Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เจ้าคุณปราบสุราพินาศ
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2021 เวลา 08:45 • ประวัติศาสตร์
ชมความงามของ : บานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้เสวยสิริราชสมบัติแล้วทรงมีพระราชดำริว่า
.....พระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้น เป็นพระราชดำริของรัชกาลที่ ๑ ที่จะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนคร แต่พอก่อรากพระวิหารก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน จึงโปรดให้สร้างพระวิหารให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ครบองค์ประกอบของวัดต่อไป...
แล้วโปรดให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่ โดยพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์ สลักภาพร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี
ซึ่งเรื่องฝีพระหัตถ์นี้คงไม่เป็นที่กังขา แต่คงยากที่จะเชื่อว่าในเวลาที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แล้ว จะมีเวลามาแกะสลักบานประตูได้
ประตูพระวิหารในภาพนี้ เป็นไม้กระดานแผ่นเดียว หนา ๑๖ ซ.ม. หน้ากว้าง ๑.๓ ม. สูง ๕.๖๔ เมตร สลักลึกลงไป ๑๔ ซ.ม.
บนประตูสลักเป็นรูปภูเขา ต้นไม้ มีถ้ำคูหา รูปสัตว์ต่าง ๆ เสือ ลิง กวาง หมู จะขาบ งู อึ่งอ่าง นก
ด้วยความลึกของการแกะทำให้รูปสลักนั้น เป็น ๓ มิติ สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ โดดเด่นราวกับพวกมันมีชีวิต
มีคำเล่าลือสืบกันมาว่า
"..ช่างที่สลักบานพระวิหารพระโตนี้เมื่อทำการเสร็จแล้ว ได้เอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสีย..."
เหตุด้วยเชื่อว่า เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักนั้น ประดิษฐ์ทำขึ้นใช้เป็นการเฉพาะ เมื่อมีความต้องการเครื่องมือเล็กใหญ่รูปคดโค้งอย่างไร ก็สั่งให้ช่างเหล็ก ทำขึ้นมาตามนั้น ครั้นเสร็จแล้วเครื่องมือชุดนั้นก็คงใช้การอื่นไม่ได้อีก คงแต่ลายฝีมือที่สุดแสนจะวิจิตรบรรจงไว้
ปี พ.ศ. ๒๓๖๗ อาคารโครงสร้างพระวิหารสร้างเสร็จ
แต่องค์ประกอบความเป็นพระอารามหลวง ศิลปะแบบกรุงเทพยังไม่เสร็จ คือ ช่อฟ้าใบระกาก็ยังไม่ได้ยก บานประตู งานจิตกรรรมฝาผนังก็ยังไม่เสร็จ รัชกาลที่ ๓ ก็สวรรคตก่อน เลยมาเสร็จสมบูรณ์เอาในสมัยรัชกาลที่ ๔
ในรัชสมัยที่ ๔ พระองค์มีความประสงค์ที่จะสลักบานประตู อย่างประตูพระวิหารวัดสุทัศน์ เพื่อนำไปติดตั้งที่พระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์
จึงโปรดให้กรมขุนราชสีห์ พระยาจินดารังสรรค์ และช่างสลักไปอ่านแบบ แล้วสลักให้เหมือนกัน แต่ช่างก็ทำไม่สำเร็จเพราะถากไม้ ไม่เป็นเหลือวิสัย จึงต้องสลักเป็น ๒ ชั้นวางซ้อนกันแทน
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เกิดเพลิงไหม้ทำให้บานประตูใหญ่ด้านขวาเสียหายไป กรมศิลปากรจึงย้ายบานประตูคู่ที่อยู่ด้านหลังพระวิหารมาใส่แทน
แล้วทำประตูคู่ใหม่ลายรดน้ำพันธุ์พฤกษามาทดแทนประตูคู่ที่อยู่ด้านหลัง แล้วถอดอีกบานที่ยังคงไม่ชำรุดไปเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร มาจนถึงปัจจุบัน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย