13 พ.ค. 2021 เวลา 08:24 • ข่าว
สรุปสงครามร้อยปี อิสราเอล – ปาเลสไตน์ แบบเข้าใจง่าย
ความจุ้นจ้านของมหาอำนาจ นำมาสู่ปมขัดแย้งที่ไม่มีวันจบสิ้น
1
หลายคนที่ติดตามข่าวในช่วงนี้ก็คงจะได้เห็นการรายงานบรรยากาศของการสู้รบกันระหว่าง อิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่ได้เปิดฉากปะทะกันอย่างรุนแรงอีกครั้งตั้งแต่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นการโจมตีด้วยอาวุธหนักที่สุดในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส
1
หากกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ก็คงเป็นสิ่งที่คนทั้งโลกรู้ว่ามันเกิดขึ้นมายาวนานนับร้อยปี และเห็นการต่อสู้กัน รบกัน ยิงกันแบบนี้มาตลอดช่วงชีวิต จนหลงลืมไปแล้วว่าจุดเริ่มต้นจริงๆ ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินเดียวกันที่มีมาอย่างยาวนานนั้นเป็นอย่างไร Reporter Journey จะพาย้อนกลับไปที่สุดเริ่มต้นของสงครามที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา และความวุ่นวายจุ้นจ้านของมหาอำนาจโลก แบบฉบับกระสั้น ง่าย และกระชับ
4
นับตั้งแต่สิ้นสุดจักรวรรดิออตโตมัน หรือปัจจุบันคือประเทศตุรกี ที่ในอดีตเคยปกครองพื้นที่ที่เป็นประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน จากการล่มสลายของจักรวรรดิต่อการแพ้สงครามกับอังกฤษ และสงครามโลกครั้งที่ 1 ดินแดนของอิสราเอลที่แต่เดิมที่เป็นพื้นที่ของปาเลสไตน์ มีประชากรซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเป็นสัดส่วนมากกว่า 78% เพราะออตโตมันเป็นอาณาจักรที่ใช้ศาสนาอิสลามในการปกครองดินแดน
5
ส่วนชาวคริสต์ และชาวยิว ก็มีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย เฉลี่ยกันก็แบ่งกันไปศาสนาละ 10% ที่เหลือก็เป็นชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในดินแดนแห่งนี้
5
หลังจากที่สิ้นสุดยุคออตโตมัน อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจ ณ ขณะนั้นก็เข้ามาปกครองในดินแดนปาเลสไตน์ ก็เริ่มจุ้นจ้านในการประกาศว่า พื้นที่ของปาเลสไตน์ที่เต็มไปด้วยชาวอาหรับ เป็นดินแดนพันธสัญญาของชาวยิว ตามหลักของศาสนายูดาห์ หรือศาสนายิว ก็เชื่อว่าดินแดนของปาเลสไตน์เป็นที่จุดพระเจ้าเลือกให้ชาวฮีบรูอยู่ที่นี่ เนื่องจากตำนานที่เล่าว่า ‘โมเสส’ ลูกทาสชาวฮีบรูที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยภรรยของฟาโรห์จนกลายเป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์ ได้รับบัญชาจากพระเจ้าให้ปลดแอกชาวยิวในอียิปต์โดยให้พาชาวอิสราเอลหรือฮีบรู ออกเดินทางจากเมืองข้ามทะเลแดง เพื่อกลับไปยังปาเลสไตน์แผ่นดินแห่งพันธสัญญาซึ่งก็คือที่ตั้งของประเทศอิสราเอล
6
ขณะที่ศาสนาคริสต์ก็เชื่อว่า นครเยรูซาเล็มเป็นจุดที่พระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนและเป็นสถานที่ฝังพระศพของพระองค์ ขณะที่ชาวมุสลิมเชื่อว่า เยรูซาเล็มเป็นสถานที่พระศาสดาโมฮัมหมัดได้กลับสู่สรวงสวรรค์
2
🔵 ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของ 3 ศาสนา ที่ต้องแย่งชิง
