17 พ.ค. 2021 เวลา 02:56 • การตลาด
4 วิธีการทำ Inbound Marketing กระบวนการสำคัญเปลี่ยนคนไม่รู้จักกันมาเป็นสาวกของแบรนด์
1
ครั้งก่อนแอดเคยนำเสนอความแตกต่างของ Inbound Marketing vs Outbound Marketing ที่เป็นรูปแบบการทำการตลาดพื้นฐานของทุกธุรกิจ ใครที่ยังไม่รู้ก็ลองกดเข้าไปอ่านกันได้นะครับ
1
แต่วันนี้แอดจะมาเล่าถึงวิธีการทำ Inbound Marketing รูปแบบการตลาดที่มีความสามารถทำให้ลูกค้าเขามาหาแบรนด์ของเราด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่ทุกแบรนด์ควรจะทำ ลองคิดดูว่าถ้าเราทำธุรกิจคงจะไม่อยากเข้าไปกราบลูกค้าให้มาซื้อสินค้าของเราตลอดไปใช่ไหมล่ะ
1
เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาดูดีกว่าว่า 4 วิธีการสำคัญของ Inbound Marketing จะมีอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าต้องเข้ามาหาเราเอง ลองไปอ่านและนำไปปรับใช้กับธุรกิจของเพื่อนๆ ตามความเหมาะสมดู ไปอ่านกันเลยจ้า
(1) Attract - วิธีการดึงดูดลูกค้า เปลี่ยน Stranger เป็น Visitors
ทุกวันนี้ไม่ว่าเพื่อนๆ จะขายอะไรก็ตามสิ่งที่สำคัญในการขายก็คือ Content Marketing ที่เป็นเนื้อหาในการให้คุณค่าบางอย่างกับลูกค้ามากกว่าแค่การขายตรงๆ และในแต่ละหัวข้อ Content เหล่านั้นล้วนต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะสื่อสารไปถึงใครที่มีความต้องการตรงกับสินค้าของเรา ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ผู้ที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อนรับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์เราที่อาจตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้
ในขั้นตอนนี้เราจะต้องทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มว่าจะต้องการสินค้าของเราไม่ว่าจะเป็น เพศ ลักษณะภายนอก พฤติกรรมการใช้งานสินค้า รสนิยมที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์เพื่อการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำ Content Marketing เพื่อนำพาคนเหล่านี้มาเป็นลูกค้าของเรา
วิธีการในการดึงดูให้คนมารู้จัก
• การสร้างโพสต์ตาม Social Media
• การเขียน Blog
• การทำ SEO
• Website
• Video
วิธีการเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางและรูปแบบในการเผยแพร่ Content Marketing เท่านั้น ทั้งนี้คอนเทนต์จะดึงดูดให้คนรู้จักแบรนด์ของเพื่อนๆ มากน้อยขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียการสื่อสารที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และการเชื่อมโยงกับแบรนด์ที่ชาญฉลาดด้วยนะครับ
1
(2) Convert - การเปลี่ยน Visitors เป็น Leads
หลังจากที่ Content Marketing เหล่านั้นได้ทำงานจนสามารถดึงดูดผู้คนให้กลายเป็นผู้เยี่ยมชมแบรนด์ของคุณในช่องทางต่างๆ ได้แล้วไม่ว่าจะเป็น Social Media, Website เป็นต้น ต่อมาก็คือวิธีการทำให้ผู้เยี่ยมชมกลายเป็นผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของเราในอนาคต
โดยในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลการติดต่อของผู้เยี่ยมชมให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็น อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, Line, Facebook, Instagram ฯลฯ ทุกช่องทางการติดต่อล้วนเป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้าของเราได้ทั้งหมด
วิธีการรวบรวมข้อมูล
• การกรอกเอกสารเพื่อรับสิทธิประโยชน์บางอย่าง
• การสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์
• ข้อมูลที่อยู่จากการสั่งซื้อครั้งแรก
2
โดยข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะทำให้เราได้ช่องทางการสื่อสารที่ตรงกับกลุ่มคนที่มี ‘ความสนใจ’ ในแบรนด์ของเราแล้ว เราอาจจะได้รับรู้ถึงความต้องการบางอย่างที่ทำให้เขาเกิดการตัดสินใจ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูลตรงนี้มาวิเคราะห์และตอบสนองในขั้นตอนอื่นๆ ของ Inbound Marketing ได้หลากหลายมากขึ้น
(3) Close - ปิดการขายให้ Leads เป็น Customer
เมื่อข้อมูลต่างๆ พร้อมแล้วก็ถึงเวลาปิดเกมหรือที่นักการตลาดชอบเรียกว่าการ ‘ปิดการขาย’ นั่นแหละ เป็นกระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าที่มีความสนใจในสินค้าหรือแบรนด์ของเรา ให้ตัดสินใจที่จะแลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อใช้บริการนั่นเอง หรือเอาภาษาชาวบ้านก็คือการขายเพื่อให้เขาซื้อของเรานั่นแหละ
ซึ่งวิธีการขายการพูดคุยกับลูกค้าก็จะแตกต่างกันไปตามสไตล์ของนักขายแต่ละคน ซึ่งช่องทางการขายในยุคนี้ก็ไม่เหมือนแต่ก่อนที่จะไปพูดคุยกับตามร้านตามตลาดโดยแอดมีเครื่องมือที่จะช่วยการปิดขายได้ดังนี้
เครื่องมือในการปิดการขาย
• Chat พูดคุยกับลูกค้าผ่านช่องทาง Social Media
• E-Mail ส่งรายละเอียกของสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
• CRM การบริการความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
• Marketing Automation การส่งข้อมูลอัตโนมัติเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
1
(4) Delight - บริการหลังการขายเปลี่ยน Customer ให้เป็น Promoters
หลังจากที่เปลี่ยนจากคนรู้จักจนมาเป็นลูกค้าแล้วนั่นยังไม่ใช่จุดจบของการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน หลายๆ คนมักพลาดที่ตรงนี้ว่าลูกค้าจ่ายเงินมาเอาของไปก็คือจบ ถ้าเป็นแบบนั้นเราก็จะต้องเสียพลังงานและเวลาในการหาลูกค้าใหม่อยู่ตลอด ซึ่งนั้นไม่ใช่เป้าหมายของ Inbound Marketing ที่จะให้ลูกค้าเข้ามาหาเราเลย!
