Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Serious Money การเงินและประกันชีวิต chubblife
•
ติดตาม
8 พ.ค. 2021 เวลา 11:34 • การศึกษา
•• #พินัยกรรมจำเป็นไหม❓
พินัยกรรมใครควรทำและทำเมื่อไร❓
>> จริงๆ แล้ว พินัยกรรมเหมาะกับทุกคนที่มีทรัพย์สินที่ต้องการส่งมอบให้กับคนที่รักและห่วงใย เมื่อต้องจากไป ทรัพย์สินจะมากจะน้อยไม่สำคัญ และการทำพินัยกรรมก็สามารถทำได้ทุกเมื่อและแก้ไขได้ตลอด ไม่จำเป็นต้องทำเมื่อมีอายุมาก
การเตรียมการณ์ไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดการทะเลาะเบาะแว้งในหมู่ลูกหลานและเครือญาติ และยังมั่นใจได้ว่าทรัพย์สินนั้นจะถูกส่งมอบไปยังผู้รับดังที่ตั้งใจไว้ด้วย
#สำหรับรูปแบบของพินัยกรรมที่กฏหมายรับรอง
หลักๆ มีอยู่ 5 รูปแบบ
1. #พินัยกรรมแบบธรรมดา คือการพิมพ์ข้อความลงในกระดาษ ระบุรายการทรัพย์สิน สัดส่วน และผู้รับมรดก ลงวัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำเอกสาร พร้อมกับลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมทุกหน้า ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองด้วย
2. #พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนพินัยกรรมทั้งหมดด้วยลายมือตนเอง ลงวัน เดือน ปี และสถานที่ที่ทำเอกสาร พร้อมกำกับลายมือชื่อไว้ด้วย ทั้งนี้ จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ พินัยกรรมรูปแบบนี้ถือว่าสะดวกที่สุด ปลอมแปลงได้ยาก แต่ก็เหมาะกับพินัยกรรมที่มีรายละเอียดไม่มากนัก และควรจะแจ้งคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้ใจไว้ด้วย เพราะหากไม่มีใครรู้ มรดกก็อาจจะไม่ได้ส่งมอบตามที่วางแผนไว้
3. #พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งเจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอ ถึงความต้องการทำพินัยกรรม โดยแจ้งรายละเอียดของทรัพย์สินและผู้รับมรดก เมื่อเจ้าพนักงานรับทราบ ก็จะอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานอีกอย่างน้อย 2 คนฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็จะลงลายมือชื่อ อีกทั้งเจ้าพนักงานก็จะลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราตำแหน่ง และระบุวัน เดือน ปี และสถานที่ไว้ด้วย
4. #พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมจัดทำเอกสารโดยปิดผนึกไว้ แล้วจึงไปที่เขตหรืออำเภอที่สะดวก โดยผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งพยานอย่างน้อย 2 คน ว่านี่คือพินัยกรรมของตน พร้อมด้วยรายละเอียด จากนั้นให้ลงลายมือชื่อ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกถ้อยคำ พร้อมลง วัน เดือน ปี และสถานที่ไว้บนซอง รวมทั้งประทับตราตำแหน่งไว้ ทั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึกด้วย
5. #พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ในกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นๆ ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายหรือภาวะคับขัน ไม่ว่าการจราจล ภาวะสงคราม ภัยพิบัติ หรือโรคระบาด เป็นต้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาและแจ้งต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ถึงพินัยกรรมที่ต้องการทำและรายละเอียด เมื่อพยานรับทราบแล้วให้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่เขตหรืออำเภอโดยเร็วที่สุด พร้อมระบุวัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและเหตุที่เกิด โดยเจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย
>> #พินัยกรรมแบบที่หนึ่งและแบบที่สอง_เป็นรูปแบบที่นิยมเพราะสะดวกและประหยัดเวลา ส่วนแบบที่เหลือ อาจจะยุ่งยากกว่า เพราะมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเกี่ยวข้อง มีค่าธรรมเนียม แต่ก็มีน้ำหนัก หากต้องขึ้นเบิกความในศาล
อย่างไรก็ดี ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในขณะที่ทำพินัยกรรมต้องมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ส่วนพยานต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือหย่อนความสามารถ และไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ทั้งนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้เช่นกัน
ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ใส่ใจทุกรายละเอียดของชีวิต
อ่านต่อ >> วางแผนชีวิตด้วยประกัน ช่วยให้คุณใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ และหมดห่วงกับอนาคตของคนที่คุณรักและห่วงใย
https://www.chubb.com/th-th/personal/
#พินัยกรรมจำเป็นไหม #พินัยกรรมทำเมื่อไร #วางแผนชีวิต #ชับบ์ไลฟ์ #ประกันชีวิต #มรดกปลอดภาษี
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย