14 พ.ค. 2021 เวลา 04:13 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือเทคนิค ”อ่านให้ไม่ลืม” ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ 📚
1
เขียนโดย คะบะซะวะ ชิอง
แปลโดย สำนักพิมพ์วีเลิร์น
หนังสืออีกเล่มที่เขียนโดยจิตแพทย์นักเขียนชื่อดังของญี่ปุ่น คุณคะบะซะวะ ชิอง ซึ่งเพจสิงห์นักอ่านได้รีวิวไปแล้วเล่มนึง คือเรื่อง เทคนิค “การจำแบบไม่ต้องจำ” ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ ไว้ที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้ครับ ใครพลาดตามไปอ่านกันได้เลยครับ
16
คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณอะไรเยอะแล้วสำหรับผู้เขียนที่เป็นสุดยอดนักอ่านและก็เป็นสุดยอดนัก “ส่งออก”หรือทำ “output” อีกด้วยครับ
ลองมาดูตัวเรากันครับว่าใครเป็นอย่างนี้บ้างครับ?
“อ่านปุ๊ปลืมปั๊ป”
“อ่านไปไม่เห็นจะเข้าหัวเลย”
“อ่านแทบตายจำอะไรไม่ได้เลย”
“เล่มนี้อ่านจบแล้ว แต่เอ๊ะ ! เนื้อหามันว่ายังไงนะ”
1
หากคุณมีอาการเหล่านี้หนังสือเล่มนี้ก็น่าจะเหมาะเลยครับ เพราะผู้เขียนได้แชร์เทคนิคต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เรารู้แล้วและยังไม่รู้!
💡 ถามว่าเราอ่านหนังสือไปทำไมกันครับ?
1
ก็น่าจะเพื่อให้เราได้ความรู้ สนุก และเพลิดเพลิน แต่ถ้าเราอ่านไปแล้วจำอะไรไม่ได้เลย ก็คงน่าเสียดายไม่น้อยนะครับ
การอ่านหนังสือถือเป็นวิธีการ “นำเข้า” ข้อมูลหรือความรู้ที่ดีและง่ายที่สุดชนิดหนึ่งครับ ยิ่งเราสามารถรับความรู้เข้ามามากเท่าไหร่ เราก็มีโอกาสที่จะ “ส่งออก” ได้มากเท่านั้นครับ
……………..
“หนังสือดีกว่าข้อมูลในอินเตอร์เน็ตยังไง” 📚
🔎 ในยุคปัจจุบันนี้ข้อมูลข่าวสาร บทความต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมายจริง ๆ ครับ จนหลายต่อหลายคนมองว่าเราไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือหรอก อยากรู้อะไรก็หาอ่านเอาในอินเตอร์เน็ตได้หมด
👉🏻 แต่ผู้เขียนนั้นได้บอกไว้ว่าข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นเหมือนกับ “อาหารชิมฟรี” ที่เป็นของที่ถูกตัดแบ่งออกมา และมักจะขาดความสมบูรณ์ มีแค่บางส่วน ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ ที่คุณจะได้ข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบและลึกซึ้งกว่า
2
อีกทั้งสิ่งที่ได้จากอินเตอร์เน็ตนั้นส่วนใหญ่จะเป็น “ข้อมูล” มากกว่าความรู้จริง ๆ ที่ผ่านการเรียบเรียงและกลั่นกรองมาแล้วอย่างทีได้จากหนังสือครับ 💡
1
……………..
“การอ่านหนังสือคือการซื้อประสบการณ์”
เวลาที่เราต้องการทำอะไรใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยทำ เราก็ไม่จำเป็นต้องลองผิดลองถูกไปซะทุกอย่าง แต่ควรจะหาหนังสือมาอ่าน เพราะสิ่งที่เขียนอยู่ในหนังสือนั้นก็กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนอาจจะนับสิบ ๆ ปีด้วยซ้ำ และทุกวันนี้ใครอยากจะรู้เรื่องอะไรก็มีหนังสือแทบจะทุกเรื่องที่เราอยากรู้ครับ “การอ่านหนังสือก็เท่ากับการซื้อประสบการณ์ในราคาประหยัด” 🤩
2
……………..