จะดีกว่าไหมถ้าเราไม่ได้ทำกระบวนการเหล่านี้เพื่อนำมาซึ่งลูกค้าที่ซื้อครั้งเดียวจบ แต่เราได้คนที่เป็นเหมือนแฟนคลับของแบรนด์เราและพร้อมที่จะซื้อสินค้าใหม่ๆ ของเรา จวบจนพร้อมจะบอกต่อสิ่งที่ดีๆ ที่เขาได้รับให้คนอื่น สิ่งดีๆ เหล่านั้นก็คือ ‘ความสัมพันธ์’ นั่นเอง
เพราะฉะนั้นกระบวนการนี้ก็จะหมายถึงการบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้าได้รับคุณค่าบางอย่างที่แบรนด์ของเรามอบให้ จนเกิดความสัมพันธ์ที่ดี หากเราสามารถเข้าถึงความต้องการที่นอกเหนือจากที่สินค้าของเรามอบให้ได้อย่างเหมาะสม เราก็สามารถมอบสิ่งดีๆ อย่างอื่นเพื่อสร้างความประทับใจได้นั่นเอง
วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
• ถามความคิดเห็นที่ได้ใช้สินค้าและการบริการของเรา
• แนะนำข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลสินค้า เช่น วิธีการใช้งานที่แตกต่าง, การเชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์อื่นๆ, การบ่งบอกตัวตนด้วยสินค้า เป็นต้น
• สร้างคอนเทนต์แก้ปัญหาที่เกิดจากการสอบถาม
1
ด้วยวิธีการเหล่านี้ส่วนมากแล้วจะเป็นการบริการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการขายสินค้า ซึ่งเป้าหมายก็คือการทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของลูกค้านั่นเอง เหมือนเราเป็นเพื่อนที่คอบห่วงใยลูกค้า
หากลูกค้าประทับใจในการบริการเหล่านี้ของเรา พวกเขาก็จะกลายเป็น Promotors ที่พร้อมจะสนับสนุนสินค้าของเราและบอกต่อสิ่งดีๆ ที่ได้รับจากแบรนด์ของเรา จวบจนเราก็ใช้กระบวนทั้งหมดนี้กับลูกค้าคนใหม่ให้กลายมาเป็น Promoters ของเราต่อไป
1
เมื่อสามารถทำกระบวนการทั้ง 4 นี้ได้แล้ว สิ่งที่เราจะได้มามันค่อนข้างสมบูรณ์ในเชิงการตอบสนองความต้องการพอสมควรไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการติดต่อ, พฤติกรรมของลูกค้า, Promoters ที่พร้อมจะบอกต่อสิ่งดีๆ ของแบรนด์เรา ซึ่งถ้าแค่อ่านแค่พูดมันก็เหมือนง่ายแต่ความเป็นจริงแล้วในระหว่างการทำกระบวนการเหล่านี้มันยังมีปัจจัยและอุปสรรคต่างๆ อีกมากมายที่เราต้องรับมือ
สรุปว่ากระบวนการทั้ง 4 นี้เป็นเพียงวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจก็ว่าได้ การหยิบจับวิธีการไหนมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของตัวเองคือสิ่งสำคัญที่สุด หวังว่าหลักการทั้ง 4 นี้จะเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆ ได้เห็นข้อผิดพลาดของธุรกิจตัวเองได้ชัดขึ้นว่ายังขาดการบริการส่วนไหนที่ทำให้ลูกค้ายังไม่เข้าหาเรา จวบจนการนำวิธีการมาใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิมนะครับ
โฆษณา