7 พ.ค. 2021 เวลา 10:00 • การศึกษา
>แจกแพลนเนอร์ ติดตาม Productivity ของเราด้วยเทคนิค 25 นาที
หากสัปดาห์นี้ไม่ productive เตรียมเครื่องมือที่เราแนะนำเริ่มใหม่จันทร์หน้า
วันนี้ SHiFT Your Future ได้นำเอาแพลนเนอร์รายวัน ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเทคนิคการทำงานแบบ 25 นาทีมาฝากกัน การมีแพลนเนอร์ดีๆ ไว้เป็นผู้ช่วยในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตารางในการทำงานในแต่ละวันนั้นจะช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบงานได้ รู้ว่าควรทำอะไรก่อน และรู้ว่าเวลาในแต่ละวันเสียไปกับอะไร
ให้แพลนเนอรเ์ป็นผู้ช่วยทุ่นแรงในการจัดระเบียบงานให้คุณ และเอาเวลาและสมองไปโฟกัสกับเรื่องสำคัญๆ ในการทำงานดีกว่า รับรองว่าแพลนเนอร์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคุณได้อีกมากเลยล่ะ อย่ารอช้ากดเซฟรูปไปใช้กันได้เลย
หากสัปดาห์นี้ไม่ productive เตรียมเครื่องมือที่เราแนะนำเริ่มใหม่จันทร์หน้า
คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://shiftyourfuture.com/pomodoro-productivity-planner-template/
#SHiFT #SHiFYourFuture #ProductivityTips #DailyPlanner #Pomodoro
เทคนิคการทำงานแบบ Pomodoro หรือเทคนิคหั่นเวลาการทำงานทุก 25 นาทีนั้นเป็นหนึ่ง หนึ่งในเทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพและความโปรดักทีฟในการทำงานที่เป็นที่นิยมทั่วโลก วิธีใช้งานเทคนิคนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรนัก เพียงแค่แบ่งเวลาการทำงานเป็นครั้งละ 25 นาที โดยต้องทำงานอย่างจดจ่อ มีสมาธิ และตัดสิ่งรบกวนออกให้หมด เมื่อครบแล้วจะสามารถพักได้ 5-10 นาที วนทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ควรเกิน 10 เซสชันต่อวัน
1
เทคนิคนี้จะช่วยจำกัดเวลาการทำงานอย่างต่อเนื่องให้เหลือแค่รอบละ 25 นาที แทรกด้วยการพักที่ทำให้สมองเราได้ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดจนเกินไป จึงทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพกว่าการทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนานโดยไม่พักเลย ครั้งที่แล้ว SHiFT Your Future ได้แนะนำเกี่ยวกับการทำงานแบบ Pomodoro อย่างละเอียดไปแล้ว ตามอ่านได้ที่: https://bit.ly/3gW9YBG
และวันนี้ SHiFT Your Future ได้นำเอาแพลนเนอร์รายวัน ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับเทคนิคการทำงานแบบ 25 นาทีมาฝากกัน การมีแพลนเนอร์ดีๆ ไว้เป็นผู้ช่วยในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตารางในการทำงานในแต่ละวันนั้นจะช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบงานได้ รู้ว่าควรทำอะไรก่อน และรู้ว่าเวลาในแต่ละวันเสียไปกับอะไร ให้แพลนเนอรเ์ป็นผู้ช่วยทุ่นแรงในการจัดระเบียบงานให้คุณ และเอาเวลาและสมองไปโฟกัสกับเรื่องสำคัญๆ ในการทำงานดีกว่า รับรองว่าแพลนเนอร์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของได้อีกมากเลยล่ะ อย่ารอช้ากดเซฟรูปไปใช้กันได้เลย จากนั้นเลื่อนไปดูรูปถัดไปเพื่อเรียนรู้วิธีใช้กัน
ขั้นตอนการใช้งานแพลนเนอร์
