12 พ.ค. 2021 เวลา 08:40 • ประวัติศาสตร์
เรื่องของ : พนักงานโขลน
โขลน คือ เจ้าหน้าผู้หญิงที่ประจำการอยู่ฝ่ายใน
มีทำ​หน้าที่​คล้าย​กับตำรวจนครบาลของฝ่ายหน้า
ในหนังสือพิมพ์ The Illustrated London News ฉบับวันที่ 6 เมษายน ปี ค.ศ.1866 ในนิยายAnna and the King of Siam ก็มีการเรียกโขลนนี้ว่า Amazons Guardเช่นกัน
ทั้งในนิยายเรื่องAnna and the King of Siam สี่แผ่นดิน หรือ นิยาย อื่นๆที่เขียนเรื่องราวอยู่ในยุคเดียวกันต่างเขียนโขลนในลักษณะที่น่าหวั่นเกรงยามพบเจอ แสดงถึงความเข้มงวดต่อหน้าที่และกฏธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด ดั่งตัวอย่างใน ละครเรื่องสี่แผ่นดิน
ต่อมาในสมัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายชาวโขลนให้ดูทันสมัยมากขึ้น (ทันสมัยของยุคนั้น) จึงโปรดให้ชาวโขลนใส่หมวกแก๊บ สวมเสื้อสีแดง ยกเลิกการนุ่งโจงกระเบน แล้วให้หันมาใส่กระโปรงแทน ให้เหมือนชาวสก๊อตแลนด์
กรมโขลนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโองการแก่กรมโขลนไว้ว่า
 
" ...ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดโขลนเปนธรรมเนียมคล้ายโปลิดให้รักษาถนนในพระบรมมหาราชวัง ทุกถนนทุกทางให้จัดแบ่งเขตแดน แต่รายกำลังโปลิดจะรักษาได้ แล้วให้มีนายกำกับคนหนึ่ง สำหรับว่ากล่าวโปลิดตลอดทุก ๆ ถนน แลจะพระราชทานเงินเดือนให้โปลิดพอเป็นเบี้ยเลี้ยง ตามผู้ได้รับราชการมากแลน้อย....ให้ผู้รับราชการในพระบรมมหาราชวังจัดเกวียนเล็ก ๆ สำหรับรับหยากเยื่อฝุ่นฝอยใบไม้ ใบตองของที่เปื้อนและเครื่องโสโครกทั้งปวงให้หญิงมหันตโทษเขนมาในพระบรมมหาราชวัง
เวลาเช้าให้โขลนพนักงานที่รับเครื่องรกเปื้อนบนเรือนของตัวลงมาในเกวียนซึ่งลากไปนั้น ถ้าเปนน้ำกระโถนก็ดี ฤาน้ำอื่น ๆ ซึ่งเป็นของโสโครกห้ามมิให้เทลงในเกวียนหยักเยื่อฝุ่นฝอย จะให้มีเกวียนถังไปรับต่างหาก ห้ามมิให้เทหยากเยื่อ หน้าที่ของตัว...ให้โปลิดระวังอย่าให้เกิดการทะเลาะชกตีกันในวัง ห้ามชาววัง ห้ามโปลิดกล่าวคำหยาบ... "
โดยปกติโขลนจะถูกเรียกว่า ทหารหญิง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งเรียกว่า จิงโจ้ เห็นจะเป็นเพราะอาการกิริยา และการตกแต่งรุงรังจึงรับสั่งเรียกดังนั้น จึงเป็นนามที่เรียกทหารหญิงพวกนี้ต่อมาว่าจิงโจ้ และจะใช้คำพูดเรียกพฤติกรรมของทหารหญิงเหล่านี้ในเชิงพฤติกรรมของจิงโจ้ เช่น
แทนที่จะใช้ว่า วันทยาวุธ ก็บอกว่า "จิงโจ้กัด" และแทนที่จะใช้ คำว่า บ่าอาวุธ ก็ใช้ว่า "จิงโจ้หยุด" และแทนที่จะบอกว่า เรียบอาวุธ ก็สั่งว่า "จิงโจ้นอน"
ส่วนเรื่องการยุบกรมโขลนนั้นไม่มีการกล่าวไว้แน่ชัดว่ายุบลงเมื่อใด แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก็ยังปรากฏว่ามีกรมโขลนประจำการอยู่ จึงพอคาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 7 หรือช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
โฆษณา