17 พ.ค. 2021 เวลา 07:26 • ไลฟ์สไตล์
5 ร. วิธีรับมือ "คนหัวร้อน" ยังไงให้รอด!! 🔥
2
หัวร้อน คืออะไร ?
คือ อาการโกรธ โมโหง่าย หงุดหงิดง่าย และอารมณ์พุ่งขึ้นง่าย หรือ ปรี๊ดได้ง่ายค่ะ
ทำไม...จึงเกิดอาการหัวร้อนได้หล่ะ ?
ในเชิงประสาทวิทยา ( Neuroscience ) พบว่า สมองที่ทำงานในส่วนความเข้าใจทำงานเชื่อมโยงกับสมองที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ เรื่องราวบางอย่าง ที่ต้องการหาคำตอบ ไม่เข้าใจ หรือ ได้รับคำตอบแล้วรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้น แล้วมีอารมณ์โกรธ โมโห สมองของเราจะทำงานหนักขี้น เพราะสมองด้านความคิดจะพยายามหาคำตอบจากการประมวลผลด้วยข้อมูลต่างๆ ที่ไม่เข้าใจ ไม่พอใจค่ะ
เช่น ขับรถมาดีๆ อยู่ๆก็มีรถคันนึงขับปาดหน้าเรา จนเกือบจะเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้เราไม่เข้าใจ ไม่พอใจ โกรธ โมโห ฉุนเฉียว จนเดือดปุดๆ ทำไมรถคันนั้นถึงปาดหน้าเรานะ!!! 🔥
3
เมื่อสมองของเราทำงานหนักมากขึ้น ก็จะต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการเสียสมดุล และหากไม่สามารถดึงความสมดุลกลับมา จะทำให้สมองด้านความคิดไม่สามารถแยกแยะความเป็นเหตุเป็นผลได้ หรือ กล่าวได้ว่าสมองจะมีความปกติสุข เกิดสมดุลได้ ก็ต่อเมื่อสมองของเราสามารถประมวลผลเรื่องราวต่างๆ ได้แล้วนั่นเองค่ะ
2
แล้วหากเราต้องพบเจอกับ...คนหัวร้อน...จะมีวิธี รับมือยังไงดีหล่ะ ?
👉 5 ร. วิธีรับมือ "คนหัวร้อน" ยังไงให้รอด!! ตามแบบฉบับฮักใจ ดังนี้ค่ะ
2
1. รอดูสถานการณ์
รอดูสถานการณ์และประเมินตนเองก่อน อย่าเพิ่งรีบโต้ตอบ ให้พิจารณาว่าเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับเราไหม? สาเหตุเกิดขึ้นจากการกระทำของเรารึป่าว? เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ไหม? แล้วสามารถพูดคุยกับคนหัวร้อนนี้ได้รึป่าว ? เราต้องพยายามไม่ให้ตัวเองเป็นน้ำมันราดบนกองไฟค่ะ หากรู้ว่าตนเองก็ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ให้ถอยออกมาก่อนจะดีกว่า เพราะคนที่มีอารมณ์โกรธ โมโห หัวร้อนอยู่ มักใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลทั้งปวง ถ้าหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยงค่ะ
2. รอให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น
เมื่อเราเจอคนหัวร้อน...เราอาจจะเผลอรับอารมณ์เชิงลบของเขามาได้โดยไม่รู้ตัว (Emotional Contagion) แต่หากเราเริ่มรู้ตัวว่า เราก็เริ่มจะหัวร้อนแล้วนะ!! ให้รีบสูดหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ ช้าๆ รอให้ออกซิเจนเพิ่มขี้น เพราะหากหัวร้อนแล้ว สมองจะทำงานหนักและต้องการออกซิเจนมากกว่าภาวะปกติค่ะ
1
การหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ ช้าๆ จะช่วยดึงออกซิเจนให้ขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ เพื่อเกิดภาวะสมดุลให้สมองทำงานเป็นปกติค่ะ
3
3. รอนับเลขในใจ
เจอคนหัวร้อน...แบบอืมม...บางครั้งไม่ต้องคิดหาเหตุผลก็ได้ค่ะ เพราะเราก็อาจไม่เข้าใจในตรรกะของเขาหรอกค่ะ เรารอนับเลข 1-100 ในใจได้เลยค่ะ ก็จะช่วยดึงสติของเราได้ดี ไม่ให้หัวร้อนตาม เพราะเป็นการหลอกล่อให้สมองนั้นกลับมาทำงานปกติค่ะ
4
4. รอให้ใจเย็น
2
คนหัวร้อน มักจะทำอะไรโดยไม่คิด หรือ คำนึงถึงผลลัพธ์ ซึ่งอาจคุยไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถตอบคำถามใดๆ แบบมีเหตุมีผล เพราะยังควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ถ้าพูดกันก็อาจจะแย่กว่าเดิม ดังนั้น อย่าพยายามไปบังคับเขาให้พูด หรือ ตอบคำถาม... ว่าเพราะอะไร ? ทำไม ?เพราะเมื่อเขาตกอยู่ในอารมณ์โกรธ สมองด้านความคิดจะถูกปิดกั้น อาจยังไม่มีเหตุผล ควรให้เขาใจเย็นลงก่อน แล้วค่อยกลับมาคุยกันใหม่จะดีกว่าค่ะ
3
5. รับฟัง
บางครั้งหากสถานการณ์นั้นเกี่ยวข้องกับเราจริง ๆ และเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นต้องเผชิญหน้า ให้ใช้วิธีรับฟังแบบมีสติค่ะ ฟังให้ออกว่าเขาไม่พอใจอะไร อันไหนเป็นข้อเท็จจริง อันไหนเป็นอารมณ์ และไม่ใช้อารมณ์สะท้อนกลับนะคะ
ให้นิ่งเงียบ จนแน่ใจว่าฟังครบถ้วนเข้าใจในปัญหา หรืออีกฝ่ายพูดจนพอใจแล้ว เราค่อยบอกอีกฝ่ายให้รับรู้ด้วยน้ำเสียงปกติโดยไม่ใช้อารมณ์ว่า เรารับรู้ถึงปัญหา หรือ เรื่องที่ไม่พอใจแล้ว พร้อมที่จะฟังและแก้ไขปัญหาไหม? ถ้าพร้อมก็มาหาทางออกและแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่ถ้ายังไม่พร้อมเราก็รอได้ค่ะ...ซึ่งวิธีนี้ผู้รับฟังต้องใจเย็นมากๆ จริงๆ ค่ะ
2
Dr.Chris Aiken จิตแพทย์ จากสถาบัน Wake Forest University School ได้แนะว่าหากเราอยู่ในสภาวะนี้บ่อยๆ จะทำให้สมองเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยได้ เปรียบดังการที่เราเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าบ่อยๆ ก็จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นสั้นลง สมองของเราก็เช่นกันค่ะ
2
ดังนั้นหากเราเริ่มรู้สึกหัวร้อน หรือเจอคนหัวร้อน ให้รับรู้เลยว่า สมองของคนหัวร้อนกำลังทำงานหนัก ไม่ปกติ ควรหาวิธีรับมือให้สมดุลของสมองกลับมาก่อนค่ะ
2
ฮักใจหวังว่าทั้ง 5 ร.นี้จะพอเป็นไอเดียรับมือ "คนหัวร้อน" ได้นะคะ และหากผู้อ่าน/ผู้เขียนมีไอเดียดีๆ มาคอมเมนต์ แบ่งปัน แชร์บอกกันได้เลยนะคะ
ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ หรือ คอมเมนต์ เป็นกำลังใจให้กันได้นะคะ
.
.
.
ขอบคุณมากค่ะ
#ฮักใจ
❤️💪✨
โฆษณา