ล้านล้านดอลล่าสรอ.)
-ในช่วงที่ผ่านมา มีความกังวลว่ามาตรการที่ถูกเสนอโดยรัฐบาลไบเดน อาจมีขนาดใหญ่เกินไปซึ่งอาจส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อและเสถียรภาพการเงินของสหรัฐฯ ได้ โดยนายลอว์เรนส์ ซัมเมอรส์ อดีตรัฐมนตรีกี่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า ขนาดของมาตรการที่ถูกเสนอนั้นใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับ output gap1 ในปัจจุบัน(Output gap หมายถึง ส่วนต่างระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง กับผลผลิตตามศักยภาพ (potential output)ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่อเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและเสถียรภาพทางการเงินของสหรัฐฯ ในระยะต่อไปได้ อีกทั้ง มาตรการขนาด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ(คิดเป็น 9.1% ของ GDP ปี 2020) นี้ยังไม่ครอบคลุุมถึงโครงการโครงสร้างพื้้นฐานและพลังงานสะอาดที่เป็นหัวใจหลักของนโยบายของไบเดน ดังนั้น การใช้เม็ดเงินขนาดใหญ่ไปกับมาตรการนี้้ อาจทำให้แนวโน้มการลงทุุนภาครัฐในระยะต่อไปมีข้อจำกำมากขึ้น นอกจากนี้ นายโอลิเวียร์ บลองชาร์ด์ อดีต Chief economistของ IMF ก็เห็นด้วยกับความกังวลของนายลอว์เรนส์ ซัมเมอรส์ โดยกล่าวว่า หากรวมเม็ดเงินจากมาตรการที่ออกไปก่อนหน้านี้้ (9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.3% ของ GDP ปี 2020) มาตรการชุุดใหม่ที่ถูก เสนอ(1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่คาดว่าจะมีออกมาเพิ่มในระยะต่อไป (คาดว่าอยู่ที่ 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.8% ของ GDP ปี 2020) จะทำให้มี เม็ดเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิสหรัฐฯ ถึงราว 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของ output gap ในสหรัฐฯ2 จึงทำ ให้มี ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจขยายตัวร้อนแรงเกินไปได้
-อย่างไรก็ดีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้ออาจเร่งตัวขึ้นในระยะปานกลางถึงยาวยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง ต่อไป โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้ออาจเร่งตัวเร็วกว่าที่คาดมีดังนี้ 1.สภาพคล่องในระบบที่มีมากเกินไป 2.อุปสงค์คงค้างต่อการบริโภค (Pent-up demand) และปริมาณเงินเก็บส่วนเกินที่เพิ่มสูงขึ้น (Excess savings) 3.การค้าระหว่างประเทศที่ลดลงทำให้อุปทานสินค้าปรับลดลง โดยความสัมพันธ์จีน-สหรัฐยัง ตึงตัว อาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกและอาจเกิดภาวะขาดแครนสินค้าบางประเภท ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าบางตัวปรับตัวสูงขึ้น
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2021
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการท่องเที่ยวและกำลังซื้อของประชาชนที่ยังฟื้นตัวได้ช้าแต่จะได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกและการใช้จ่ายรัฐบาล
-ในส่วนปี 2021 eic คาดการณ์เศรษฐกิจไทยนั้นมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวซึ่งเหตุผลสำคัญนั้นมาจากทางด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนและการได้รับภูมิคุ้มกันหมู่ว่าเร็วแค่ไหนเป็นสำคัญซึ่งจากข้อมูลล่าสุดคาดว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของปี 2021 ในขณะที่ไทยกว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันหมุ่ได้คาดว่าเป็นต้นไตรมาสของปี 2022