“เทคนิคการอ่านให้จำได้ก็คือการส่งออก”
1
เทคนิค ”การส่งออก” นี้ผู้เขียนได้เขียนไว้ทั้งในหนังสือ power of output แล้วก็เทคนิค “การจำแบบไม่ต้องจำ” ก็คือ การพยายามส่งออก 3-4 ครั้งภายใน 7-10 วันนั่นเองครับ หรือประมาณ 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ถ้าคุณทำได้จะจำเรื่องที่อ่านนั้นได้แม่นยำเลยหละครับ
1
ซึ่งเรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยเรื่องข้อมูลในสมองของมนุษย์นั่นเองครับที่มนุษย์เราจะเลือกที่จะเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในสมองส่วนความทรงจำระยะยาว การที่เราเรียกข้อมูลอันนั้นออกมาใช้บ่อย ๆ หรือ “ส่งออก” บ่อย ๆ นี่หละครับจะทำให้สมองเรารับรู้ว่าข้อมูลนี้มีความสำคัญและจะย้ายข้อมูลนี้ไปยังความทรงจำระยะยาวครับ
💡 แล้ววิธีการอ่านหนังสือแล้วส่งออกทำได้ยังไงบ้างครับ
1. อ่านพร้อมกับการจดโน้ตหรือใช้ปากกาขีดเน้นข้อความสำคัญ 🖍
1
2. เล่าเนื้อหาให้คนอื่นฟัง 🗣
2
3. เขียนความเห็น ความรู้สึก หรือรีวิวเก็บไว้หรือลงทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก ✍️
1
……………..
“การจดโน้ตหรือใช้ปากกาขีดเน้นข้อความสำคัญ” 📝
ผู้เขียนแนะนำว่านอกจากเราจดโน้ตสรุปหรือขีดเน้นข้อความสำคัญให้เราลองจดแรงบันดาลใจหรือไอเดีย หรือสิ่งที่ฉุกคิดออก หรือความคิดเห็นที่ได้จากการอ่านหน้านั้น ๆ ลงไปด้วย
📌 ไม่ว่าคุณจะเขียนลงไปในหนังสือเลยหรือจะเขียนลงบนโพสต์อิทแล้วแปะไว้ในหนังสือก็ได้เหมือนกันแล้วแต่คุณจะชอบ เพราะในทางประสาทวิทยาการอ่านกับการขีดเขียนจะใช้สมองคนละส่วนกัน การทำแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้สมองทำงานหลาย ๆ ส่วนพร้อมกัน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการทำแบบนี้ทำให้เรา รับเข้า (อ่าน) และส่งออก (เขียน) ไปพร้อม ๆ กันเลยทำให้เราสามารถจดจำเนื้อหาในหนังสือได้ดีขึ้น
2
……………..
“เล่าเนื้อหาให้คนอื่นฟัง” 🗣
การที่คุณเล่าเรื่องหรือแนะนำคนอื่นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ จะบังคับให้คุณต้องพยายามเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองออกมาใช้ ถูกมั้ยครับ?
เพราะเหตุนี้ครับคุณจึงสามารถจำสิ่งที่อ่านไปได้ดีขึ้น และมันจะดียิ่งขึ้นถ้าคุณได้พูดคุยเล่าให้หลายคนฟัง เพราะยิ่งคุณพูดถึงมันบ่อยเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งจำได้แม่นขึ้นเท่านั้นครับ
……………..
