15 พ.ค. 2021 เวลา 09:29 • ปรัชญา
EP114 : พิจารณาธรรม เพื่อเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด สู่การพ้นจากทุกข์ อมตะนิพพาน “ธรรมที่มีอุปการะมาก”
ธ ร ร ม คื อ อ ะ ไ ร ?
คำว่า”ธรรม” มีความหมายกว้างมาก ในความหมายหนึ่งเป็นสัทธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นหลักความจริงในระบบสังขตธาตุ ระบบเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปไม่มีความเที่ยงแท้ ธรรมดี ธรรมไม่ดี ก็มี ในเรื่องของธรรมเพื่อการปฏิบัติพระพุทธเจ้าสอนบทธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ดังนี้
ท สุ ต ต ร สู ต ร คื อ อ ะ ไ ร ?
ครั้งหนึ่งในพุทธกาล พระตถาคตและพระภิกษุ ๕๐๐ รูปประทับอยู่ที่สระโปสถขรณี ชื่อคัคครา เขตนครจัมปา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนธรรมอันยิ่งสิบ เพื่อเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด
ให้เราหลุดพ้นจากทุกข์เป็นอมตะนิพพานได้ สัทธรรมในทสุตตรสูตรมีสิบประเภท แต่ละประเภทมี ๑๐ ข้อธรรม รวมทั้งสิ้น ๕๕๐ ข้อธรรม
ธ ร ร ม สิ บ ป ร ะ เ ภ ท คื อ อ ะ ไ ร ?
๑ ธรรมที่ “มีอุปการะมาก”
๒ ธรรมที่ ”ควรให้เจริญขึ้น”
๓ ธรรมที่ ”ควรกำหนดรู้”
๔ ธรรมที่ ”ควรละ”
๕ ธรรมที่ ”เป็นไปในทางเสื่อม”
๖ ธรรมที่ “เป็นไปในทางวิเศษ”
๗ ธรรมที่ “แทงตลอดได้ยาก”
๘ ธรรมที่ “ควรให้บังเกิดขึ้น”
๙ ธรรมที่ “ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง”
๑๐ ธรรมที่ “ควรทำให้แจ้ง”
วันนี้ใคร่ครวญ “ ธ ร ร ม ที่ มี อุ ป ก า ร ะ ม า ก “
ธรรมที่จะช่วยเหลือมากให้เราพ้นกิเลสมีสิบข้อธรรมตั้งแต่ ข้อธรรม๑ ถึงข้อธรรมสิบคือ
“ ค ว า ม ไ ม่ ป ร ะ ม า ท ใ น กุ ศ ล ธ ร ร ม “๑
- มนุษย์เราทำอกุศลง่ายกว่ากุศล การกระทำทางกาย วาจา จิต ต่างๆแบ่งเป็นทำดี และทำไม่ดี ทำบ่อยๆก็เกิดเคยชินเป็นนิสัย พึงระวังนิสัยที่ไม่ดี การเคยชินนิสัยไม่ดี มีกรรมไม่ดีมาก จะได้รับผลของกรรมไม่ดีจึงไม่ควรประมาทที่จะทำกรรมดีทางกาย วาจา จิต แม้เพียงคิดก็เป็นกรรมแล้ว แม้คิดท่านก็ให้รีบ”ละนันทิ”ความเพลินนั้นทั้งหมด หากละไม่ได้ก็ให้คิดแต่กุศลธรรม
“ ส ติ แ ล ะ สั ม ปั ช ชั ญ ญ ะ “ ๒
- สติคือการเพ่งจิต สัมปชัญญะคือการเพ่งอยู่อย่างนั้น ใช้นำความทุกข์ร้อนกายใจ ในโลกออกเสียได้ โดยการมีสมาธิอยู่กับปัจจุบันคือ ลมหายใจ แม้วาระสุดท้าย
“ สั ต บุ รุ ษ “ ๓
คบสัตบุรุษ, ฟังธรรมจากสัตบุรุษ,ปฏิบัติธรรมตามสมควรแต่ธรรม”
“ จั ก ร ๔ ”
- ได้แก่ การอยู่ในประเทศอันสมควร, การคบสัตบุรุษ, การตั้งตนไว้ชอบ, ความเป็นผู้มีบุญกระทำไว้แล้วในปางก่อน
“ อ ง ค์ เ ป็ น ที่ ตั้ ง แ ห่ ง ค ว า ม เ พี ย ร ” ๕
- มีศรัทธาต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
- เป็นผู้อาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผลสม่ำเสมอ ไม่เย็นนักไม่ร้อนนักพอปานกลาง ควรแก่การตั้ง ความเพียร
- เป็นผู้ไม่โอ้อวดไม่มีมายากระทำตนให้แจ้งตามเป็นจริงในพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู
- เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมมีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
- เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะ เป็นไปเพื่อความแทงตลอดอันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
“ ส า ร า ณี ย ธ ร ร ม “ ๖
เป็นธรรมที่ทำให้มีการคิดถึงกัน เคารพกัน คือ
- ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม กระทำให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
- ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา…
- ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา…
- ภิกษุย่อมแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุด แม้มาตรว่าอาหารอันนับเนื่องในบาตร คือเฉลี่ยกันบริโภคกับเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีศีลทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ
- ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลังในศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฐิ ไม่แตะต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิแม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ
- ภิกษุเป็นผู้มีทิฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในทิฐิอันประเสริฐ นำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติตามเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม กระทำให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่เคารพเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