-ในส่วนของการส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีกว่าที่คาดทำให้ eic ปรับเพิ่มคาดการณ์มูลค่าการส่งออกปี 2021 เป็น 6.4 จากเดิมที่เคยคาดไว้ 4.0 อย่างไรก็ดีการฟื้นตัวของการส่งออกภายในปีนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง 1 ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าไทยทั้งทางด้านต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาในการจัดหาตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออกที่นานขึ้น 2 ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของเมียนมาร์ นอกจากการกลับมาระบาดของ covid 19 ทั้งในไทยและเมียนมาร์ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยไปเมียนมาร์ 2 สาเหตุหลักๆ 1 อุปสงค์สินค้าจากเมียนมาร์ที่อาจจะซบเซาลงเนื่องจากมีการประท้วงภายในประเทศ 2 การค้าขายชายแดนที่อาจจะหดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถขนส่งสินค้าไปยังเมียนมาร์ได้ทั้งจากการปิดด่านและแรงงานที่ด่านไม่เพียงพอ
การแพร่ระบาดของ covid 19 ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉพาะในฝั่งเอเชียซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2020 จนมาถึงปัจจุบัน
โดยจากข้อมูลล่าสุดพบว่าการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ของแต่ละท่าเรือมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ในส่วนของอัตราค่าระวางเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ freight ที่สูงเป็นประวัติการณ์คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไปอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021
สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่ามาจากเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคและดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเพียงเล็กน้อย
เศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคต่างประเทศค่อนข้างมากทำให้มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าโดยในปีนี้คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวชัดเจนในไตรมาสที่ 4 ตามการฟื้นตัวของกลุ่มนักท่องเที่ยวประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเชียที่จะเริ่มทยอยมีภาวะภูมิคุ้มกันหมู่โดย IC ประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพียง 3.7 ล้านคนในปี 2021 ซึ่งประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูงส่วนใหญ่จะมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ช้ากว่า
- ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลเพียงเล็กน้อยในปีนี้โดยประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 1.9 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลไม่มากนี้จะทำให้แรงกดดันต่อค่าเงินบาทมีไม่มากเช่นกันอย่างไรก็ดีค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพจากทุนสำรองระหว่างประเทศอันดับ 12 ของโลกและอัตราส่วนเงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่อยู่ระดับสูงถึง 4 เท่า
ธปท เผชิญเข้าจำกัดในการดูแลค่าเงินบาทมากขึ้นอาจเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐได้น้อยลงหลังไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สหรัฐจับตาการแทรกแซงค่าเงิน โดยเงื่อนไขสุดท้ายที่ไทยยังไม่เข้าเกณฑ์การแทรกแซงค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐคือปริมาณการแทรกแซงเงินบาทที่ต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ต่อ GDP อย่างไรก็ดีหากพิจารณาปริมาณเงินทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ปรับเพิ่มขึ้นในปี 2020 จะพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ต่อ GDP ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงที่ไทยจะเข้าเกณฑ์ทั้ง 3 ของสหรัฐในรายงานครั้งนี้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในการเข้าดูแลค่าเงินบาทเพื่อให้รอดจากการถูกจับเป็นประเทศที่แทรกแซงค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ไม่มีข้อมูลUpdate
.
