15 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ย้อนรอย 'สหวิริยา' จากธุรกิจรับซื้อเศษเหล็ก
สู่บริษัทข้ามชาติและการเข้าฟื้นฟูกิจการ
1
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ผู้ผลิตเหล็กแผ่นครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจรับซื้อเศษเหล็กเมื่อประมาณ 80 ปี ที่ผ่านมา
จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนเมื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการเหล็กเพิ่มขึ้นมาก และทำให้ธุรกิจขยายตัวจนสามารถสะสมทุนตั้งโรงงานผลิตเหล็ก และขยายธุรกิจต่อเนื่องจนเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของประเทศไทย
5
'สหวิริยา' อยู่ในธุรกิจเหล็กกลางน้ำ พร้อมทั้งวาดฝันก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตเหล็กต้นน้ำ หรือ โรงถลุงเหล็ก รายแรกของประเทศไทย ที่ บางสะพาน จ.ประจวบคีริขันธ์ ในช่วง 10 กว่า ปีที่ผ่านมา
2
"วิน วิริยประไพกิจ" กับการแถลงข่าวครั้งแรกในรอบหลายปีนับตั้งเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2564 (ภาพโดย วัชร ปุษยะนาวิน ผู้สื่อข่าวกรุงเทพธุรกิจ)
'สหวิริยา' ต้องการยกระดับจากผู้ผลิตกลางน้ำเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ ตามเดิมที่ต้องนำเข้าเหล็กแท่ง (Slab) มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการรีดร้อนและรีดเย็น เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กส่งต่อให้ผู้สาหกรรมต่างๆ
2
หาก 'สหวิริยา' ก้าวขึ้นมาสู่ต้นน้ำได้จะทำให้ควบคุมต้นการผลิตได้ดีขึ้นเพราะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบให้โรงงานเหล็กเอง และสามารถผลิตเหล็กแท่งป้อนได้ทั้งตลาดในประเทศและอาเซียนที่เป็นตลาดนำเข้าเหล็กแท่งสำคัญของเอเชีย
ความพยายามในการเป็นเจ้าของโรงถลุงของ 'สหวิริยา' ไม่เป็นผลถึงแม้รัฐบาลมีแผนที่จะผลักดันเหล็กต้นน้ำในประเทศไทย และลงพื้นที่ศึกษาหลายแห่ง เช่น อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี แต่โครงการไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะมีต้านแรงคัดค้านจากการใช้พื้นที่มากกว่า 10,000 ไร่ เพื่อสร้างโรงถลุงที่มองเป็นผู้ร้ายต่อสิ่งแวดล้อม
2
'สหวิริยา' ไม่สามารถผลักดันโครงการเหล็กต้นน้ำที่บางสะพานได้ ถึงแม้จะมีท่าเรือน้ำลึกที่เหมาะสมในการขนถ่ายสินแร่ ทำให้มีความพยายามออกไปลงทุนในต่างประเทศ และนำมาสู่การเข้าไปซื้อโรงถลุงเหล็ก Teesside Steelworks ที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเงินลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2553
4
โรงถลุงเหล็ก Teesside Steelworks อังกฤษ ที่สหวิริยาเข้าไปซื้อเมื่อปี 2553 (ภาพจากรายงานประจำปี 2554)
'วิน วิริยประไพกิจ' มั่นใจว่าการซื้อโรงถลุงเหล็กและโรงงานผลิตเหล็กกล้าครบวงจรที่อังกฤษจะสร้างเสถียรภาพด้านวัตถุดิบให้ 'สหวิริยา' เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ผลิตเหล็กครบวงจรรายใหญ่ในอาเซียน
3
ปี 2557 ธุรกิจของ 'สหวิริยา' อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องประคองให้รอดจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศซบเซา โครงการลงทุนของรัฐบาลไม่ทำให้เกิดความต้องการใช้เหล็กเพิ่มมากขึ้น ยอดขายเหล็กแผ่นรีดร้อนลดลง 31%
1
