13 พ.ค. 2021 เวลา 00:31 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อ COVID ทำพิษ แล้วเราจะดำเนินชีวิตอย่างไร ?
บริหารเงินอย่างไรหากตอนนี้กำลัง "ตกงาน"
9
“การระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ชีวิตเปลี่ยน” ไม่ใช่แค่คำพูดเท่านั้น แต่วันนี้ชีวิตของหลายๆ คนเริ่มเปลี่ยน และเป็นการเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ค่อยดีอีกด้วย และถ้าพูดเรื่องนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “เงิน”
10
เพราะถึงแม้เงินจะไม่ใช่ทุกสิ่งของชีวิต แต่เงินก็เป็นส่วนสำคัญที่เมื่อกระทบแล้ว ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยน
6
บางคนอาจกระทบแค่เบาๆ เช่น มีรายได้เหมือนเดิม
แค่รายจ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย บางคนเริ่มหนาวๆ ร้อนๆ เมื่อรายได้เริ่มหดหายไปบางส่วน ยังประคองตัวไปได้อยู่
5
แต่อีกหลายคนเข้าขั้นวิกฤติ เพราะถูกเลิกจ้าง
กลายเป็นคนตกงานโดยไม่ทันตั้งตัว ซึ่งก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความตระหนกในตอนแรก แต่ก็ขอให้มี “สติ”
เพื่อหาหนทางให้ชีวิตผ่านไปได้ อาจดูเหมือนว่าเป็นคำสวยงาม แต่ถ้ามีสติจะทำให้การตัดสินใจอะไรหลายอย่างถูกต้องและรอดพ้นจากช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
6
เมื่อมีสติ ก็สามารถนำมาจัดการกับเรื่องเงินทองได้ง่ายยิ่งขึ้น
เพราะเมื่องานหาย เงินก็หดตามไปด้วย จากที่เคยมีเงินเข้ามาทุกเดือนก็ไม่มี
ขณะที่รายจ่ายยังมีอยู่แถมอาจมีเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนมีการจัดการด้วยวิธีง่ายๆ
7
1. สำรวจเงินสด
เงินสด หมายถึง เงินที่สามารถเบิกถอนมาใช้จ่ายได้ทันที ดังนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเงินที่ฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ และกองทุนรวมตลาดเงิน โดยตรวจดูว่ามีจำนวนเท่าไหร่
8
2. เงินฉุกเฉิน
โดยปกติแล้ว ทุกคนควรมีเงินก้อนหนึ่งที่เก็บเอาไว้ใช้ตอนฉุกเฉิน โดยผู้เขียนก็มีเงินสำรองฉุกเฉิน 3 เดือนของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน วิธีการให้สำรวจว่าตัวเองมีค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนเท่าไหร่ โดยนำเงินเดือนมาคำนวณ เช่น เงินเดือน 20,000 บาท มีค่าใช้จ่ายราว 10,000 บาท
สมมติว่า อยากมีเงินออมสำรองฉุกเฉิน 3 เท่าของค่าใช้จ่าย ก็นำ 10,000 มาคูณ 3 แสดงว่าควรมีเงินไว้ใช้ยามจำเป็น 30,000 บาท
9
3. เงินชดเชย
เมื่อถูกบอกเลิกจ้าง ก็จะได้เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งต้องดูว่าได้จำนวนเท่าไหร่
จากนั้นให้นำไปฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ส่วนเงินที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แนะนำว่าไม่ควรนำออกมา
เพราะถ้านำออกมาจะต้องจ่ายภาษี ควรเป็นสมาชิกต่อไป
9
ยกตัวอย่าง ในเบื้องต้นต้องรู้ว่าตัวเองทำงานกับบริษัทแห่งนี้กี่ปี หรือเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่าไหร่
3
✅ ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