k-econ analysis
จากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิดระลอกใหม่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มเติบโตลดลงที่ 1.8% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6%
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ในขณะที่
แม้ว่าจะไม่ได้มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำลง
อย่างไรก็ตาม ประมาณการเศรษฐกิจใหม่ได้รวมปัจจัยบวกจากแนวโน้มการส่งออกที่จะเติบโตดีกว่าที่เคยประเมินไว้จากอานิสงส์ของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด นอกจากนี้ ยังได้รวมถึงปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้าไปแล้ว โดยมีโครงการที่ยังดำเนินอยู่ เช่น โครงการ
เราชนะ และโครงการเรารักกันซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 2564 ขณะที่มีมุมมองว่า ภาครัฐจะมีมาตรการต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศภายใต้วงเงินกู้ 1 ล้านล้าน ซึ่งยังมีวงเงินคงเหลืออยู่ราว 2.4แสนล้านบาท ประกอบกับยังมีเงินจากงบกลาง ภายใต้ พรบ.งบประมาณปี 2564 ที่สามารถนำมาใช้ได้อีกราว 1.3 แสนล้านบาท
-ตัวแปรสำคัญคือการเร่งฉีดวัคซีน ซึ่งหากการฉีดวัคซีนมีความล่าช้า ก็มีความเป็นไปได้ที่การแพร่
ระบาดจะยืดเยื้อหรืออาจเกิดการแพร่ระบาดอีกระลอก โดยหากการแพร่ระบาดยังไม่สามารถควบคุม
ได้หรือเกิดการแพร่ระบาดอีกรอบในช่วงไตรมาส 3/2564 จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของ
นักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกปี หนึ่ง ซึ่งจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเนื่องไปยังการจ้างงานและการบริโภค
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์การจ้างงานในองค์กร โดยผลสำรวจระบุว่าสถานการณ์เลิกจ้างในเดือนมี.ค.64 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 3.4% จาก 7.4% ในเดือนม.ค.63 แต่อัตราการลดเวลาการทำงานล่วงเวลายังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการว่างงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ที่ระบุว่าอัตราการว่างงานปรับลดลงอยู่ที่ 1.5% ในเดือนธ.ค. 63 แต่ความเปราะบางของตลาดแรงงานจะยังคงเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อของครัวเรือนต่อเนื่อง โดยล่าสุดสถานการณ์โควิด -19 ที่เริ่มกลับมาระบาดในช่วงต้นเดือนเม.ย. ที่มีจุดศูนย์กลางระบาดอยู่ในกลางเมืองและแพร่กระจายไปยังจังหวัดอื่น ๆ อาจจะทำให้มีการนำมาตรการควบคุมการระบาดกลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงาน ดังนั้น มาตรการจากภาครัฐจึงยังมีความจำเป็นที่จะเข้ามาช่วย ประคับประคองเศรษฐกิจต่อเนื่อง
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวบรวมข้อมูลสำคัญทางการเงินจากรายงานงบการเงินรวมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทย่อย 9 แห่ง (งบการเงินรวมฯ) ประจำไตรมาสที่ 1/2564 โดยข้อมูลที่ออกมาล่าสุดสะท้อนว่า ธนาคารพาณิชย์และบริษัทย่อยประกาศกำไรสุทธิ 46,071 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.4% QoQ เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่มีกำไรสุทธิ 31,259 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการลดลงของการตั้งสำรองฯ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้จากธุรกิจหลักยังไม่ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังมีแรงกดดันจากการระบาดที่ยืดเยื้อของโควิด 19
สำหรับทิศทางในช่วงที่เหลือของปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ความสามารถและประสิทธิผลของมาตรการสกัดความรุนแรงในการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกสาม และความคืบหน้าของการเร่งฉีดวัคซีน จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่เพียงมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่จะมีนัยต่อเนื่องต่อสถานการณ์ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์และบริษัทย่อย โดยเฉพาะใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ประเด็นคุณภาพสินทรัพย์ 2) อัตราเติบโตของการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ และ 3) กลไก/มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องเร่งปรับ(โครงสร้างหนี้)ให้ตรงจุดเหมาะสม
โดยหากสถานการณ์โควิด 19 รอบสามยืดเยื้อและกินเวลาหลายเดือนจะทำให้การเปิดประเทศทำได้ช้าลง และอาจส่งผลทำให้สถาบันการเงินต้องกับมาแก้ไขปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ในเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กลไกการปล่อยสินเชื่อใหม่ก็อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้นั้น แม้ข้อมูลล่าสุด จะสะท้อนว่า สัดส่วนลูกหนี้เข้ามาตรการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินในภาพรวมจะขยับลงมาที่ประมาณ 15.4% ในเดือนก.พ. 2564 แต่ตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 2/2564 ตามความเสี่ยงของโควิด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กดดันรายรับที่เป็นเม็ดเงินจริงของสถาบันการเงินได้รับในระยะถัดๆ ไป ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงอาจทำให้มีโอกาสเห็นสถานการณ์ที่รายรับจากค่าธรรมเนียมไม่สามารถประคองแรงบวกไว้ได้ดังที่เห็นในไตรมาสแรกของปี
.
