10 พ.ค. 2021 เวลา 05:17 • สุขภาพ
ทำไมคนไทยไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด19
ทำไมคนจึงเชื่อข้อความที่ส่งต่อกันมาทางโซเชียล เช่นทางไลน์ กันมาก
📍ป้าพาคะ ทำไมคนไทยไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด19 ป้าล่ะคะ ฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง
☘️ฉีดแล้วค่ะ ม่ะ มาคุยกัน
*วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ วัคซีนโควิด19 นี้ WHO คาดการณ์ว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้วิกฤตโควิด19 นี้ สงบลง
1
*วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ วัคซีนโควิด19 นี้ WHO คาดการณ์ว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้วิกฤตโควิด19 นี้ สงบลง *จากอัพเดตที่ป้าตัดรูปมาลง จะเห็นว่า พี่ไทยเราฉีดวัคซีนน้อยมาก เพราะ..?
สวัสดีค่ะทุกคนรวมทั้งหนูดี ซึ่งตั้งคำถามดีมาก ซ้ำกันกับเพจคุณพี่ข้าวลิ้งค์นี้ค่ะ👇
ป้าอ่านแล้วชอบใจมากที่พี่ข้าวรวมคำถามและความคิดดี ๆ มาไว้ด้วยกัน
 
☘️ป้าพาขอนำข้อมูลที่นั่งค้นคว้า อ่าน และสอบถามเพื่อนผู้เชี่ยวชาญมา
ลง แต่รู้อยู่เหมือนกันว่า อาจสู้กระแสของเฟคนิวส์ทางไลน์ไม่ได้
เอา ๆ ขอนำเสนอก็แล้วกันนะคะ
1
📍1.คนไม่กล้าฉีด เพราะกลัว..เนื่องจากวัคซีนทุกยี่ห้อขณะนี้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน
1
👉ตรงนี้ขอตอบว่า ใช่เลย เพราะโรคโควิดเป็น"โรคอุบัติการณ์ใหม่" เป็นสิ่งใหม่ที่คนในโลกรุ่นเรายังไม่รู้จัก เท่าที่มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ เค้าคิดค้นวัคซีนขึ้นมาได้ ป้าก็นับถือเค้ามากแล้ว เพราะขั้นตอนการคิดค้นหรือผลิตวัคซีนแต่ละขนานนั้นยากมาก (อ่านรายละเอียดในอ้างอิงท้ายบทความ)
3
👉และเนื่องจากวิกฤตโรคอุบัติการณ์ใหม่นี้(ต่อไปขอเรียกโควิด)มันใหญ่มาก เกิดความระส่ำระสายต่อเกือบทุกประเทศ ทั่วโลก ขั้นตอนการผลิตวัคซีนจึงต้องตัดตอนระยะเฟสที่สามออกไป ทำแต่ทำไม่ครบ(อ่านอ้างอิงค่ะ)
2
🌟เพราะฉะนั้นป้าพาคิดว่า เราอาจจะต้องคิดโดยยึดหลักการของ ระบาดวิทยา และผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติด้วยว่า เราควรฉีดวัคซีนหรือไม่ ในฐานะที่เป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งของการขจัด หรือลดการระบาดโควิดครั้งนี้
3
📍2. คนไม่กล้าฉีดเพราะ..
ป้าขอรวบเหตุผลอื่น ๆ รวมกันนะคะ
- คนไม่มั่นใจวัคซีนยี่ห้อที่รัฐจะนำมาฉีดให้ อยากฉีดวัคซีนยี่ห้ออื่น
- การให้ข้อมูลไม่เป็นเอกภาพ
(ข้อนี้สำคัญมาก ไม่เห็นเหมือนการระบาดรอบแรกเนอะ)
- เกิดเคสที่ถูกสงสัยว่าเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีน(ป้าจะมาพูดถึงอีกครั้งหลังจากการตรวจและสืบค้นเรื่องนี้ชัดเจนแล้วนะคะ)
2
อัพเดตเรื่องของวัคซีน
👉ป้าขอ update เรื่องเกี่ยวกับวัคซีนที่มีในประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งก็คือ ซีโนแวค มาให้ฟัง
2
🔺1. ซีโนแวค (Sinovac) วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยทางหลักวิชาการแล้วการผลิตด้วยเทคโนโลยีเชื้อตาย (Inactivated)นี้เป็นเทคโนโลยีที่วงการแพทย์คุ้นเคยและมีความมั่นใจในความปลอดภัย
1
🔺 sinovac มีตารางการฉีด 2 โดส
ห่างกัน 14-28 วัน ได้รับการอนุมัติในประเทศจีนเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 และใน 32 ประเทศสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป(มีความหลากหลายของช่วงอายุ) และได้รับการแจกจ่ายไปแล้ว 260 ล้านโดสทั่วโลก
1
📌อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลก ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาวัคซีนตัวนี้ โดยได้ตั้งประเด็น/คำถามในการทบทวนไว้ 4 ข้อด้วยกัน คือ
1
1)อะไรคือหลักฐานสำหรับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ (18-59 ปี)
1
2)อะไรคือหลักฐานสำหรับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว
3)อะไรคือหลักฐานสำหรับการใช้วัคซีนในผู้สูงอายุ
4) การประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐาน
 
*ตารางการศึกษาใน 4 ประเทศ ได้แก่ ตุรกี ชิลี อินโดนีเซีย และบราซิล (ตารางที่ 1)
1
ตารางจากบทความของ นายแพทย์ชนาธิป ไชยเหล็ก ที่นี่ค่ะ https://thestandard.co/sinovac-in-who-perspective/
