16 พ.ค. 2021 เวลา 12:53 • ความคิดเห็น
ขอเขียนเรื่องชาติพันธุ์หน่อย
จากการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คำว่าชาติพันธุ์ดูเป็นสิ่งแปลกใหม่อย่างหนึ่งเลยล่ะ เรียกได้ว่าเป็นคำนึงที่อุปโลกน์ขึ้นมาได้เลย เพราะคอนเซ็ปความเป็นชาติพันธุ์จริงๆ พึ่งโผล่มาบนโลกนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เอง จากการเรียกขานแก่พวหชนเผ่าพื้นเมือง ป่าเถื่อน หรือ พวกชนผิวสีต่าง ๆ แต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ก็มีการผันมสหน่อยเป็นคำที่ใช้เรียกคนชาติอื่นๆ ในเกาะอเมริกา และ คำนี้ก็เริ่มขยายอิทธิพลมาเรื่อยๆ จนหลังสงครามโลกที่คำนี้เป็นคำที่สุดฮอต สุดปังปุรีเย่คนใข้เยอะ คนอินเยอะจัด
ชาติพันธุ์อย่างที่เราเข้าใจแหละเป็นคำที่ใช้เรียกคนในชาตินั้นๆ หรือ แบ็กกราวเขา เช่น ชาติพันธุ์มลายูก็คนที่มีแบ็กกราวมลายู ชาติพันธุ์อังกฤษก็แบ็กกราวอังกฤษ หรือ ชาติพันธุ์ไทยคือพวกคนไทยนั่นแหละ
คำว่าชาติพันธุ์เดิมที่อย่างที่บอกมันไม่ได้ถูกอินมาแต่แรกหรอก เพราะหากนับจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์มนุษย์นับจากจุดเริามต้นคงไม่มีอะไรแบบนี้หรอก เพราะเดิมทีคนเราก็มาจากพื้นเพเดียวกันคือวงศวานของอดัม หรือ นบีอาดัมนั่นแหละ จนเมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น คนที่เคยมีอยู่กลุ่มเดียวก็เริ่มย้ายถิ่นอาศัยไปตามที่ต่างๆ กระจายตัวกันไปตามความถนัด แล้วลงหลักปักฐานตามที่ตัวเองชอบ
ต่อมาก็ตามธรรมชาติ พอปักหลักที่นึงแล้วคนก็มีความสัมพันธ์กัน มีลูกมีหลาน สร้างบ้าน จะบ้านไม้ บ้านหิน บ้านดิน บ้านทรายก็เรื่องเขาแหละ แต่ตรงนี้ก็เป็นเครื่องวัดกำลังกันอยู่ที่บางทีพวกบ้านไม้ พอได้ออกมานอกเมืองตัวเอง มาเจอเมืองชาวบ้านเค้าที่เป็นปูน เป็นหินก็มีความรู้สึกโอ้โห โอ้หลั่นล้ากันบ้าง ตรงนี้ก็เริ่มมีแหละการปข่งขันทางความเจริญกัน มีการแลกเปลี่ยนส่า มึงทำไงกูทำบ้าง กูสอนมึงมึงสอนกู (ขอโทษที่ไม่สุภาพ)
จากตรงนี้ความภูมิใจในกลุ่มตนเองเริ่มมี ความรู้สึกอิจฉาอะไรก็มา จากตรงนี้เองที่อยู่ของแต่ละคนมันก็จะมีผลอ่ะนะต่อนิสัยใจคอของแต่ละกลุ่ม หรือ ชนชาติ หรือ กลุ่มอารยธรรมของแต่ละคนนั้นอ่ะ เช่น คนในเขตโซนร้อนก็จะมีอารมณ์แรงกว่าคนโซนหนาว คนที่อยู่ในที่มีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งก็อาจมีความหวงในของของตนมากกว่าคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์หน่อยทำนองนี้
