Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
8 พ.ค. 2021 เวลา 03:08 • สิ่งแวดล้อม
Sawfish หรือ “ปลาฉนาก” (ในชื่อเรียกภาษาไทย) เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ยั่งยืนยงมานานนับตั้งแต่ยุคครีเตเชียส ที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิตอยู่
จุดเด่นที่สังเกตุได้ง่ายและรู้ได้ทันทีว่าเป็นปลาอะไร มาจากลักษณะทางกายภาพส่วนหน้าที่มีอวัยวะยื่นยาวออกมาคล้ายกระบองแข็ง รอบๆ ส่วนที่ยื่นออกมานั้นจะมีซี่แหลมเล็กจัดวางอยู่รอบๆ แลดูละม้ายคล้ายกับ “ใบเลื่อย”
สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ถูกจัดกลุ่มอยู่กับพวกปลากระเบน อาศัยอยู่ในมหาสมุทรทั่วโลก
ปลาฉนากถือเป็นหนึ่งในสัตว์ผู้ล่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ที่คอยควบคุมประชากรสัตว์น้ำ ไม่ต่างจากฉลาม
ในยุคสมัยหนึ่งเราสามารถพบปลาฉนากได้ตามแนวชายฝั่งของ 90 ประเทศ
แต่จากการศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน กลับพบเรื่องเศร้าว่าพวกมันหายไปจากพื้นที่ชายฝั่งกว่า 50 ประเทศที่เคยมีอยู่ - สันนิษฐานว่าอาจสูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่เหล่านั้นเป็นที่เรียบร้อย
ชายฝั่งทะเลประเทศจีน อิรัก เฮติ ญี่ปุ่น ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไต้หวัน จิบูตี และบรูไน ไม่พบปลาชนิดนี้อีกแล้ว
เดิมทีนักชีววิทยาทางทะเลค้นพบว่า ปลาฉนากมีอยู่ด้วยกัน 5 สายพันธุ์ แต่สถานะในปัจจุบันพบว่ามี 3 สายพันธุ์ตกอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ส่วนอีก 2 สายพันธุ์มีชะตากรรมที่ไม่เร็วก็ช้าจะเดินทางไปสู่สถานะวิกฤตได้เช่นกัน
ความตายของปลาฉนากบนโลกนี้ถือเป็นเรื่องเศร้า และมีมนุษย์อย่างพวกเราเป็นจำเลยอย่างไร้ข้อโต้แย้ง
ในอดีต เราล่าปลาฉนากเพราะต้องการร่างกายส่วนที่ดูคล้ายใบเลื่อยของพวกมันมาใช้ต่างอาวุธ บ้างก็นำมาทำเป็นเครื่องประดับ
ไปจนถึงความเชื่อที่ว่า หากนำเอาใบเลื่อยของฉนากมาแขวนไว้ที่หน้าประตูบ้าน จะช่วยขับไล่ภูติผีปีศาจออกไปให้พ้นภัย
ในกรณีที่ปลาฉนากสูญเสียอวัยวะส่วนที่อัตลักษณ์ไปแล้ว พวกมันยังสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เพียงแต่อาจอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ เพราะสูญเสียส่วนที่ใช้ต่อสู้ป้องกันภัยให้ตัวเอง
โดยศัตรูทางธรรมชาติของปลาฉนากได้แก่ ฉลาม และจระเข้
ปัจจุบัน แม้ในเรื่องความเชื่อ และการใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวจะไม่ค่อยพบเห็นแล้ว แต่ปลาฉนากก็ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามชนิดใหม่ๆ อยู่ตลอด
การจับปลาอย่างไม่ยั่งยืน และการใช้อวนเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ปลาฉนากต้องจบชีวิตก่อนวันอันควร
ขณะที่บางประเทศและบางวัฒนธรรมยังคงล่าปลาชนิดนี้ เพื่อเอาครีบไปทำซุบ ไม่ต่างอะไรกับฉลาม
เช่นเดียวกับความเชื่อทางการแพทย์แผนจีน ที่บันทึกไว้ว่าน้ำมันจากปลาฉนากมีคุณสมบัติในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ อาทิ โรคระบบทางเดินหายใจ ปัญหาสายตา โรคไขข้อ อาการอักเสบ หิด แผลที่ผิวหนัง ท้องร่วง และปัญหาในกระเพาะอาหาร - แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาตร์ถึงคุณสมบัติเหล่านี้ก็ตาม
เหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนผลักดันในปลาฉนากต้องเผชิญสถานะที่พวกมันไม่อยากพาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น
อย่างไรก็ตาม ในความมืดมนของสิ่งมีชีวิตที่ยังพอมีความหวังที่พอส่องแสงสว่างอยู่บ้าง
มาตรการของประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ดูเหมือนจะพอสร้างฐานที่มั่นสุดท้ายของเผ่าพันธุ์ไว้ได้สำเร็จ
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากประเทศอย่างคิวบา แทนซาเนีย โคลอมเบีย มาดากัสการ์ ปานามา บราซิล เม็กซิโก และศรีลังกา เพิ่มระดับความสำคัญของปลาชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น ก็จะสามารถต่ออายุของปลาฉนากให้รอดพ้นการสูญพันธุ์ไปได้อีกระยะใหญ่
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความคาดหวังอาจไม่เป็นผลเลย หากไม่ลงมือทำในทันที
อ้างอิง
BBC :
https://bbc.in/3o9B4qJ
Australia Government :
https://bit.ly/3y6bVSi
Florida Museum :
https://bit.ly/2SvnGBb
Photo : Florida Fish and Wildlife Conservation Commission
บันทึก
1
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย