16 พ.ค. 2021 เวลา 12:01 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดประวัติศาสตร์เเละวัฒนธรรมจาก Raya and the Last Dragon
บทความโดย มะลิ ชัชชญา จิตเกียรติกุล
ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะทางดิสนีย์ได้เปิดตัวเเอนิเมชั่นวีรสตรีจากภาคอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นมา ซึ่งในเนื้อเรื่องจะมีการผสมผสานวัฒนธรรมของเเต่ละประเทศในอาเซียนไว้มากมาย เรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1 ด้านเครื่องเเต่งกาย
สังเกตได้จากรายา ตัวละครเอกของเรื่อง การเเต่งกายของรายาจะประกอบไปด้วย ชุดตะเบงมาน ซึ่งเป็นชุดผ้ารัดอกของไทย เป็นชุดที่คาดอกไขว้กั้น เเล้วผูกไว้ด้านหลังคอ มักเป็นชุดที่ผู้หญิงไทยโบราณช่วงอยุธยาตอนปลายใส่เวลาต้องออกรบ เพราะคล่องตัวเเละกระชับ
เเต่รายาจะสวมผ้าคลุมทับชุดตะเบงมานเอาไว้อีกทีเพื่ออำพรางตัวตนเวลาเดินทาง
ส่วนหมวกที่รายาใส่ มาจากหมวกซาลาก็อต (Salakot) ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหมวกรูปทรงกรวยหรือบานออกเป็นทรงโดม ชาวบ้านใช้ใส่กันเเดดเเละฝนเวลาทำเกษตรกรรม ตัวหมวกมักทำมาจากไม้ไผ่เเละหวาย
2 อาวุธเเละศิลปะการต่อสู้
ด้านอาวุธ รายาใช้กริชในการต่อสู้ โดยกริชจะเป็นมีดสั้น ใบมีดคดเป็นรูปคลื่น เป็นอาวุธที่มีเอกลักษณ์ของอินโดนีเซียเเละมาเลเซีย เเละยังมีความเชื่อว่า นอกจากกริชจะเป็นอาวุธได้เเล้ว ยังเป็นวัตถุมงคลได้อีกด้วย
ส่วนทางด้านการต่อสู้ มีการผสมผสานระหว่างการใช้มวยไทย เเละการใช้ปันจักสีลัต(Pencak Silat)ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ของทางมาเลเซียเเละอินโดนีเซียผสมผสานกันไป
3 ทิวทัศน์เเละสถานที่
ทิวทัศน์ของเผ่าเขี้ยวหรือเผ่าFang คล้ายกับนาขั้นบันไดของอินโดนีเซีย (Sawah Terasering) ส่วนหมู่บ้านตลาดน้ำของเผ่ากรงเล็บหรือเผ่าTalon ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากตลาดน้ำของไทย เเละมีการประดับโคมไฟในตลาดซึ่งดูคล้ายเทศกาลโคมไฟของเวียดนาม (Hoi An Lantern Festival)
ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดในเมืองฮอยอัน จะมีการจุดโคมไฟ จุดเทียนเเละธูปหอมเพื่อเเสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ เเละมีการเเสดงดนตรีกับเต้นรำพื้นเมืองเล็กๆน้อยๆให้กับเเขกที่เดินทางมาเยี่ยมชม
2
ส่วนวังของเผ่าเขี้ยว
มาจากรูมะฮ์กาดัง (Rumah Gadang) ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวมีนังกาเบาในประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะเด่นของรูมะฮ์กาดังคือหลังคาทรงโค้งและซ้อนกันหลายชั้นโดยมักอยู่กันเป็นชุมชน
ทางด้านวังของเผ่าหัวใจ
