9 พ.ค. 2021 เวลา 03:30 • ไลฟ์สไตล์
Social Media Detox ห่างจากโซเชียลสักพัก เพื่อโฟกัสความสุขให้ชัดขึ้น
1
เรารู้กันดีว่า โซเชียลมีเดียมีประโยชน์หลายด้าน แต่ในอีกด้านหนึ่ง โซเชียลมีเดียก็ทำให้เกิดผลกระทบแง่ลบ ทั้งด้านร่างกาย เช่น อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือดวงตา จากการจดจ่อกับหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ๆ
17
ยิ่งไปกว่านั้น มันยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจอย่างมาก โดยเฉพาะการทำให้ผู้ใช้เกิด “การเปรียบเทียบ” กับบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้านั่นเอง
13
โดย Harvard Business School ได้มีการศึกษาถึง
AI (Artificial Intelligence) และอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดีย
พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะ ทำตามคำแนะนำจากอัลกอริทึม มากกว่ามนุษย์ด้วยกันเอง
1
เนื่องจากอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดีย จะเรียนรู้ว่าเราชอบอะไร
จากนั้นก็จะแสดงผลในสิ่งที่มันคิดว่า ตรงและมีแนวโน้มว่าจะตรงกับความชอบของเรา
1
ซึ่งเมื่ออัลกอริทึมควบคุมสิ่งที่คุณอ่าน หรือสิ่งที่คุณไถเจอในหน้าฟีด
นั่นเท่ากับว่าอัลกอริทึม มีความสามารถในการ “ควบคุมความคิดของคุณ” ได้
13
นอกจากนั้น ยังมีการยืนยันจากหลายองค์กรว่า โซเชียลมีเดียคือตัวแปรหลัก ที่ทำให้สถิติการฆ่าตัวตาย ในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นทั่วโลก หลังจากปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา
2
จากความน่ากลัวของโซเชียลมีเดียที่กล่าวมา
ปัจจุบัน จึงเริ่มมีหลายคนหันมาให้ความสนใจกับ “Social Media Detox”
2
ซึ่งเป็นวิธีการบำบัด การเสพติดโซเชียลที่มากเกินไป ให้เข้าสู่ภาวะสมดุล ลดความเครียด ส่งเสริมให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และอยู่ในโลกของความเป็นจริงมากขึ้น
1
แล้วถ้าสนใจอยากลองทำ Social Media Detox นี้ จะมีวิธีการอย่างไร ? ลงทุนเกิร์ลจะอธิบายให้ฟังค่ะ
2
การดีท็อกซ์ คือการเอาสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้น โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ (Social Media Detox) จึงเป็นการบำบัดอาการเสพติดโซเชียลมีเดีย ที่มากเกินไปจนก่อให้เกิดความทุกข์
4
หรือพูดง่าย ๆ คือการพาตัวเองออกห่างจากสมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง
ซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเพศไหน หรืออายุเท่าไร
ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค Socialism หรือโรคติดโซเชียล “ขั้นโคม่า” กันทั้งนั้น
1
ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำเลยคือ เช็กอาการของตัวเอง ว่าเข้าข่ายสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
1
1) รู้สึกเครียด จิตตก กับการเสพข้อมูลข่าวสาร หรือคอมเมนต์ต่าง ๆ ที่มากเกินไป
4
2) รู้สึกกระหาย อยากได้รับการยอมรับจากโลกออนไลน์ เช่น ยอดไลก์ คอมเมนต์ หรือยอดแชร์
4
3) รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด เมื่อไม่ได้เล่นโซเชียล หรือเล่นโซเชียลมีเดียหนักเกินไป ติดต่อกันหลายชั่วโมง
2
4) เล่นโซเชียลมีเดียแล้วไม่มีความสุข รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองลดลง และเริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นในโซเชียล
4
เมื่อเช็กอาการเบื้องต้น แล้วพบว่าเข้าเกณฑ์ที่กล่าวมา
ลำดับถัดไปคือ การยอมรับตัวเองว่า เรามีอาการเสพติดโซเชียลจริง ๆ และทุกอย่างสามารถแก้ไขได้
เมื่อยอมรับตัวเองแล้ว หลังจากนั้นคือการริเริ่มวางแผนการทำโซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ อย่างเป็นระบบ
เริ่มจากการค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมการใช้โซเชียล จากเดิมที่ไม่ได้จำกัดเวลาการใช้งาน ก็ควรเริ่มจำกัดเวลาการใช้งานให้มากขึ้นทีละนิด เช่น
ในสัปดาห์แรก งดการเล่นโซเชียลหลังจากตื่นนอนและก่อนเข้านอน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
1
พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 ก็ให้เพิ่มระยะเวลาการงดเล่นโซเชียลให้มากขึ้น โดยงดการเล่นโซเชียล หลังจากตื่นนอนและก่อนเข้านอน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
1
พอเข้าสัปดาห์ที่ 3 ก็เพิ่มระยะเวลาการงดเล่นโซเชียล โดยงดการเล่นโซเชียล หลังจากตื่นนอนและก่อนเข้านอน เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
6
หลังจากเข้าสัปดาห์ที่ 4 เมื่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลของเราลดลง เราอาจตัดสินใจลบบางแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็นทิ้ง เพื่อให้เรามีเวลาไปใช้ชีวิตมากขึ้น
1
ทั้งนี้ วิธีการลดพฤติกรรมการใช้โซเชียลนั้น สามารถทำได้หลากหลาย
บางคนอาจใช้วิธีหักดิบ ลบแอปพลิเคชันทิ้งไปเลย
หรืออาจจะทดลองปิดระบบการแจ้งเตือน เพื่อไม่ให้เราต้องคอยกังวลจนต้องกดเข้าไปดูว่ามีอะไรเกิดขึ้น
1
อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาด้วยว่าแอปพลิเคชันนั้น ๆ
ยังคงต้องใช้ในการติดต่อสื่อสาร หรือการทำงานหรือไม่
1
ที่สำคัญคือ ระยะเวลาของการงดเล่นโซเชียลที่เพิ่มขึ้น จะต้องมีกิจกรรมมาทดแทน
เช่น การออกกำลังกาย การวิ่งจ็อกกิง เล่นโยคะ นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ เขียนไดอารี ดูหนัง ดูซีรีส์ หรือฟังเพลง เพื่อให้จิตใจไม่กลับไปนึกถึงโซเชียลมีเดียอีก
1
สุดท้ายนี้ลงทุนเกิร์ลอยากฝากเอาไว้ว่า โซเชียลมีเดียมีประโยชน์มากมายกับเราก็จริง แต่เราต้องใช้อย่างระมัดระวัง มีสติ และอย่าให้โซเชียลมีเดียมีอำนาจควบคุมเหนือเรา
1
เพราะมิเช่นนั้นแล้ว โซเชียลมีเดียอาจพรากทั้งเวลา ความสัมพันธ์ รวมถึงความสุข ที่พอเรารู้สึกตัวอีกทีก็สายไปเสียแล้ว..
4
โฆษณา