6 พ.ค. 2021 เวลา 06:23 • สุขภาพ
172 ปี “ไฟเซอร์” จากร้านยาเล็กๆในนิวยอร์ค สู่ อาณาจักรยายักษ์ใหญ่ระดับโลก
2
ชื่อของ “ไฟเซอร์” (Pfizer) เป็นที่คุ้นหูของพวกเรามากขึ้นในระยะประมาณ 1 ปีที่ผ่านมานี้ในฐานะผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพสูง โดยบริษัทไฟเซอร์ อิงค์และไบโอเอ็นเทคที่ร่วมกันผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้เปิดเผยผลการทดสอบวัคซีนป้องกันการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้สูงกว่า 95% สหรัฐฯและหลายประเทศในยุโรปใช้วัคซีนตัวนี้ฉีดให้กับประชากรในประเทศเป็นหลัก
3
การผลิตวัคซีนที่ได้ผลทำให้ผลประกอบการของไฟเซอร์ อิงค์ในไตรมาสแรกของปี 2564 พุ่งสูงขึ้นโดยมีรายได้มากถึง 1.46 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยจำนวนนี้เป็นรายได้จากการจำหน่ายวัคซีนโควิด-19 ถึง 3.5 พ้นล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24% ของรายได้ทั้งหมด
วัคซีนโควิด-19ไฟเซอร์ อิงค์และไบโอเอ็นเทค ภาพจากhttps://mgronline.com/around/detail/9640000031349
บริษัทไฟเซอร์เป็นมากกว่าบริษัทยา แต่เป็นอาณาจักรยาและเวชภัณฑ์ขนาดใหญ่ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐฯ มีสาขาครอบคลุมการให้บริการ6 ทวีปทั่วโลก มีพนักงานรวม 78,500 คน ในจำนวนนั้นมีพนักงานประมาณ 30,000 คนที่ทำงานอยู่ในสหรัฐฯ มีศูนย์วิจัยพัฒนา (R&D) ทั้งหมด 10 แห่ง ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทมากถึง 2.2 แสนล้านดอลลาร์ มีสินทรัพย์รวมกว่า 167.4 ล้านดอลาร์ และได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 100 บริษัทในดัชนี S&P Index 100 ของการจัดอันดับจากเครดิตเรตติ้ง Standard & Poor (S&P)
2
สำนักงานใหญ่ไฟเซอร์ในมหานครนิวยอร์ค สหรัฐฯ
ไฟเซอร์เป็นผู้ผลิตยาที่สำคัญและมีบทบาทสำคัญในการผลิตยาสำคัญๆในหลายช่วงของประวัติศาสตร์โลก มียาซึ่งเป็นที่รู้จักหลายตัว เช่น ยาลิปิเตอร์ (อะโทวาสแตติน) ยาต้านเชื้อรา ไดฟลูแคน (ฟลูโคนาโซน-fluconazole) ยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์นาน ไซโทรแมกซ์ (อะซิโทรมัยซิน-azithromycin) ยารักษาโรคสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction) ยา “ไวอากร้า” และยาบรรเทาปวด ซีลีเบรกซ์ รวมทั้งยา เพนนิสซีลิน เป็นต้น
2
นิตยสารฟอร์จูนได้เคยขนานนามให้ไฟเซอร์เป็นบริษัทยาที่น่าชื่นชมที่สุดของโลกติดกันเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันในปี 2540 – 2541
1
ความสำเร็จและอาณาจักใหญ่ระดับโลกของไฟเซอร์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากความสำเร็จในระยะสั้นหากแต่เกิดจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์อันยาวกว่า 172 ปี นับจากการก่อตั้งบริษัทในในปี พ.ศ.2392
2
ในปี ค.ศ.1842 (พ.ศ.2392) ชาร์ล ไฟเซอร์และชาร์ล เออคาด ทั้งสองคนเป็นลูกพี่ลูกน้องกันได้ไปขอหยิบยืมเงินจากคุณพ่อของชาล์ ไฟเซอร์ มา 2,500 ดอลลาร์ เพื่อมาก่อตั้งธุรกิจ ทั้งสองคนเช่าอาคารอิฐสีแดงหลังหนึ่งตั้งเป็นออฟฟิศแห่งแรกเปิดร้านขายยา
2 ผู้ก่อตั้งบริษัทไฟเซอร์ ภาพจาก https://www.pfizer.co.th/
ขณะนั้นในสหรัฐฯเกิดโรคระบาดพยาธิลำไส้ขึ้น ทั้งสองคนได้ร่วมกันคิดค้นยาขึ้นโดยผสมผสานความเชี่ยวชาญระหว่างความเป็นนักเคมีของไฟเซอร์และความรู้เรื่องตลาดลูกกวาดของเออคาด ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวแรกจากห้องทดลองวิทยาศาสตร์ในร้านขายยาของไฟเซอร์คอมพานีก็วางตลาด ในชื่อ “ซานโทนินเคลือบน้ำตาล”