2
ทั้ง 3 ศาสนาเชื่อว่าดินแดนที่เป็นประเทศอิสราเอลคือดินแดนที่พระเจ้าของที่ประทานแก่สาวกให้อยู่ เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่สุดท้ายความจุ้นจ้านของอังกฤษก็เลือกให้ดินแดนแห่งนี้เป็นพื้นที่พันธะสัญญาของชาวยิว โดยออกแถลงการณ์บัลฟุร์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ถึงความประสงค์ที่จะตั้งถิ่นที่อยู่ของชาวยิวขึ้นในปาเลสไตน์ ชาวยิวที่ลี้ภัยสงครามต่างก็กระจัดกระจายอยู่ในดินแดนยุโรป ซึ่งในตอนนั้นกำลังโดนไล่ล่าจากกองทัพนาซีเยอรมัน และมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอย่างหนัก ทำให้ชาวยิวในยุโรปต้องการจะกลับไปยังดินแดนที่เชื่อกันว่าเป็นพื้นที่ที่ควรจะอยู่
5
แน่นอนว่าจู่ๆ อังกฤษมาประกาศให้พื้นที่ของชาวอาหรับและชาวคริสต์ที่อยู่กันมานมนานนับพันปีเป็นของชาวยิว ซึ่งมีเพียงน้อยนิดไม่กี่เปอร์เซ็นต์ย่อมแสดงความไม่พอใจ คัดค้านไม่เห็นด้วยที่อังกฤษเข้ามาวุ่นวายจัดแจงแบบนี้ แต่ก็ทำอะไรมากไม่ได้ เพราะชาวยิวที่มีชาติยุโรปหนุนหลัง รวมทั้งขบวนการไซออนิสต์ ซึ่งก็คือกลุ่มผู้นำลัทธิสร้างอิสรเอลให้เป็นบ้านของชาวยิว ที่มีทั้งอำนาจเงินตรวและอิทธิพล เนื่องจากคนรวยชาวยิวในยุโรปนับว่าเป็นผู้ที่กุมอำนาจทางเศรฐกิจ และทำธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะการเงินและธนาคาร ทำให้เป็นแรงสนับสนุนการอพยพตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในอิสราเอล
7
เมื่อชาวยิวต่างหลั่งไหลมายังอิสราเอลมากขึ้นในช่วงระหว่างปี 1920-1940 ชาวอาหรับก็ค่อยๆ ถูกบีบและร่นถอยเรื่อยๆ จากที่เคยอยู่อาศัยทำมาหากินทั่วทั้งดินแดนอย่างอิสระ ก็ค่อยๆ ถูกยึดที่ทำกิน ไม่ก็ถูกกว้านซื้อจากชาวยิวจนต้องล่าถอยและแยกดินแดนออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ที่อยู่ฝั่งตะวันออก ที่ไม่เชื่อมต่อกับทะเลเปิดมีพรมแดนติดกับประเทศจอร์แดน และทะเลสาปเดดซีเรียกว่า ‘เขตเวสแบงก์’ และถือเอานครเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง
5
ส่วนอีกกลุ่มไปรวมตัวกันในพื้นที่ที่เรียกว่า ‘ฉนวนกาซา ’ ที่มีพื้นที่เล็กๆ เพียง 360 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งนั่นเป็นจุดสุดขอบของชาวปาเลสไตน์แล้ว เพราะถ้าถอยไปอีกจะเข้าเขตประเทศอียิปต์ ซึ่งก็ไม่ได้ต้อนรับเช่นกัน
3
🔵 ก่อตั้งประเทศอิสราเอล จุดเริ่มต้นของสงคราม
ด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษในช่วงแรกๆ ชาวยิวสามารถสถาปนารัฐของตัวเองบนดินแดนปาเลสไตน์ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดการปะทะกันอยู่เนืองๆ อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ผ่านมายุโรปก็มีความสูญเสียจากสงครามไม่ต่างกัน ทำให้อังกฤษจำเป็นต้องล่าถอยออกไปจากดินแดนปาเสลไตน์ในวันที่ 15 พ.ค. 2491 และผลักภาระให้องค์การสหประชาชาติ (UN) จัดการเรื่องดินแดนแทน ซึ่งในแผนคือมีการแบ่งที่ดินให้เป็นของชาวยิว 55% ส่วนที่เหลือก็เป็นของชาวอาหรับ
2
