14 พ.ค. 2021 เวลา 02:00 • สุขภาพ
10 หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า
ไวรัสก่อโรคโควิดแพร่ทางอากาศได้
นับตั้งแต่การระบาดของไวรัสก่อโรคโควิด มาตรการการป้องกันโรควางอยู่บนพื้นฐานที่ว่าไวรัสแพร่กระจายผ่านหยดของเหลวเล็กจิ๋ว (droplet) ที่ออกมาจากทางเดินหายใจ และเนื่องจากหยดของเหลวจะตกลงสู่พื้นโลกตามแรงโน้มถ่วงอย่างรวดเร็ว ทำให้มาตรการป้องกันในที่ร่มและกลางแจ้งไม่แตกต่างกันมาโดยตลอด
1
แต่หากไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายผ่านอากาศได้ เชื้ออาจแพร่กระจายผ่านผ่านละอองลอยจากการหายใจ พูดตะโกน ร้องเพลง จามหรือไอ แล้วอยู่ในอากาศได้นานมาก ดังนั้นการลดการแพร่กระจายผ่านอากาศต้องใช้มาตรการด้านการระบายอากาศ การกรองอากาศ การลดความแออัด ช่วงวลาที่อยู่ภายในอาคารปิด และอุปกรณ์ป้องกันระดับสูงกว่าเดิม
คณะนักวิจัยนำโดยนักวิจัยจากออกซ์ฟอร์ดตีพิมพ์หลักฐาน 10 ข้อในวารสารงานวิจัย Lancet ที่สนับสนุนว่าไวรัสก่อโรคโควิดสามารถแพร่กระจายผ่านอากาศได้
การแพร่กระจายผ่านหยดของเหลวเล็กจิ๋ว (droplet) กับ การแพร่กระจายผ่านอากาศ (airborne) ที่มา : Springer
1. การติดเชื้อจำนวนมากเป็นผลมาจากซูเปอร์สเปรดเดอร์ (Super-spreading event) การวิเคราะห์โดยละเอียด แสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายผ่านอากาศ (airborne) ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการแพร่กระจายผ่านหยดของเหลว (droplet)
1
2. มีการพบหลักฐานว่าไวรัสก่อโรคโควิดสามารถแพร่กระจายในหมู่ผู้คนที่พักอยู่ในห้องติดกัน แต่ไม่เคยพบหน้ากันภายในโรงแรมซึ่งใช้เป็นสถานกักกันโรค
ไวรัส SARS‑CoV‑2 ที่มา : Wikipedia
3. การแพร่กระจายของไวรัสก่อโรคโควิดโดยไม่มีอาการหรือไม่แสดงอาการ ไม่ไอ ไม่จาม ถือเป็นหนึ่งในสามของการแพร่กระจายทั้งหมดทั่วโลก ข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่าการแพร่กระจายผ่านอากาศคือวิธีการแพร่กระจายหลัก การทดลองวัดโดยตรงแสดงให้เห็นว่าการพูดก่อให้เกิดละอองลอย (aerosol) หลายพันอนุภาคและละอองฝอยขนาดใหญ่เพียงไม่กี่อนุภาค เป็นการสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่ามีการแพร่กระจายผ่านอากาศเช่นกัน
4. การแพร่กระจายของไวรัสก่อโรคโควิดภายในอาคารนั้นสูงกว่ากลางแจ้ง และลดลงอย่างมากเมื่อมีการระบายอากาศภายในอาคาร ข้อสังเกตทั้งสองสนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่าการแพร่กระจายผ่านอากาศคือวิธีการแพร่กระจายหลัก
1
5. พบการติดเชื้อในโรงพยาบาล ตามสถานบริการทางสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งใช้มาตรการป้องกันการสัมผัสและละอองฝอยอย่างเข้มงวดและใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันหยดละอองฝอย แต่ไม่รวมถึงละอองลอยในอากาศ
ที่มา : Freepik
6. การทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าไวรัสก่อโรคโควิดยังแพร่เชื้อได้หลังอยู่ในอากาศนานถึง 3 ชั่วโมง
7. พบไวรัสก่อโรคโควิดในไส้กรองอากาศและท่อภายในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคโควิด ซึ่งมีเพียงละอองลอยในอากาศเท่านั้นที่เข้าไปถึงสถานที่เหล่านี้ได้
8. การศึกษาสัตว์ติดเชื้อที่ถูกขังในกรงซึ่งเชื่อมต่อกับกรงสัตว์ที่ไม่ติดเชื้อผ่านทางท่ออากาศแสดงให้เห็นการแพร่กระจายของไวรัสก่อโรคโควิดซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิธีอื่นใด เว้นแต่การแพร่กระจายผ่านละอองลอยในอากาศเท่านั้น
9. เท่าที่เราทราบ ยังไม่มีการศึกษาใดซึ่งให้หลักฐานที่หนักแน่นหรือสอดคล้องกันเพียงพอที่จะหักล้างสมมติฐานที่ว่าไวรัสก่อโรคโควิดแพร่กระจายผ่านอากาศ แม้จะพบผู้ไม่ติดเชื้อทั้งที่สูดอากาศร่วมกับผู้ติดเชื้อ แต่สถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดจากปัจจัยร่วมหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงความแปรปรวนของปริมาณเชื้อที่ผู้ป่วยแต่ละรายขับออกมาซึ่งต่างกันได้หลายสิบเท่าและความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม (โดยเฉพาะสภาพการระบายอากาศ)
1
สภาพการระบายอากาศที่ดีและไม่ดี ที่มา : The United States Centers for Disease Control and Prevention
10. จริงๆแล้วหลักฐานโดยตรงมากๆที่สนับสนุนการแพร่กระจายของเชื้อในหยดของเหลวนั้นมีจำกัด มีการนำความง่ายในการติดเชื้อจากบุคคลที่อยู่ใกล้กันมาอ้างเป็นข้อพิสูจน์ว่าไวรัสแพร่กระจายผ่านหยดของเหลวจากทางเดินหายใจ แต่การแพร่กระจายระยะใกล้ส่วนใหญ่และการแพร่กระจายระยะไกลบางส่วนเมื่อหายใจในอากาศเดียวกัน น่าจะเกิดจากการเจือจางของอากาศที่หายใจออกไปเมื่อยู่ไกลจากผู้ติดเชื้อมากกว่า
งานวิจัยนี้เชื่อว่าการแพร่กระจายส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่านอากาศ และวงการสาธารณสุขควรดำเนินการตามข้อมูลดังกล่าวโดยไม่รอช้า
โฆษณา