เป็นยารักษาโรคระบาดพยาธิลำไส้ที่ทานง่ายมีรสชาติกลมกล่อม โดยมีส่วนผสมของอัลมอนด์ ทอฟฟี่ และออกแบบให้มีรูปร่างคล้ายลูกกวาด เมื่อวางในท้องตลาดไม่นานก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
1
ความสำเร็จในขั้นแรกทำให้ไฟเซอร์แอนด์คอมพานีเริ่มก้าวสู่ธุรกิจเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์อย่างเต็มตัว ในปี พ.ศ. 2405 ได้เริ่มทำการผลิตกรดปูนและทาทาร์ครีม ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารและเคมี
2
ออฟฟิศแห่งแรกของบริษัทไฟเซอร์ในนิวยอร์ค ภาพจาก https://www.pfizer.co.th/
ในปี พ.ศ. 2471 อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง นักชีววิทยาชาวสกอตแลนด์ ได้ค้นพบคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคจากเชื้อราเพนนิสซีลิน ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ทางการแพทย์และอนาคตของไฟเซอร์ด้วยเช่นกัน การค้นพบตัวยาฆ่าเชื้อโรคที่เรียกว่า “เพนนิสซีลิน” นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้อีกนับล้านที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ
1
สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2484 – 2488 การสู้รบที่ยาวนานมีคนบาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการยาเพนนิสซีลินมีเป็นจำนวนมาก
ความต้องการยาชนิดนี้ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูซเวลท์ของสหรัฐอเมริกาได้ออกคำสั่งให้บริษัทยารวมทั้งไฟเซอร์เร่งผลิตยาเพนนิสซิลิน
โดยกำหนดให้การผลิตยาชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของประเทศ ซึ่งไฟเซอร์ได้เร่งกำลังการผลิตขึ้นจนในปี พ.ศ. 2485 ไฟเซอร์ได้กลายเป็นบริษัทแรกที่สามารถผลิตยาชนิดนี้ได้เป็นจำนวนมาก
อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง นักชีววิทยาชาวสกอตแลนด์ ผู้ค้าพบค้นพบคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคจากเชื้อราเพนนิสซีลิน ภาพจาก variety.teenee.com
บริษัทไฟเซอร์ได้กลายเป็นผลิตวิตามินรายใหญ่ของโลก โดยสร้างโรงงานใหม่ขึ้นเพื่อผลิตวิตามิน ในปีพ.ศ. 2481 ไฟเซอร์ได้ทำการผลิตวิตามินบี 2 หรือไรโบเฟลวิน และท้ายที่สุดได้คิดค้นการผลิตวิตามินรวม ซึ่งผนวกคุณสมบัติของไรโบฟลาวิน ไธอามิน ไนอาซินและธาตุเหล็กเข้าด้วยกันซึ่งเป็นยาที่ได้รับความนิยมมาก
จากการวิตามินบี 2 ไฟเซอร์ได้ขยายฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องซึ่งรวมถึงวิตามินเอด้วย จนกระทั่งช่วงประมาณปีพ.ศ. 2490 ไฟเซอร์ได้กลายเป็นผู้นำการผลิตวิตามินรายใหญ่ของโลกอย่างแท้จริง
1
ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ไฟเซฮร์มีการขยายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศนอกสหรัฐฯ อาทิ เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา คิวบา อังกฤษ เม็กซิโก ปานามาและปัวร์โต ริโก้ ปี พ.ศ. 2498 ไฟเซอร์เปิดโรงงานในอังกฤษ ซึ่งเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาที่สำคัญมากต่อการผลิตยาของไฟเซฮร์ในสหราชอาณาจักร
1