1. เลือกงานที่สำคัญที่สุดของวันนั้นมา และเขียนใส่ลงในช่อง ‘งานหลักของวันนี้’ ขั้นตอนการเลือกงานที่สำคัญที่สุดนั้นให้เลือกจากงานที่มีเดทไลน์ใกล้ที่สุด หรืองานที่ถ้าวันนี้ทำเสร็จแล้วจะรู้สึกโล่งใจ และรู้สึกดีกับตัวเอง
2. กำหนดเวลาในการทำงานว่างานนั้นๆ จะใช้เวลาการทำงานทั้งหมดกี่เซสชัน หนึ่งเซสชันมี 25 นาที ถ้าหากเราคิดว่าทำงานนั้นน่าจะใช้เวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมงกว่า เท่ากับ 3 เซสชัน ก็ให้ทำการใส่เลข 3 ในวงกลมแรกที่ใหญ่ที่สุด
3. จากนั้นลงมาลิสต์งานอื่นๆ ที่อยากทำให้เสร็จในวันนี้ในช่อง ‘งานอื่นๆ’
4. ประเมินเวลาที่ควรจะใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง หารด้วย 25 นาที แล้วจึงใส่ตัวเลขในวงกลมแรกของงานแต่ละงานตามที่คิดออกมาได้
5. เราขอแนะนำให้รู้จักกับช่องที่ดีต่อใจสุด ๆ ก่อน ช่องวงกลมขนาดใหญ่ด้านล่างนี้มีไว้สำหรับกากบาททุกครั้งที่ทำงานเสร็จหนึ่งงาน เชื่อเถอะว่าทุกครั้งที่ได้กากบาทในช่องนี้คุณจะใจฟูมาก เพราะเท่ากับว่าทำงานได้ใกล้สำเร็จตามเป้าหมายของวันไปอีกงาน เราจึงขอยกให้ช่องนี้เป็นช่องที่ดีต่อใจที่สุดในแพลนเนอร์นี้เลย หมดวันแล้วอย่าลืมมาประเมินตัวเองด้วยว่า เรากากบาทไปกี่ช่อง ทำเสร็จไปกี่งาน ครบตามที่ตั้งเป้ามั้ย เพื่อที่เราจะได้เห็นทั้งศักยภาพของเราว่าวันหนึ่งสามารถทำงานได้มากแค่ไหนและนำไปปรับแผนการทำงานต่อไปได้
6. และอย่าลืมว่า ช่องที่เป็นเซสชันย่อยก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันทำให้เรารู้ว่าเราใช้เวลากับงานงานหนึ่งเท่าไร นานเท่าที่คาดไว้มั้ย ตลอดทั้งวัน ทุกครั้งที่ทำงานเสร็จหนึ่งเซสชัน ให้กากบาทบริเวณช่องวงกลมของงานนั้น ๆ พยายามบันทึกทันทีที่ทำเสร็จหนึ่งอัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
7. หากในระหว่างวัน ได้รับแจ้งเตือนให้ทำงานอื่น ๆ เพิ่มเติม หรือที่เราเรียกว่างานแทรก ให้จดไว้ที่ช่อง ‘งานเพิ่มเติมระหว่างวัน’ การคอยสังเกตว่าตัวเราเองมีงานแทรกเยอะแค่ไหน งานส่วนมากเป็นงานอะไร จะช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบและพัฒนาระบบการทำงานได้ ก่อนหน้านี้เวลามีงานแทรกมา เราก็มักจะทิ้งงานหลักไปทำให้เสร็จ เสร็จแล้วก็ผ่านไปไม่ได้บันทึกไว้ ทำให้เราอาจไม่รู้ตัวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำงานตามที่ตั้งเป้าไว้ไม่สำเร็จเป็นเพราะงานแทรกระหว่างวันที่มากเกินไป การบันทึกไว้จะทำให้เราเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด หากพบว่ามีงานแทรกเยอะเกินไปทำให้กระทบงานหลักก็ควรพูดคุยกับทีมเพื่อแก้ปัญหา
1
8. พร้อมทั้งอย่าลืมใส่เวลาที่ต้องทำเป็นเซสชันในรูปแบบเดียวกับงานหลักและงานอื่น ๆ เช่น ระหว่างวันหัวหน้าโทรมาบอกให้นัดประชุมกับฝ่ายขาย ซึ่งคุณต้องทำนัดผ่าน Google Calendar ใช้เวลา 25 นาที เท่ากับ 1 เซสชัน ก็ให้กรอกเลข 1 และกากบาทในช่องเมื่อทำเสร็จแต่ละเซสชัน ควรจดไว้ทุกงานเพื่อให้ติดตามงานตลอดวันได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
9. จากนั้นในช่อง ‘สิ่งที่ควรปรับปรุง’ ให้กรอกวิธีแก้ของสิ่งที่เราคิดว่ายังไม่ดีพอ หรือสิ่งที่ลดประสิทธิภาพการทำงานของเราลงไป เช่น วันนี้คุณไม่ได้ปิดแจ้งเตือนโทรศัพท์ ทำให้ถูกรบกวนสมาธิบ่อยครั้ง สิ่งที่ควรปรับปรุงจึงเป็นการปิดแจ้งเตือนเพื่อลดสิ่งรบกวน เป็นต้น
โฆษณา