1
“อ่านจบแล้วต้องแชร์” ✍️
การแชร์ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อหนังสือลงโซเชียลเน็ตเวิร์กนับเป็นการกระตุ้นสมองให้เรียกข้อมูลนั้น ๆ ออกมาใช้ได้ดีอีกวิธีหนึ่งเลย
💡 โดยเฉพาะการแชร์ลงโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีข้อดีมากกว่าการจดเก็บไว้อ่านคนเดียวครับ คือถ้าเราลองคิดว่าเราต้องเขียนลงให้คนหลาย ๆ คนอ่านเราคงต้องพยายามเขียนให้มันดีนิดนึงถูกมั้ย เวลามีคนมีกดไลค์หรือแสดงความเห็น มันก็ทำให้เรากดเข้าไปดูและจะไปกระตุ้นให้นึกถึงสิ่งที่โพสต์ไว้อีกครับ ซึ่งเปรียบเสมือนการ “ทบทวน” เรื่องนั้นซ้ำ ๆ ทำให้เราจำได้ดีเข้าไปอีกครับ
📌 ซึ่งผลที่ได้คือสองเด้งเลยครับ !! คือนอกจากเราจะจำได้ดีขึ้นแล้วยังได้พัฒนาทักษะการเขียนของเราอีกด้วยครับ
นอกจากนี้เค้ายังบอกอีกว่าหากเราอยากท้าทายตัวเรามากยิ่งขึ้น ให้เขียนบทวิจารณ์หนังสือ หรือทำรีวิวดูครับ ซึ่งมันจะทำให้คุณต้องอ่านเนื้อหาละเอียดขึ้น หาข้อมูลเพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ (อันนี้ตรงกับผมที่ทำเพจ สิงห์นักอ่านนี้ขึ้นมาเลยครับ) 😁
……………..
“เทคนิคการจำกัดเวลาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำได้” ⏳
เคยได้ยินมั้ยครับว่า “เมื่อจำกัดเวลาเราจะมีสมาธิมากขึ้น”
การจำกัดเวลาทำให้มนุษย์เราเค้นประสิทธิภาพของสมองออกมาอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นเวลาอ่านหนังสือให้เราตั้งเป้าหมายการอ่านให้จบกี่หน้าหรือกี่บทในเวลาที่กำหนดครับ มันจะทำให้คุณมีสมาธิกับการอ่านมากกว่าการอ่านไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีเป้าหมายครับ
1
💡 นอกจากนั้นเรามักจะจดจำเนื้อหาใน 5 นาทีแรกกับ 5 นาทีสุดท้ายได้ดีกว่าตรงกลางครับ ดังนั้นเวลาอ่านให้ทยอยอ่านครั้งละสั้น ๆ แล้วพัก เช่น สมมติเรามีเวลาอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมง ให้เราแบ่งอ่านครั้งละ 15 นาที 4 ครั้ง โดยพักระหว่างช่วง และไม่ควรอ่านรวดเดียว 60 นาที เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์เราครับที่ความมุ่งมั่นในช่วงต้นกับช่วงท้ายมักจะสูงกว่าระหว่างทาง เหมือนเวลาเราทำอะไรแรก ๆ ใหม่ ๆ เราจะรู้สึกได้ใช่มั้ยครับว่าเรามุ่งมั่นกับมันมาก แต่พอทำไปสักพักความมุ่งมั่นเรามักจะลดลง
2
……………..
“การอ่านกับการนอน” 🥱
การอ่านหนังสือก่อนนอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่สมองจะเก็บความทรงจำได้มากที่สุด นอกจากนี้มันยังช่วยทำให้เราหลับง่ายอีกด้วยครับ (ผมนี่เป็นบ่อยเลย 555)
💡 ทำไมอ่านก่อนนอนแล้วจดจำได้ดีครับ?
เพราะว่าระหว่างที่เรานอนหลับสมองจะไม่รับข้อมูลใหม่เพิ่ม ทำให้สมองเรานั้นสามารถที่จะรับข้อมูลที่เพิ่งอ่านไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ ดังนั้นหากใครต้องการท่องจำหรือเตรียมสอบ การอ่านหนังสือก่อนนอนจะทำให้เราจำได้ดีที่สุดครับ
……………..
