9 พ.ค. 2021 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
คุณรู้หรือไม่ ? #รับจ้างผลิต (จ้างทำของ) ไม่ใช่ #ขายสินค้า ... อย่าผิดเรื่องภาษี
OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือ Toll Manufacturer ... คือ ใคร ? ในมุมมองภาษี ?
1. ผลทางกฎหมาย Legal Implication ต่างกัน ... ตรงไหน ?
ก. รับจ้างผลิต ...หวัง “ผลสำเร็จของงาน” ... ส่งมอบ “ผลงาน” ตาม Design / Specification / Ingredients / Pattern / Form ที่ได้รับคำสั่ง (Order) จากลูกค้า (ผู้ว่าจ้าง) ... ไม่ได้มุ่งหวัง “โอนกรรมสิทธิ์” ในสินค้าที่ “มีอยู่ก่อนแล้ว” (On Shelf)
1
ข้อสังเกต ... ผู้รับจ้างผลิต “ไม่มี” Brand / “ไม่มี” Stock / “ไม่มี” Distribution Channel: Modern Trade หรือ Traditional Trade เน้น Offline Trade ไม่เน้น Online Trade / “ไม่มี” Retail Customer (B2C) แต่ “มี” Corporate Customer (B2B)
 
ข. ขายสินค้า ... หวัง “กรรมสิทธิ์” ในสินค้า ... สินค้าที่ผลิตพร้อมขาย หรือ สินค้าที่ผลิตรอเผื่อขายใน “คลังสินค้า”
ข้อสังเกต ... ผู้ขายสินค้า “มี” Brand / “มี” Stock / “มี” Distribution Channel: Modern Trade, Traditional Trade, Online มีฐานลูกค้าของตัวเอง / “มี” E-Commerce / “มี” Retail Customer (B2C) หรือ End-Customer และ Wholesale Customer (B2B)
2. ผลทางภาษีย่อมต่างกัน ... Tax Consequences อะไรบ้าง ?
ก. รับจ้างผลิต ... เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% / สัญญาต้องเสียอากรแสตมป์ 0.1%
(เรื่องใหญ่ที่ผู้รับจ้างผลิตไม่ต้องการเสียภาษีสองเรื่องนี้)
ข. ขายสินค้า ... ไม่มีภาษีหัก ณ ที่จ่าย / ไม่มีอากรแสตมป์
ภาษีเหมือนกัน VAT ทั้งสองกรณี ... ไม่ว่า “รับจ้างผลิต” หรือ “ขายสินค้า” ... ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรมสรรพากร และ ศาล ... ตีความภาษีไปในทำนองเดียวกัน ... ยืนยันว่า #สัญญาจ้างผลิต เป็น “สัญญาจ้างทำของ” ... หวัง “ผลสำเร็จของงาน”
ศาลตัดสินว่า OEM “รับจ้างผลิต” เป็น “สัญญาจ้างทำของ” ตามกฎหมาย By Law ... ไม่ใช่ Sale of Goods “ขายสินค้า” ... ยิ่งไปกว่านั้น “สัญญาจ้างทำของ” ตามกฎหมาย ... ยังตกอยู่ในความหมายของ “บริการ” ตามภาษี By Tax หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ตัวอย่างหลายคดี ... ศาลตีความ / ตัดสินว่าเป็น “สัญญาจ้างทำของ”
(ก) รับจ้างผลิต ... “แท่งทองแดง” เป็น “ลวดทองแดง”
(ข) รับจ้างผลิต ... ติดตั้ง “หินอ่อน” โดยช่างผู้ชำนาญของ “มาบุญครอง ศิริชัย หินอ่อน”
(ค) รับจ้างผลิต ... ตัด “พื้นรองเท้า” ก่อนประกอบเป็น “รองเท้ากีฬา”
(ง) รับจ้างผลิต ... รองเท้า ... Lion
(จ) รับจ้างผลิต ... คอมเพรสเซอร์แอร์ Sanyo
OEM รับจ้างผลิต ... เป็น “สัญญาจ้างทำของ” ... ไม่ได้มี #ปัญหาภาษี ... “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” และ “อากรแสตมป์” เท่านั้น / ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” ยังมีคนสับสนกับ “จ้างแรงงาน” อีกเรื่อง
ความต่างระหว่าง “สัญญาจ้างทำของ” และ “สัญญาจ้างแรงงาน” ส่งผลต่อ “ภาษี” ด้วย / หากเป็น “จ้างแรงงาน” ยกเว้น VAT และไม่มี Stamp Duty
ปัญหาอยู่ที่ “คุณ” จ้างแบบ Freelance (จ้างทำของ) หรือ Full Time (Payroll) (จ้างแรงงาน) ... คุณ “แยกแยะ” ออก ... หรือไม่ ? ความแตกต่าง ... อยู่ตรงไหน ?
หากไม่รู้ ... คดี “หนังสือพิมพ์บ้านเมือง” คือ “คำตอบ” และ “คำอธิบาย” ที่ศาลแยกแยะไว้ชัดเจนลึกซึ้งในปี 2556
ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
LINE: @chinapatonelaw
ONE Law Office
ONE Law Academy
OEM vs Sale: รับจ้างผลิต...ไม่ใช่ "ขายสินค้า"...ภาษีต่างกัน
โฆษณา