12 พ.ค. 2021 เวลา 08:30 • ประวัติศาสตร์
ยอดพระบรมธาตุเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช
ยอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีฯ
หุ้มด้วยทองคำทั้งหมดราว 600 กิโลกรัม
นอกจากทองคำหุ้มปลียอดแล้ว ก็ยังมีแก้วนพรัตน์ทั้ง 9 ประดับประดาอยู่ในจุดต่างๆ รวมทั้ง สร้อยแหวน เงิน ทอง ของผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ถวายไว้เป็นพุทธบูชา แล้วถูกนำขึ้นไปผูกมัดรวมไว้เป็นจำนวนมากมาย
สำหรับแก้วนพรัตน์นั้นก็จะมี เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองสวยสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว
แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์
ปลีพระบรมธาตุเจดีย์สูงถึง 6 วา 2 ศอก กับอีก 1 คืบ
ทั้งหมดถูกหุ่มด้วยทองคำแท้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้พระบรมธาตุเจดีย์ จึงได้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "พระธาตุทองคำ"
ส่วนประวัติการสร้างพระบรมธาตุนั้น
มีหลักฐานปรากฎไม่ชัดเจนนอกจากตำนานเมืองทนธบุรี ที่กล่าวว่า
กษัตริย์เมืองทนธบุรีมีพระทันตธาตุอยู่ในครอบครอง ต่อมามีกษัตริย์เมืองอื่นยกทัพมาหมายจะแย่งชิงเอาพระทันตธาตุ เจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาไว้ไม่ได้ จึงให้โอรสและธิดา คือ เจ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าชายทันตกุมาร ปลอมตัวเป็นพ่อค้าแม่ค้าแล้วนำพระทันตธาตุซ่อนไว้ในมวยผม แล้วลงเรือหนีโดยจุดมุ่งหมายของทั้ง 2 คือ เกาะลังกา เผอิญเรือแตก ทั้งสองจึงได้มาขึ้นฝั่งที่หาดทรายแก้ว หรือนครศรีธรรมราชในปัจจุบันนั้นเอง
ทั้งนี้ก็ยังมีนักวิชาการบางท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า ไม่ใช่เรือแตก แต่เป็นความตั้งใจมาของทั้งสองพระองค์เอง เพราะชาวลังกาเอง ชาวอินเดียใต้เองเวลาหลบภัยส่วนมากเขาจะหนีมาที่ภาคใต้ของไทยในปัจจุบัน
 
พอทั้งสองมาขึ้นฝั่งที่หาดทรายแก้วแล้ว ได้ฝังพระทันตธาตุซ่อนไว้ แล้วรอจนสงครามที่เมืองทนตบุรีสงบแล้ว ทั้งสองก็ได้แบ่งพระทันตธาตุไว้ส่วนหนึ่ง ฝั่งตรงจุดเดิมก่อนเดินทางกลับ
ต่อมาในปีพ.ศ. 1098 พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุเข้า จึงให้สร้างเจดีย์ครอบไว้ แล้วก็ผูกผยนต์กลไกไว้ มอบหมายให้พระเถระ 4 รูป เรียกว่าพระครูกาเป็นดูแลรักษาอยู่พระธาตุประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ จากนั้นพระองค์ก็ได้สถาปนาเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น
พระบรมธาตุเจดีย์ แต่เดิมเป็นศิลปะแบบศรีวิชัย ต่อมาในราวพุทธศตวรรตที่ 18 เจดีย์ได้ทรุดโทรมลง จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นมาใหม่ เป็นทรงลังกาครอบองค์เก่า ขนาดความสูง 37 วา ฐานเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 3 ศอก ยาวด้านละยาว 18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว กล่าวกันว่าพระทันตธาตุฝังอยู่ใต้เจดีย์ ไม่ได้นำขึ้นไปอยู่บนยอดเจดีย์ เหมือนการสร้างเจดีย์ในปัจจุบัน
โฆษณา