มาจากพระราชวังอิสตานา เนการา (Istana Negara) จากเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เเละเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์ยังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di pertuan agong) ซึ่งปัจจุบันเป็นพระราชวังเเห่งชาติของมาเลเซีย โดยตัวพระราชวังเป็นอาคารรูปทรงโดม เเละทาสีทองเอาไว้อย่างงดงาม
4 สัตว์ต้นเเบบของมังกรซีซู เเละมังกรตัวอื่นๆในเรื่อง
มังกรซีซู เเละมังกรตัวอื่นๆที่อยู่ในเรื่องนี้ได้สัตว์ต้นเเบบมาจากตัวเหรา(อ่านว่า เห-รา)ของไทย โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ มีลำตัวยาวเเละมีส่วนหัวคล้ายนาค เเต่มีขายื่นออกมา4ข้าง
เเละยังได้ต้นเเบบมาจากนาค สัตว์ในตำนานที่เชื่อว่ามีพลังเกี่ยวกับสายน้ำเเละความอุดมสมบูรณ์ของผืนเเผ่นดิน เเละนาคยังเป็นสัตว์สำคัญในศาสนาพุทธอีกด้วย
1
5 ด้านอาหาร
อาหารในเรื่องส่วนใหญ่เป็นอาหารไทย เช่น ต้มยำกุ้ง อาหารไทยที่พ่อของรายาปรุงรสให้รายาได้ดู
ข้าวต้มกุ้งจากเชฟบุญที่ทำให้รายาเเละซีซู
ข้าวราดเเกงที่รายากินพร้อมกับนามาอาริในวันที่ทั้งคู่พบกันครั้งเเรก
หมูสร่ง อาหารว่างเเสนประณีตที่ทำจากเส้นหมี่พันรอบเนื้อหมูที่ตุ๊กตุ๊กพยายามจะกิน
เเละขนมไทยมากมายที่ถูกนำมาเสิร์ฟในระหว่างที่รายากับนามาอาริคุยกัน ในถาดขนมประกอบด้วยขนมทองเอก,ขนมจ่ามงกุฎเเละขนมเสน่ห์จันทน์ เเสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของเผ่าหัวใจหรือเผ่าHeartได้เป็นอย่างดี
6 ความเชื่อกับสายน้ำ
มีการเเสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสายน้ำในเรื่อง (ตัวละครดรูนในเรื่องกลัวน้ำ สะท้อนความเชื่อที่ว่าน้ำนั้นสำคัญ หากไม่มีน้ำจะเกิดภัยเเล้ง)
มีการนำดอกไม้มาอธิษฐานขอพรก่อนจะปล่อยลงสู่สายน้ำ คล้ายกับประเพณีลอยกระทงที่ปล่อยกระทงสู่สายน้ำอย่างที่เราคุ้นตากัน
รวมถึงตัวเรื่องเองก็ยังสะท้อนถึงการเเก่งเเย่งทรัพยากร(มณีมังกร) เเละการกระจุกความเจริญอยู่ในที่ๆเดียว(เผ่าหัวใจที่ครอบครองมณีมังกรเพียงผู้เดียวในตอนเเรก)
7 ความกลมกลืนทางภาษา
ในเรื่องจะเห็นได้ว่าชื่อของตัวละครทุกตัวมักจะหยืบยืมภาษาต่างๆมาใช้ตั้งชื่อตัวละครเเต่ละตัว เช่น รายา (Raya) เป็นภาษามาเลเซีย เเปลว่าผู้ปกครองเเผ่นดินไม่ว่าชายหรือหญิง เเละมีการออกเสียงคล้ายคำว่าRaja ที่หมายถึงราชาผู้ปกครองเเผ่นดิน
ตัวละครที่ชื่อน้อยกับทองก็เป็นชื่อในภาษาไทยเดิมเเละภาษาลาว
ส่วนตัวละครที่ชื่อบุญ มาจากคำว่า ปุญฺญ ที่เป็นภาษาบาลี หมายถึงการกระทำที่ดี
ก็จบลงไปเเล้วสำหรับเกร็ดประวัติศาสตร์ใน Raya and the Last Dragon จะเห็นได้ว่ามีความกลมกลืนของเเต่ละชาติในอาเซียนเต็มไปหมดเลย ถ้าชอบอย่าลืมกดไลก์กดเเชร์เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
1
Reference
โฆษณา