ขณะที่นครเยรูซาเล็มที่แต่ละศาสนาอ้างสิทธิ์ของการเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสดาตัวเองนั้น ก็ให้เป็นนครรัฐเสรี อันหมายถึงไม่ขึ้นตรงกับประเทศไหน หรือศาสนาใดเพียงศาสนาหนึ่ง ซึ่งชาวยิวและชาวคริสต์ก็ไม่ได้เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้ต่อต้านมากเท่ากับชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ถือว่าเยรูซาเล็มเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาของตัวเอง
4
การถือกำเนิดของประเทศน้องใหม่อย่างอิสราเอลที่ปกครองโดยชาวยิวที่ไร้บ้าน ไร้ถิ่นฐานมายาวนานถึง 2,000 กว่าปี กลายเป็นสมรภูมิสงครามของเพื่อนบ้านชาติอาหรับที่มาร่วมรับน้องทั้ง จอร์แดน อียิปต์ ซีเรีย อิรัก และเลบานอน ต่างเข้ามารุมทึ้งกันเป็นว่าเล่น และเป็นจุดกำเนิดของสงครามอาหรับ - อิสราเอล ครั้งที่ 1 ในปี 1947 ซึ่งสงครามครั้งแรกนี้อิสราเอลยังไม่สามารถต่อกรจากการรุมกินโต๊ะจากประเทศเพื่อนบ้านได้ เพราะประเทศก็เพิ่งจะก่อตั้งยังไม่มีอาวุธที่แข็งแกร่งในการทำสงคราม
4
การต่อสู้ที่ยืดเยื้อราว 1 ปี สุดท้ายก็มีการลงนามในสัญญาหยุดยิงปี 1948 และทำให้จอร์แดน ควบรวมดินแดนซึ่งปัจจุบันคือ เขตเวสต์แบงก์ และเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งรวมถึงเขตเมืองเก่า ขณะที่อียิปต์ควบรวมฉนวนกาซา ส่วนอิสราเอลได้พื้นที่ถึง 80% ของดินแดนปาเลสไตน์ยุคที่อังกฤษยึดครอง
1
ส่วนชาวปาเลสไตน์ก็ผลัดถิ่นกระจัดกระจายไปตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะในชนวนกาซา ที่มีชาวปาเลสไตน์รวมกลุ่มกันหนาแน่น บางส่วนก็หลบเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านเช่นอียิปต์ ที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถข้ามกลับมายังปาเลสไตน์ได้ ต้องติดในค่ายผู้ลี้ภัยมาถึง 2 ชั่วอายุคน
6
สงครามระหว่างอิสราเอล กับเพื่อนบ้านทิ้งช่วงหายไปสักพักแม้จะยังมีขู่ใส่กันบ้าง แต่ในช่วงที่สงครามพักยกกันไป อิสราเอลก็ได้พ่อบุญทุ่มรายใหญ่เข้ามาช่วยซึ่งก็คือสหรัฐฯ
2
🔵 เมื่อพญาอินทรีย์บินลงมาหนุนยิวด้วยตัวเอง
1
ด้วยการที่ชาวยิวก็อพยพไปอยู่ในสหรัฐมากที่สุดในโลก ส่วนใหญ่มีฐานะที่ดี เป็นทั้งนักการเมือง มหาเศรษฐีรายใหญ่ระดับโลก และทรงอิทธิพลด้านการเงินอย่างมาก ความช่วยเหลือจากสหรัฐทำให้อิสราเอลพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ จนอิสราเอลกลายเป็นประเทศยิวที่พัฒนาอย่างสุดขีดในพื้นที่ของโลกอาหรับ ดังนั้นการจะต่อกรกับอิสราเอลก็ไม่ได้ง่ายเหมือนในอดีต
3
สงครามอาหรับ – อิสราเอลครั้งต่อมาเกิดขึ้นมนปี 1967 ที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six Day War) อิสราเอลสามารถยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออก เขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซา พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ไว้ได้ ซึ่งประเทศพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ก็เห็นด้วยกับการยึดนครเยรูซาเล็มและเป็นเพียงไม่กี่ชาติที่ยอมรับว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของอิสราเอล
