19 พ.ค. 2021 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จากปัญหาถ่านหรือแบตฯ แบบลิเธียมใช้แล้วทิ้ง จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ล่าสุดมีกลุ่มนักวิจัย ได้เตรียมพัฒนา 'ถ่านชาร์จจากโปรตีน' ซึ่งย่อยสลายได้ง่าย มาใช้แทนที่ถ่านแบบลิเธียมไอออนในปัจจุบัน
3
นักวิจัยจาก Texas A&M University ได้กล่าวถึงแบตเตอรี่แนวใหม่ ที่ไม่ใช้โลหะ ปลอดสารพิษ และสามารถย่อยสลายหรือรีไซเคิลได้ง่าย โดยละลายในสารละลายที่เป็นกรด
โดยแบตเตอรี่แนวใหม่นี้ก็คือ ถ่านชาร์จที่ทำจากโปรตีนนี้เอง ซึ่ง Lutkenhaus กับ Karen Wooley และนักวิจยคนอื่น ๆ ได้เผยด้วยว่า ตัวถ่านจะใช้ 'โพลีเปปไทด์' ที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน มาสร้างเป็นขั้วไฟฟ้าสองขั้ว ส่งผ่านอิเล็กตรอนไปมาระหว่างการชาร์จและการคายประจุ
ทั้งนี้ตัวถ่านจะย่อยสลายได้เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรด ซึ่งหากย่อยสลายแล้ว ก็สามารถนำส่วนประกอบอื่น ๆ กลับมารีไซเคิลเป็นแบตเตอรี่ใหม่ได้ด้วย อีกทั้งจะไม่เป็นอันตรายด้วย ชนิดที่ต่อให้โยนทิ้งในหลุมฝังศพ มันก็จะละลายไปเองเลย
สำหรับแนวคิดการใช้โปรตีนมาทำเป็นพลังงานนั้น ก็มีมาได้สักพักแล้ว ซึ่งก็มีนักวิจัยหลาย ๆ คน กังวลถึงเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์จากกรณีนี้เหมือนกัน โดยปัจจุบันมีการนำถ่านไปรีไซเคิลใหม่เพียงไม่กี่ล้านชั้นเท่านั้น (จากหลายล้านชิ้น) จนในที่สุดอาจต้องจบด้วยการฝังกลบกันเลยครับ
1
#TechhubUpdate #Environment
©️Techhub.in.th แหล่งรวม How To , Tips เทคนิค อัปเดตทุกวัน
⭐️ เพราะ Techhub อยากให้คนรู้ทันเทคโนโลยี ฉลาดใช้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ
#เรื่องไอทีที่ต้องอ่านก่อนตาย #HowToเข้าใจง่าย #Tipsพร้อมใช้สำหรับทุกคน
โฆษณา