“การสแกนดูหนังสือทั้งเล่มก่อน” 🧐
1
คนส่วนใหญ่เวลาจะเริ่มอ่านหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งเราก็มักจะค่อย ๆ เปิดอ่านไปทีละหน้าตั้งแต่หน้าแรกใช้มั้ยครับ แต่ผู้เขียนได้แนะนำไว้ว่าให้เราลองเริ่มต้นด้วยการ “สแกน” หรือเปิดดูผ่าน ๆ ทั้งเล่มก่อนแล้วค่อยเริ่มลงมืออ่านครับ
1
📌 เหตุผลที่เราควรจะต้องดูผ่าน ๆ ก่อนอ่านจริงก็มีอยู่ 3 ข้อครับได้แก่
1. เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมก่อน
2. กำหนดเป้าหมายในการอ่าน
3. เพื่อตัดสินใจว่าจะอ่านแบบคร่าว ๆ หรืออ่านแบบละเอียด
1
การสแกนอาจจะเริ่มด้วยการเปิดดูสารบัญว่ามีเรื่องหรือหัวข้ออะไรบ้าง ก่อนที่จะเปิดผ่าน ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมของหนังสือเล่มนั้น ๆ ก่อนว่ามีอะไรบ้าง เชื่อมโยงกันอย่างไร
ต่อมาก็ให้เราลองตั้งเป้าและกำหนดเป้าหมายว่าเราอยากรู้อะไร หรือเรียนรู้อะไรจากหนังสือเล่มนี้ครับ สุดท้ายก็ให้เราลองดูครับว่าด้วยเนื้อหาประมาณนี้ ความยาวประมาณนี้ เราอยากอ่านแบบละเอียดหรืออยากอ่านแค่คร่าว ๆ แล้วให้กำหนดว่าเราจะอ่านวันละกี่หน้าหรืออ่านให้จบภายในเมื่อไหร่
ด้วยวิธีการที่แนะนำนี้จะช่วยให้เรามีเป้าหมายในการอ่านที่ชัดเจน อ่านได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยครับ 😃
……………..
“อ่านอย่างมีความสุขทำให้จำได้ดีขึ้น” 🤓
เราเคยสังเกตตัวเรามั้ยครับว่าเวลาเราอ่านอะไรที่เราชอบและตื่นเต้นมาก ๆ เช่น อ่านการ์ตูน นี่เราจะจำเนื้อเรื่องได้แม่นยำมาก การ์ตูนบางเล่มเราอ่านตั้งแต่เด็กแต่ยังจำได้จนโตถูกมั้ยครับ
1
💡 เพราะอะไรเหรอครับ?
👉🏻 ก็เพราะเรามีความสุขและสนุกในการอ่านยังไงหละครับ ดังนั้นเราควรจะหาความสุขหรือความสนุกในการจะอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ เช่น สมมติเราเจอหนังสือที่คนโน้นคนนี้บอกว่าดีมาก ๆ น่าอ่าน อ่านสนุกและเรากำลังตื่นเต้น มีแรงจูงใจ ก็ให้รีบอ่านหนังสือเล่มนั้นให้เร็วที่สุดครับ เหมือน “ตีเหล็กให้ตีตอนร้อน” เพราะการที่เราตื่นเต้นทำให้ “โดปามีน” (Dopamine) ในสมองหลั่งออกมาและจะทำให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้นเลยครับ
นอกจากนี้เรายังควรจะอ่านในบทหรือเนื้อหาตอนที่เราอยากรู้มาก ๆ ก่อน (ถ้าเป็นไปได้) เพราะเราจะมีความมุ่งมั่นและมีสมาธิสูง การอ่านไปตามลำดับนั้นกว่าจะถึงเนื้อหาตอนที่เราสนใจอาจจะใช้เวลานานจนแรงจูงใจในการอ่านเราลดลงหรือหมดลงไปได้ครับ
……………..