ต่อมาในปี พ.ศ. 2510ไฟเซอร์ได้วางจำหน่ายยาฆ่าสารพัดเชื้อที่มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งยาดังกล่าวได้กลายเป็นยาที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุด อีก 5 ปีต่อมาไฟเซอร์ขยายฐานการผลิตยามายังเอเชีย โดยมีการสร้างห้องทดลองจุลชีววิทยาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นสำหรับการทำวิจัย
1
พ.ศ. 2519 เป็นปีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาฉลองครบรอบ 200 ปีแห่งการก่อตั้งประเทศ ไฟเซอร์ในขณะเดียวกันก็ได้ฉลองครบรอบ 125 ปีและได้ออกวางจำหน่ายยาระงับความดันโลหิตสูงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการตอบรับดีจากตลาด อีกไม่กี่ปีต่อมา ไฟเซอร์วางจำหน่ายยารักษาโรคเบาหวาน ยาฆ่าเชื้อแบบฉีด ยารักษาอาการลำคออักเสบและความดันโลหิตสูง ซึ่งใช้หนึ่งครั้งต่อวันเท่านั้น
ในปี พ.ศ.2542 ไฟเซอร์ฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งการเป็นบริษัทยาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นิตยสารฟอร์บส์ได้ขนานนามไฟเซอร์ให้เป็น “สุดยอดบริษัทแห่งปี” จากผลงานความสำเร็จทางด้านการคิดค้นและผลิตตัวยาใหม่ๆอย่างไม่หยุดยั้ง
2
ไฟเซอร์ได้ผลักดันประสิทธิภาพในการคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ ด้วยการเปิดศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการคิดค้นยาขึ้นในตำบลเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเส็ท ซึ่งมีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนามูลค่ากว่า 4,000 ล้านดอลลาร์หรือ (ประมาณ 140,000 ล้านบาท)
ในปีหลังๆการวิจัยและพัฒนาของไฟเซอร์ขยายวงกว้างไปยังเวชภัณฑ์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมตัวใหม่ที่สามารถป้องกันสภาวะทุพลภาพ เสริมสร้างเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพและยับยั้งโรคเสื่อมตามอวัยวะต่าง ๆ
2
โดยให้กำเนิดบริษัทวิจัยทางชีวเวชศาสตร์อีก 2 แห่งคือ สถาบันวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์เพื่อการบำบัด ซึ่งมุ่งเน้นเกี่ยวกับการคิดค้นโมเลกุลขนาดเล็กและวิธีบำบัดที่เกี่ยวข้อง และ สถาบันวิจัยและพัฒนาชีวบำบัด ซึ่งเน้นการวิจัยเกี่ยวกับโมเลกุลขนาดใหญ่ รวมถึงวัคซีน
2
ในปี พ.ศ. 2553 ไฟเซอร์ได้สร้างศูนย์การวิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ขึ้นคือ “ศูนย์วิจัยพัฒนาระหว่างประเทศไฟเซอร์” ซึ่งครอบคลุมการวิจัยและพัฒนาโมเลกุลขนาดเล็ก โมเลกุลขนาดใหญ่และวัคซีน จึงไม่แปลกใจว่าความสำเร็จในเรื่องวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาและวิจัยที่ผ่านมาด้วย
2
ศูนย์วิจัยพัฒนาระหว่างประเทศไฟเซอร์ ที่มาภาพhttps://www.pmainc.com/projects/view/2278
ตลอดเวลาการเดินทางที่ยาวนานกว่า 172 ปีของไฟเซอร์นอกจากการผลิตยา และวัคซีนสำคัญๆที่เป็นคุณูปการ และประโยชน์ต่อโลกอย่างมากมาย รวมทั้งมีโครงการช่วยเหลือผู้ยากจนในหลายประเทศโดยร่วมกับองค์การสหประชาชาติ ในโครงการโกลบอล คอมแพคของสหประชาชาติ
เส้นทางของไฟเซอร์ที่ยังเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งคือบทพิสูจน์ในสิ่งที่ ชาร์ล ไฟเซอร์ ผู้ก่อตั้งที่ได้กล่าวไว้เมื่อปีพ.ศ.2442 ว่า
“จุดมุ่งหมายของเรา (ไฟเซอร์)ยังคงเหมือนเดิม นั่นก็คือ ความมุ่งมั่นในการสรรหาวิธีการผลิตให้ได้สินค้าคุณภาพดีที่สุด รวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า บริษัทของเราอยู่ได้เพราะชื่อเสียงและการยึดติดในมาตรฐานดังกล่าว สิ่งที่เราระลึกอยู่เสมอคือเรื่องของ ‘คุณภาพ’ นั่นเอง"
2
โฆษณา