4
การยึดคืนของอิสรเอลทำให้ชาวปาเลสไตน์เริ่มถูกขับไล่ออกจากดินแดนนครศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งใจจะสถาปนาเป็นเมืองหลวงในอนาคต และทำให้ชาวปาเลสต์ไตน์ต้องกระจัดกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในอิสราเอลเป็นจุดๆ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์เริ่มเพิมากขึ้น และนำไปสู้การก่อตั้ง ‘องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์’ (PLO) ขึ้นมา โดยมี นายยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นประธาน ซึ่งเป้าหมายเดียวคือการยึดดินแดนปาเลสไตน์ที่อังกฤษเคยครอบครองคืนมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มติดอาวุธต่างๆ ที่มุ่งหวังทำลายผลประโยชน์ของอิสราเอลในทุกๆ วิถีทาง
2
🔵 สันติภาพที่ไม่มีจริง
1
ตลอด 70 กว่าปีที่ผ่านมาหลังสิ้นสุดสงคราม 6 วัน อิสราเอลและปาเลสไตน์ ไม่เคยมีความสงบสุขแบบนานๆ เลยสักที เนื่องจากมีเหตุการณ์รุนแรง มีการปะทะกัน มีการยิงจรวดใส่กันอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ท่ามกลางความขัดแย้งนี้อิสราเอลยังพัฒนาประเทศต่อไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง กลายเป็นประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีของโลก ในขณะที่ปาเลสไตน์อยู่ในสภาพที่ตรงกันข้าม ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน ความขัดแย้งต่างๆ ยังคงรุมเร้าอยู่ภายในด้านหลังกำแพงที่แบ่งกั้นระหว่างคน 2 กลุ่ม
6
ในส่วนของประเทศในโลกอาหรับต่างก็เริ่มพยายามฟื้นความสัมพันธ์กับอิสราเอลทั้ง บาห์เรน คูเวต อิรัก โอมาน ซาอุดีอาระเบีย และยูเออี แม้หลายครั้งตลอด 30 ปีที่ผ่านมาที่เริ่มมีการเจรจาหาทางออกของปัญหานี้จะสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง เพื่อแลกกับการที่อิสราเอลต้องทำอะไรบางอย่างในการให้โลกอาหรับยอมรับ เช่น การคืนแหลมไชนายให้กับอียิปต์ คืนที่ราบสูงโกลันให้ซีเรีย ซึ่งทำให้ความตึงเครียดระหว่างอียิปต์และอิสราเอลที่เคยบาดหมางกันลดลงสู่ระดับปกติ แต่การถอนกำลังทหารอิสราเอลออกจากเขตเวสต์แบงก์ ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์
2
การฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูต การค้า กับจอร์แดน รวมทั้งยูเออีที่เมื่อปี 2563 ที่เป็นสัญญาณสำคัญในการพยายามเป็นตัวอย่างของชาติอาหรับที่ต้องการจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยอิสราเอลและยูเออีได้ลงนามในแผนสันติภาพอาหรับ เพื่อฟื้นความสัมพันธ์อันสมประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย รวมทั้งภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน
4
บาร์เรนกับโอมาน ก็มีความคิดไปในทิศทางเดียวกันกับยูเออี และน่าจะเริ่มลงนามในสัญญาฟื้นฟูความสัมพันธ์ร่วมกันได้
2
ซาอุดิอาระเบีย ยังคงมีท่าทีที่นิ่งเฉย แม้ว่าจะเป็นตัวตั้งตัวตีในการริเริ่มแผนฟื้นฟูอาหรับก็ตาม เนื่องจากยังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันภายในราชวงศ์ถึงประเด็นดังกล่าว