☘️ซึ่งถ้าอ่านบทความ(คอลัมน์รองสุดท้าย) พูดถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ และในคอลัมน์สุดท้ายเป็นประสิทธิภาพในการป้องกันการนอนโรงพยาบาล (อาการรุนแรง) หลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 14 วัน พบว่า
1
📌ตุรกี มีประสิทธิภาพสูงสุด 84% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 100%
📌บราซิล มีประสิทธิภาพต่ำสุด 50% ส่วนการป้องกันการนอนโรงพยาบาลไม่มีรายงาน
📌ชิลี มีประสิทธิภาพ 67% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 85%
1
✳️ข้อสังเกต
เนื่องจากแต่ละประเทศมีบริบทการระบาดต่างกัน เช่น สายพันธุ์ที่ระบาดในบราซิลคือ P.1 (สายพันธุ์บราซิล) ส่วนชิลีเป็นสายพันธ์ุ P.1 และ B.1.1.7 (สายพันธุ์อังกฤษ) และวิจัยในกลุ่มประชากรต่างกัน เช่น บราซิลทดลองในบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนตุรกีทดลองในบุคลากรทางการแพทย์ 10% และอีก 90% เป็นประชาชนทั่วไป
1
🔺2. วัคซีนอีกตัวหนึ่งในไทยคือ อ๊อกฟอร์ด แอสตร้าเซเนก้า (Oxford/AstraZeneca COVID-19 vaccine) หรือเรียกว่า AZD1222 มีประสิทธิภาพ 63.9% ต่อการติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการ โดยมีการศึกษาพบว่าการให้ระยะเวลาระหว่างเข็มแรกและเข็มที่สองห่างกัน 8-12 สัปดาห์จะยิ่งทำให้วัคซีนประสิทธิภาพดีขึ้น
📍3.คนไทยไม่กล้าฉีดเพราะ..กลัววัคซีนเอาไวรัสกลายพันธุ์ไม่อยู่
👉จากที่มีข่าวการกลายพันธุ์ของไวรัสถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้คนเริ่มเกรงว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเอาไม่อยู่
☘️ตรงนี้ ป้าขอสรุปจากการค้นคว้าอ่านมา และปรึกษาเพื่อนอาจารย์ทางด้าน
โรคติดเชื้อมาแล้วว่า..
✳️ต่อไปเราคงต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิ หรือฉีดกันใหม่อยู่ดี เพราะวัคซีนเดิมใช้ไม่ได้ผลกับไวรัสกลายพันธุ์
📌ซึ่ง ณ ตอนนั้นค่อยมาว่ากันอีกทีค่ะว่า จะเป็นวัคซีนตัวไหน
เหมือน ๆ กับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในปัจจุบันค่ะ ซึ่งต้องฉีดกันใหม่ทุกปีเพราะสายพันธ์ที่ระบาดจะเปลี่ยนไป
🔘ป้าพาฝากไว้
1. สรุปสำหรับวัคซีนส่วนใหญ่ในไทย ณ ปัจจุบัน(ซิโนแวค) จะให้ฉีด 2 ครั้ง
👉 โดยครั้งที่สองจะกำหนดไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนครั้งแรก
👉 การฉีดวัคซีนจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงเพียงพอที่จะทำให้ไม่เกิดโรค
👉 หรือถ้าเกิดโรคก็จะไม่รุนแรงเท่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
👉 สามารถฉีดในผู้สูงอายุได้ผลดีเช่นกัน
❤️ ข้อมูลตรงนี้มีรายงานตรงกันหลายฉบับค่ะ
1
2. ทำไมคนไทยไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด19 และทำไมคนจึงเชื่อข้อความที่ส่งต่อกันมาทางโซเชียล เช่นทางไลน์ กันมาก ป้าพาคิดว่า ทางผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง น่าจะต้องรีบสื่อสารข้อมูลให้ชัดเจน หรือกระจ่าง ไม่เป็นที่สงสัย ถึงประเด็นสำคัยของ ประสิทธิภาพของวัคซีน การแพ้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงของยา ฯลฯ
1
❤️ ควรสื่อสารออกมาโดยเร็วค่ะ
อ้างอิง
1. มองวัคซีน Sinovac ในสายตาของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ องค์การอนามัยโลก
ใจความสำคัญ
- กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ (SAGE) ขององค์การอนามัยโลก เปิดเผยเอกสาร ‘การประเมินหลักฐาน: วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค/โคโรนาแวค’ (Evidence Assessment: Sinovac/CoronaVac COVID-19 Vaccine) ซึ่งเอกสารนี้เป็นเพียงผลการทบทวนของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ยัง ‘ไม่ใช่’ เอกสารที่ยืนยันว่าองค์การอนามัยโลกรับรองวัคซีน Sinovac แล้ว
2.สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่าวัคซีน
3. วัคซีนป้องกัน COVID-19 ความหวังในยุคนี้
4. ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 ที่มีใช้ในขณะนี้
5. คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบฉีดวัคซีนซิโนแวคผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
โฆษณา