1
“ให้หาหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ของเราในเรื่องนั้น”
เคยเป็นกันมั้ยครับที่เราซื้อหนังสือตามคนอื่นมาอ่าน แต่มันรู้สึกว่ายากเกินไป อ่านไม่เข้าใจ อ่านจบแทบจะจำอะไรไม่ได้เลย
1
การเลือกหนังสือมาอ่านแล้วให้จำได้ดีก็ต้องเลือกหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ของเรื่องด้วยครับ ไม่ง่ายหรือไม่ยากเกินไป
1
การอ่านหนังสือที่ง่ายเกินไป ก็มีข้อเสียครับ ทำให้เรารู้สึกว่ารู้หมดแล้ว อ่านแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย
💡 ซึ่งผู้เขียนก็ได้แนะนำเทคนิคการเลือกหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ของเราคือ ให้เราลองเปิดอ่านสารบัญแล้วก็บทนำดูก่อนครับ เนื้อหามีความยากง่ายขนาดไหน ลึกขนาดไหน หรือส่วนใหญ่ในบทนำผู้เขียนก็มักจะเขียนว่าหนังสือของเค้าเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มไหนครับ
หรือสมัยนี้อาจจะลองหาอ่านรีวิวหนังสือหรือดูคำวิจารณ์ก่อนก็ได้ครับ เว็บไซต์ขายหนังสือต่าง ๆ อย่าง amazon.com นั้นมีคนเข้าไปให้ความเห็นกันเยอะมาก ส่วนตัวผมจะใช้ตัวแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า “Goodreads” ครับ มีคนเข้าไปวิจารณ์และรีวิวกันเยอะเหมือนกันครับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ติดตามความก้าวหน้า (tracking) ในการอ่านหนังสือของเราได้อีกด้วยครับ
1
……………..
📍 หนังสือเทคนิค “อ่านให้ไม่ลืม” ที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ นั้นนอกจากจะเป็นหนังสือที่เน้นลงรายละเอียดของเทคนิคการอ่านให้จำได้ดี ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่คล้ายคลึงกับหนังสืออีกเล่ม คือ เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ แล้วผู้เขียนยังเขียนถึงเทคนิคการเลือกหนังสือ การซื้อหนังสือ หรือการอ่านหนังสือแบบอีบุ๊ค (e-book) นอกจากนี้ท้ายเล่มผู้เขียนยังได้เขียนแนะนำหนังสือที่ควรค่าแก่การอ่านในด้านต่าง ๆ ที่ผู้เขียนอ่านอีกด้วยครับ
📖 การอ่านหนังสือนั้นเป็นรูปแบบการรับข้อมูลและความรู้ที่ทำได้ง่ายและสะดวกมาก ๆ ครับ หนังสือนั้นเป็นเหมือนแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาต่าง ๆ จากคนทั่วโลก ซึ่งความรู้เหล่านี้นั้นสามารถช่วยเปิดประตูให้เราเจออะไรใหม่ ๆ ได้ครับ
คนเราทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองได้ และหนังสือก็เป็นสิ่งหนึ่งครับที่ช่วยสอนเราได้
เมื่อเราอ่านหนังสือจนเป็นนิสัยแล้วพร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้อ่านไปประยุกต์ใช้จริง มันก็น่าจะช่วยให้เราสามารถมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเดิมได้ครับ
👉🏻 แต่สิ่งแรกก่อนที่เราจะสามารถนำไปใช้เรา เราก็จำเป็นต้อง “จดจำ” เนื้อหาสาระในหนังสือให้ได้ก่อนครับ เพราะหากเราสามารถอ่านหนังสือได้เป็นร้อยเล่มแต่ไม่สามารถจำอะไรได้เลย ก็เหมือนเราจะเสียเวลาไปโดยไม่คุ้มค่าเลยครับ
ส่วนตัวผมชอบที่ผู้เขียนบอกว่า การอ่านหนังสือนั้นเหมือนเราได้เรียนรู้ประสบการณ์ ได้ความรู้จากคนหลาย ๆ คนในเวลาหลาย ๆ ปีย่อลงมาให้เราได้เรียนรู้ในเวลาที่สั้นลงมาก เรียกได้ว่าเป็น “วิธีพัฒนาตนเองแบบก้าวกระโดด” เลยครับ...😃
#BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - สิงห์นักอ่าน
โฆษณา