3
✅ ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
2
✅ ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
3
✅ ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
5
✅ ถ้าทำงานติดต่อกันครบ 20 ปี ขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
3
4. หนี้สิน
จดข้อมูลหนี้สินทุกประเภทที่ต้องจ่าย โดยให้ทำเป็นตารางให้ชัดเจนว่าแต่ละงวดต้องจ่ายหนี้อะไรบ้าง จำนวนเงินและดอกเบี้ยเท่าไหร่ สิ้นสุดปีไหน สถาบันการเงินอะไร เป็นต้น จากนั้นเรื่องที่ต้องจัดการ คือ หนี้สิน โดยติดต่อกับเจ้าหนี้ (ส่วนใหญ่เป็นธนาคาร) เพื่อขอปรึกษาขอผ่อนผันจ่ายหนี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายระหว่างที่กำลังหางานใหม่
8
5. ประกันสังคม
เมื่อกลายเป็นผู้ตกงาน สิ่งที่ต้องทราบ คือ สิทธิประโยชน์ของประกันสังคมที่จะได้มีอะไรบ้าง ก็ต้องรวบรวบข้อมูล ศึกษาเงื่อนไขในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม จดคำถาม
จากนั้นให้ติดต่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่ หรือถ้าสะดวกควรเดินทางไปสำนักงานประกันสังคม
5
หลังตกงาน ปรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายอย่างไร
📌เมื่อมีข้อมูลครบ ก็ย้อนกลับไปดูว่า “ก่อนตกงาน” มีการแบ่งเงินคร่าวๆ พบว่า
2
30% คือ เงินใช้จ่ายในชีวิตประวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าของใช้ในบ้าน ค่าความบันเทิง
2
20% คือ เงินลงทุน เช่น กองทุนรวมประหยัดภาษี เช่น RMF กองทุนรวมทั่วไป หุ้น เงินฝาก ซื้อประกัน รวมถึงเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
5
40% คือ เงินค่าผ่อนชำระหนี้ เช่น คอนโดมิเนียม รถยนต์ บัตรเครดิต
3
10% คือ เงินทำบุญและท่องเที่ยว
📌แต่เมื่อกลายเป็น “คนตกงาน” สิ่งที่ต้องลงมือทำ คือ แบ่งเงินใหม่ เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
5
20% คือ เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยลดค่าอาหารและค่าเดินทาง เพราะไม่ต้องเดินทางไปทำงาน
1
10% คือ เงินลงทุน ถึงแม้จะตกงานก็ยังต้องแบ่งเงินไปลงทุน แต่ลดจำนวนลงจาก 20% ของรายได้แต่ละเดือน เหลือ 10% และเน้นลงทุนใน RMF เป็นต้น
5
30% คือ เงินออม เพราะเมื่อดูเงินสำรองฉุกเฉินที่เก็บเอาไว้เพียง 3 เดือนอาจไม่พอ จึงต้องเก็บเพิ่มเป็นเงินฉุกเฉิน 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายเพียงพอได้ถึง 1 ปี ถึงแม้จะไม่มีงานทำ
5
40% คือ เงินค่าผ่อนชำระหนี้ เหตุผลที่ไม่ปรับลดง เพราะในช่วงวิกฤติ ทั้งภาครัฐและสถาบันการเงิน
ออกมาตรการต่างๆ ช่วยเหลือหรือผ่อนผันเรื่องการชำระหนี้ ดังนั้น ต้องอัพเดตข่าวสารตลอดเวลา
แต่แผนสองของเรา คือ ถ้าหากมาตรการไม่ครอบคลุม ก็ต้องโทรไปหาเจ้าหนี้เพื่อขอผ่อนผัน
5
สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสติ ยิ่งในสภาวะการณ์แบบนี้ ต้องหมั่นสำรวจและเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังและเป็นระบบ ซึ่งก็หวังว่าเราจะผ่านมันไปได้ด้วยกันนะครับ
5
ปั้นเงินออม
13 พฤษภาคม 2564
References :
โฆษณา