3
ส่วนตุรกี การ์ตา และอิหร่าน ออกตัวชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ยูเออีทำ และพร้อมเรียกทูตที่ประจำอยู่ในกรุงอบูดาบีกลับประเทศเพื่อแสดงการต่อต้านสนธิสัญญาดังกล่าว
1
แน่นอนว่าปาเลสไตน์ก็ไม่พอใจอย่างมากที่ชาติอาหรับหลายชาติเริ่มจะญาติดีกับอิสราเอล ทั้งที่เป็นชาติมุสลิมเหมือนกัน และพร้อมตอบโต้ทางการทูตกับประเทศต่างๆ ที่จะผูกสัมพันธ์กับอิสราเอล แทนที่จะเขาข้างปาเลสไตน์
9
🔵 การปะทะกันครั้งล่าสุดส่งสัญญาณสงครามระลอกใหม่
นานาชาติเริ่มแสดงความกังวลมากขึ้นหลังจากการโจมตีระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ถ่ายทอดออกไปสู่สายตาชาวโลก จากชนวนเหตุความขัดแย้งจากการที่อิสราเอลพยายามขับไล่ครอบครัวชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่ของนครเยรูซาเล็ม เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวไปพัฒนาให้ชาวยิวอยู่อาศัย
2
จากการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอลและกลุ่มผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ที่ขัดค้านการกระทำของชาวยิว นำไปสู่การยิงจรวดโจมตีกันทางอากาศในเวลาเพียงแค่ไม่กี่วัน สะท้อนให้เห็นว่าความขัดแย้งที่ฝังรากลึกระหว่างทั้งสองชาติพันธุ์ไม่มีวันจางหายไป
2
แม้ปาเลสไตน์จะพยายามยิงจรวจเข้าไปทำลายเป้าหมายในกรุงเทลอาวีฟ เมืองหลวงของอิสราเอล แต่ก็ไม่สามารถฝ่าแนวกั้นของระบบต่อต้านมิสไซล์ของอิสราเอลได้ เนื่องจากประเทศนี้มีระบบการป้องกันการโจมตีทางกาศที่ดีที่สุดของโลก ตรงกันข้ามกับปาเลสไตน์ที่โดนถล่มด้วยจรวดจากฝั่งอิสราเอลอย่างรุนแรงจนอาคารสูงนับสิบชั้นถล่มลงเพียงชั่วพริบตา
5
นานาชาติทั้งยุโรป รัสเซีย สหรัฐ รวมทั้งสหประชาชาติ เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการใช้ความรุนแรง และเลิกขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากพื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีการตอบรับจากนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ที่ต้องการใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อจัดการกับปาเลสไตน์ และต้องการครอบครองเยรูซาเล็ม
6
ไม่มีทางรู้ได้ว่าการปะทะกันรอบนี้จะสามารถยุติลงได้เมื่อใด แต่ที่แน่ๆ คือ สงครามคูเสด ที่ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ และศาสนา ยังคงไม่มีวันจบสิ้น ต่อให้วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสจะร้ายกาจเพียงใด ก็ไม่มีวันหยุดให้มนุษย์โลกหยุดฆ่ากันได้เช่นกัน
1
นี่เป็นเพียงการสรุปเหตุการณ์ในร้อยปีสงครามอิสราเอล – ปาเลสไตน์ แบบคราวๆ เท่านั้นซึ่งคงจะทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจต้นเหตุที่เกิดขึ้นอย่างๆ ง่ายๆ และรวบรัดว่ามันเกิดอะไรขึ้นในช่วงนี้บนดินแดนที่แต่ละฝ่ายบอกว่าศักดิ์สิทธิ์ แต่อันที่จริงมันคือดินแดนที่ขัดแย้งและนองเลือดจากการแย่งชิงของมนุษย์นั่นเอง
4
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
4
โฆษณา