“ อ ริ ย ท รั พ ย์ “ ๗
- คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา
“เหตุ ๘ ปัจจัย ๘”
ย่อมเป็นไป เพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว…
- …เหตุและปัจจัย ๘ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่อาศัยครู หรือสพรหมมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูรูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้าในท่านนั้น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๑ เป็นปัจจัยข้อที่ ๑
- …ก็ภิกษุนั้นอยู่อาศัยครูหรือสพรหมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริ โอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้าในท่านนั้นแล้ว ย่อมเข้าไป หาท่านเสมอๆ สอบถามไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้อย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดเผยสิ่งที่ยังมิได้เปิดเผย กระทำให้ง่ายซึ่งสิ่ง ที่ยังมิได้กระทำให้ง่าย บรรเทา ความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๒ เป็นปัจจัยข้อที่ ๒
- …ภิกษุนั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความหลีกออก ๒ ประการให้ถึงพร้อม คือความหลีกออกแห่งกาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๓ เป็นปัจจัยข้อที่ ๓
- …อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุข้อที่ ๔ เป็นปัจจัยข้อที่ ๔
- …อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้มีสุตะมาก ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ ธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นสิ่งอันภิกษุนั้นสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ตามพิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วยความเห็น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๕ เป็นปัจจัยข้อที่ ๕
- …อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง กุศลธรรมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม นี้เป็นเหตุข้อที่ ๖ เป็นปัจจัยข้อที่ ๖
- …อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอันยอดเยี่ยมระลึก ตามระลึก ถึงสิ่งที่ได้ทำ คำที่ได้พูดไว้แล้วแม้นานได้ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๗ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗
- …อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้รูปดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญาดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณดังนี้ความดับแห่งวิญญาณนี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘
- เป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
“ธรรมอันมีมูลมา แต่โยนิโสมนสิการ ๙”
- คือ เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
- ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ ย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์
- กายของผู้มีใจกอปรด้วยปิติย่อมสงบ
- ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข
- จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น
- ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง
- ผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย
- เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
- เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น
“ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ อย่าง”(สำหรับภิกษุ)
- เป็นผู้มีศิลสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์,มารยาท,โคจร
- เป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมากทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น
- เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
- เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา
- เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกึกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัด ในกึกรณียะกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
- เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร
- เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึง พร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล
- เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม
- เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น ความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
โฆษณา