.
กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมีนาคม 2564
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มูลค่าการส่งออกของไทยยังอยู่เหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยในเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่24,222.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.47สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
-ดัชนีผู้จัดการ
ฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ปรับตัวสูงสุดในรอบ 10 ปีอยู่ที่ระดับ 55.0 สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคและความต้องการนำเข้าสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย การส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 11.97 สะท้อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
-สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวได้ดีและเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกในเดือนนี้ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ขณะที่สินค้าเกษตรและอาหารที่ยังเติบโตในระดับสูงต่อเนื่อง ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง สำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบโทรศัพท์และอุปกรณ์ และสินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง ยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 24,222.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.47 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การนำเข้า มีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 14.12 ดุลการค้าเกินดุล 710.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2564การส่งออก มีมูลค่า 64,148.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 2.27 การนำเข้า มีมูลค่า 63,632.37 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.37 เกินดุล515.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
-มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนมีนาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 719,050.84 ล้านบาท ขยายตัว
ร้อยละ 4.05 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 708,095.57 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ9.52 ดุลการค้าเกินดุล10,955.27 ล้านบาท ภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 1,907,932.14ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 0.17 การนำเข้า มีมูลค่า 1,920,028.82 ล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 7.17 ขาดดุล12,096.68 ล้านบาท
-การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.5 (YoY) ขยายตัว 4 เดือน
ต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี
-การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 8.5 (YoY) กลับมาขยายตัวในรอบ 2 เดือน สินค้า
ที่ขยายตัวดีได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 43.1 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในหลายตลาด อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐฯ ฯลฯ)
-ตลาดจีน ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ร้อยละ 35.4 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง ยางพารา เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ขณะที่ ไตรมาสแรกของปี 2564ขยายตัวร้อยละ 20.6
ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ร้อยละ 7.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางเหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ ไตรมาสแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 12.5
ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ร้อยละ 4.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบยางพารา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และทองแดง เป็นต้น ขณะที่ ไตรมาสแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.2
ตลาดสหภาพยุโรป ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ร้อยละ 32.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และ เครื่องปรับอากาศเป็นต้น ขณะที่ ไตรมาสแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 8.5
ตลาดอาเซียน หดตัวร้อยละ 2.4 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและเครื่องยนต์สันดาป เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ ไตรมาสแรกของปี 2564 หดตัวร้อยละ 10.2 -สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2564
ได้มีแผนเร่งรัดการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะข้าวที่มีการกำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปี 2564 ตั้งเป้าไว้ที่ 6 ล้านตัน มุ่งเน้นตลาดสำคัญ 3 ตลาด คือ ตลาดพรีเมียม ตลาดทั่วไป และตลาดเฉพาะ พร้อมเพิ่มการใช้ประโยชน์จาก FTA และ MOU ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการส่งออก รวมทั้งให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศประสานงานกับผู้ส่งออก-นำเข้า สร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีให้ข้าวไทย และเตรียมจัดงานTHAIFEX-ANUGA ASIA 2021 เพื่อโปรโมตสินค้าอาหารของไทยในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีแผนในการเปิดตลาดใหม่ โดยขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศปานามา เพื่อใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา เม็กซิโก อเมริกากลางและอเมริกาใต้ตอนบนอีกด้วย
World Investment Report
ไม่มีข้อมูล
ข้อมูลอ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย, สภาพัฒน์ , EIC , k-econ analysis, FPO ,กระทรวงพาณิชย์
โฆษณา