16 พ.ค. 2021 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Stagflation กำลังเกิดขึ้น ในประเทศไทย ?
3
ในรอบปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
ราคาน้ำมันดิบ +164%
น้ำมันปาล์ม +115%
ทองแดง +100%
เหล็กกล้า +54%
5
เรื่องดังกล่าวสะท้อนไปยังอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจในหลายประเทศก็เริ่มฟื้นตัว
จากการฉีดวัคซีนและเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ
8
อย่างไรก็ตาม พอเรามองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย
ที่เงินเฟ้อเหมือนจะมาพร้อมกับประเทศอื่น
เพราะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ ย่อมจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการจำเป็นต้องปรับขึ้นตาม
10
แต่เศรษฐกิจในประเทศยังได้รับแรงกดดันจากโรคระบาด
ซึ่งก็อาจจะทำให้ปีนี้ยังคงไม่ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ
4
และมันก็อาจจะนำไปสู่ภาวะ “Stagflation” หรือเป็นคำที่ใช้เรียกภาวะที่เศรษฐกิจยังถดถอย แต่ราคาสินค้ากลับแพงขึ้น
11
แล้วความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ มีมากขนาดไหน ?
แล้วถ้ามันเกิดขึ้นจริง เราจะต้องเผชิญกับอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
เรามาเริ่มกันที่ “เงินเฟ้อ”
1
ในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกต่างปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ ถูกใช้เป็นวัตถุดิบหรือต้นทุนในกระบวนการผลิต
ดังนั้นเมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้น จึงผลักดันต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้นไปด้วย
และเมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ก็จะตามมาด้วยการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น
นั่นจึงทำให้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
3
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าราคาอาหารสัตว์เช่นถั่วเหลืองแพงขึ้น เนื้อของสัตว์ที่ต้องกินอาหารสัตว์ก็จะแพงขึ้นตาม
สุดท้ายก็จะกระทบกับราคาของอาหารคนที่ต้องแพงขึ้น
6
ถ้าราคาเหล็กแพงขึ้น ต้นทุนการก่อสร้างก็จะแพงขึ้นตาม
สุดท้ายก็จะกระทบกับราคาที่อยู่อาศัยที่แพงขึ้น
5
ถ้าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ต้นทุนของรถโดยสารแพงขึ้น
สุดท้ายก็จะกระทบกับค่าเดินทางที่แพงขึ้น
4
ล่าสุด อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 4.2%
เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนของปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ที่ 3.6%
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องฐานต่ำแล้ว อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้ปรับขึ้นจากทั้งราคาสินค้าและบริการ
โดยราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือจาก “ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง”
7
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ก็พลิกกลับมาเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน
หรือตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.4%
เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
6
หากเรามาดูส่วนประกอบการคำนวณเงินเฟ้อในประเทศไทย
เราก็จะพบว่า 4 องค์ประกอบหลักของเงินเฟ้อ ก็คือ
- อาหารสำเร็จรูป
- ยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง
- ที่พักอาศัย
- อาหารสด เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ปลา และผักผลไม้
17
โดยทั้ง 4 กลุ่มนี้ กินสัดส่วนไปมากเกินกว่า 60%
และเมื่อเราดูจากข้อเท็จจริงที่ราคาวัตถุดิบ
ที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
เราก็อาจจะสรุปได้ว่า มีโอกาสไม่น้อยที่ประเทศไทยจะต้องเจอกับเงินเฟ้อสูงในอนาคตอันใกล้..
 
หลังจากนั้น เรามาดูอีก 2 องค์ประกอบที่จะทำให้ประเทศไทย
เข้าสู่ภาวะ Stagflation นั่นก็คือ เศรษฐกิจแย่ลงและอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น
10
สำหรับ “เศรษฐกิจไทย”
ตอนนี้ยังคงเผชิญความท้าทายในการฟื้นตัว
GDP ไตรมาสที่ 1 ที่หลายคนคาดการณ์ว่าจะยังไม่ค่อยดี
1
และสำหรับในไตรมาสที่ 2
ที่ในตอนแรกคาดการณ์ไว้ว่าการเติบโตของ GDP จะฟื้นตัวได้
จากฐานต่ำในปีที่แล้วที่มีการล็อกดาวน์ แต่จากการระบาดระลอกใหม่
ที่เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
9
เศรษฐกิจที่อาจจะถดถอย
ในขณะที่เงินเฟ้อกำลังจะเกิดขึ้น
6
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ประกอบการต้องเจอกับต้นทุนที่สูงขึ้น
ถ้าเศรษฐกิจดี ผู้ประกอบการก็อาจจะปรับราคาขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นได้
3
แต่ในภาวะที่ผู้บริโภคหมดความเชื่อมั่น
ถ้าผู้ประกอบการปรับราคาขายขึ้นตามไม่ได้ ก็เท่ากับว่ากิจการจะมีอัตรากำไรที่ลดลง..
7
ทีนี้ก็มาถึงองค์ประกอบสุดท้าย “อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น”
1
จริง ๆ แล้ว ประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับที่ต่ำมาตลอดหลายปี
แต่ในช่วงวิกฤติปีโควิดที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของประเทศไทยก็ได้ปรับตัวสูงขึ้น
เมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมา
9
และด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ก็น่าจะเรียกได้ว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะ Stagflation ในอนาคตอันใกล้
และหากเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวหรือยิงยาวก็ต้องติดตามกันต่อไป
2
การลากยาวของ Stagflation ขึ้นอยู่กับการกระจายของวัคซีน และการควบคุมการระบาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา
4
ทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นความท้าทายของธนาคารกลาง
ที่จะกำหนดทิศทางของนโยบายการเงินได้ลำบากขึ้น
เพราะหากเลือกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
ก็เท่ากับเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว
11
แต่ถ้าหากไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเลย
ก็อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปสูง และควบคุมได้ยากขึ้น
4
ทุกอย่างมันก็เลยมาตกอยู่ที่นโยบายการคลัง
ที่ภาครัฐจะต้องออกมาตรการแจกเงิน เยียวยา ช็อปปิง เที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง สารพัดมาตรการที่พอจะกระตุ้นอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่มันก็อาจจะไม่ช่วยให้เราหลุดพ้นไปจากภาวะ Stagflation นี้อยู่ดี..
8
โฆษณา