จากความรู้สึกภาคภูมิในกลุ่มของตนเกิดการเป็นการสร้างกบุ่ม สร้างอณาเขต อาณาบริเวณของตนเอง จรกนั้นก็ปรับสร้างวิถีชีวิต รูปแบบการสื่อสารต่างๆ นานา ขึ้นมาผระกอบเพื่อทำให้ความเป็นตัวเองของแต่ละกลุ่มดูมีราศีขึ้น เวลาใครมารุกรานก็อาจมีเอาคืนกันบ้างขึ้นอยู่กับการค้นหาทรัพยากรของแต่ละกลุ่มเพราะตามหลักเศรษฐศาสตร์ใครก็รู้ว่าทรัพยากรโลกมีจำกัดการแย้งมันก็มีกันบ้าง
พอตัวเองโดนแย้งก็ป้องกันตัว พร้อมประกาศว่านี่เป็นของพวกเรา พวกเรา... คำว่าพวกเรานี่แหละที่สร้างให้เกิดวัฒนธรรมของแต่ละคน เป็นสังคมเล็กๆ ที่อาจมีการขนานามต่างกันไป จนสุดท้าย ความเป็นสังคม เป็นกลุ่มเดียวกันนี้เองแหละที่ถูกเรียกว่าชาติ พอเวลาผ่านไปการล่าอาณานิคมมีมากขึ้นเริ่มเป็นการโจมตีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเพื่อยึดครองอย่างใหญ่โต ความรู้สึกตอบสนองก็มีมากจึ้น
คนที่มีความรักในพรรคพวกของตนก็เลยกล่าวว่าเราต้องปกป้องชาติพันธุ์ของเรา เค้าจะมาทำลายเรา พอรู้สึกว่าสายใยที่มันเชื่อมมาช้านานกำลังจะสลาย ความรู้สึกอยากปกป้องเลยเกิดและสร้างเป็นการกระทำตอบสนองออกไป
แต่ลองสังเกตว่า คำว่าชาติพันธุ์เดิมทีมันแค่ของที่มองไม่เห็น มันแค่ชื่อเรียกกลุ่มคนที่เค้ามีความอินเหมือนกัน ความสัมพันธ์ต่อกัน แต่เมื่อการเมืองเข้มข้นขึ้น คนเริ่มมีความต้องการบางอย่าง เลยพยายามผูกมัดความรู้สึกรักมนพวกพ้องนั้นเข้สกับสิ่งอื่นเพื่อบอกว่าสิ่งสิ่งนั้นคือชาติเหมือนกัน การทำลายสิ่งนั้นคือการทำลายชาติ
สิ่งของที่เราพอจะเคลมเรื่องนี้ได้ก็ควเป็นพวกธงชาติ (มีคำว่าขาติอยู่) กษัตริย์ประจำชาติ (มีชาติอีก) และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งสิ่งเหล่านี้เองที่ถูกใช้เป็นเครื่อฃทือเพื่อขับเคลื่อนกลุ่มคนในชาตินั้นๆ ให้มีการไหลไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน เพราะเอาตรงๆ หากคนไม่มีที่ผูกมัดหัวใจมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่เค้าจะทำอะไรเหมือนๆ กัน
สรุปสุดท้าย ชาติพันธุ์เป็นแค่ของสมมุติที่ไม่ได้มีนัยยะมากมายอะไร เราจึงควรจัดลำดับความสำคัญให้ถูกแบะจำไว้ว่าในอิสลามกรอบเดียวของเราคือศาสนา ชาติพันธุ์เพียงคำหนึ่งเท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาแต่อย่างมดเพราท่านรอซูลปนะกาศไว้แล้วว่า “คนอาหรับไม่ได้ดีกว่าคนไม่ใช่อาหรับ คนไม่ใช่อาหรับก็ไม่ได้ดีหว่าคนอาหรับ คนดีที่สุดคือตักว่า(ยำเกรงในอัลลอฮฺ) มากที่สุด ซึ่งคำนี้ถือเป็นที่ชัดเจนว่าปฏิเสธการถือชาติพันธุ์เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นแน่นอน
ขออัลลอฮฺชี้นำเราทุกคน วัสลาม
โฆษณา