ในช่วงปลายปี 2557 'สหวิริยา' ตัดสินใจปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจในลักษณะ Holding Company แยกการดำเนินงานเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ
1
พร้อมกลับยกคำพูดของ 'วินสตัน เชอร์ชิล' ขึ้นมาปลุกพลังพนักงานว่า 'แม้กำลังจะผ่านหนทางที่เลวร้าย อย่าหยุดเดิน' ซึ่งเปรียบเสมือนการส่งสัญญาเตือนถึงเหตุการณ์ที่กระทบธุรกิจรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้น
1
18 ก.ย.2558 เป็นวันที่ SSI UK หยุดผลิตเหล็กแท่งแบนชั่วคราว จนทำให้ธนาคารเจ้าหนี้ในไทย (ไทยพาณิชย์ กรุงไทย ทิสโก้) ที่ปล่อยสินเชื่อการลงทุนเรียกชำระหนี้ทันที 28,000 ล้านบาท
1
ในขณะที่ศาลท้องถิ่นในอังกฤษรับคำร้องขอเลิกกิจการและเข้าสู่กระบวนการชำระบัญชีทันที จากนั้นไม่นาน 'สหวิริยา' ตัดสินใจยื่นต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ และศาลมีคำสั่งเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการวันที่ 10 มี.ค.2559
1
"แม้ว่าบริษัทจะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงในความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นต่อไป การสนับสนุนของทุกท่านเป็นกําลังใจให้บริษัทดําเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ" วิทย์ วิริยประไพกิจ ประธานกรรมการ SSI บอกกับผู้ถือหุ้นผ่านรายงานประจำปี 2558
4
นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ให้กับ "วิทย์ วิริยประไพกิจ" ประธานกรรมการสหวิริยา ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ 10 พ.ค.2547 (ภาพจากรายงานประจำปี 2547)
ผ่านมา 6 ปี 'สหวิริยา' ยังอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ และเหมือนสถานการณ์โควิด-19 จะทำให้การชำระหนี้ตามแผนต้องยืดออกไป
2
'วิน วิริยประไพกิจ' CEO ของสหวิริยา กลับมาแถลงข่าวครั้งแรกในรอบหลายปีเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2564 ชี้แจงความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้มาตั้งแต่ปลายปี 2559
2
แผนดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้ 12 ปี แต่จากวิกฤติโควิด-19 ทำให้ในปี 2563 เจรจากับเจ้าหนี้และเห็นชอบขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 2 ปี จาก 12 ปี เป็น 14 ปี ทำให้การชำระหนี้จะจบในในปี 2573
1
ยอดหนี้ของ 'สหวิริยา' มีเหลือประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่ถ้ามองที่ผลดำเนินงานถือว่าอยู่ในระดับ 'กำไร' รวมถึงปี 2563 ที่เป็นช่วงขาดทุนก็ยังมีกำไร 200 ล้านบาท
1
"ความต้องการใช้เหล็กในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทฯ มีแผนขยายกำลังการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนอีก 20% จากจำนวน 1.2 ล้านตันต่อปี" วิน บอกกับสื่อมวลชนผ่านระบบไมโครซอฟต์ ทีม
จังหวะก้าวที่สะดุดก่อนหน้านี้ไม่ได้ทำให้ 'สหวิริยา' หยุดที่จะเดินหน้าต่อ
ในขณะที่วันที่ 11 ก.ค.2564 จะเป็นวันครบรอบ 1 ปี ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพิกถอนหุ้น 'สหวิริยา' ออกจากตลาดหลักทรัพย์
4
และนี้คือเรื่องราวของผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของอาเซียนที่กำลังพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งในแผนฟื้นฟูกิจการ
เหมือนเมื่อครั้งการพิสูจน์ตัวเองจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ที่ต้องทิ้งธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ เพื่อรักษาธุรกิจเหล็กไว้
2
โฆษณา