19 พ.ค. 2021 เวลา 09:54 • ท่องเที่ยว
ทรานส์มองโกเลีย Go 2 ทรานส์ไซบีเรีย
เล่าก่อนเลย..ว่าทริปนี้ด่วนจี๋ มาก มากขนาดลงเครื่องสุวรรณภูมิ รีบเข้าบ้านลากกระเป๋าใบใหม่มาเช็คอินอีกรอบในบ่ายวันเดียวกัน
Port Baikal
เนื่องจากทริปนี้เราติดภาระกิจต้องเดินทางตามคณะมาวันถัดไป ทำให้พลาดชมสถานที่นอกเมืองอูลานบาตาร์ไปแต่เต็มใจเกี่ยวมาฝากค่ะ
สนามบินเจงกิสข่าน
อูลานบาตาร์
เมืองหลวง อูลานบาตาร์ ยังคงกลิ่นอายแห่งทุ่งหญ้า
Ulaanbaatar (Улаанбаатар) เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1639 ในฐานะศูนย์กลางของวัดทางศาสนาพุทธ
ในที่ตั้งเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ทางตะวันออกของศูนย์กลางประเทศมองโกเลีย บนแม่น้ำทูอูล (Tuul River, Туул гол, Tūl gol) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่แตกสาขา มาจากแม่น้ำเซเล็นจ (Selenge River) ในหุบเขาบอกด์ข่าน (Bogd Khan Mountain, Bogd Khan Uul) เป็นภูเขาที่กว้างใหญ่และป่าหนาทึบ
แม่น้ำทูอูล
เมื่อเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1911 เมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น NiĭslelKhüree (НийслэлХүрээ) ซึ่งหมายถึง เมืองหลวงแห่งเต็นท์ (Capital Camp) เ
และกลายเป็นเมืองหลวง ของสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลียใหม่ ในปี ค.ศ. 1924
ชื่อของมันก็เปลี่ยนเป็น เมืองอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar, Улаанбаатар) ซึ่งหมายถึง วีรบุรุษแดง (Red Hero) โดยในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย (Mongolia)
Genghis Khan Equestrian Statue บริเวณนี้เคยมีการขุดพบธนูที่เชื่อว่าเป็นของเจงกีสข่าน รัฐบาลจึงสร้างอนุเสาวรีย์ไว้ที่นี่เมื่อปี 2551 ในโอกาสครบรอบ 800 ปีของการสถาปนาจักรวรรดิมองโกเลีย
อาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ด้านในฐานของรูปปั้น จัดนิทรรศการเกี่ยวกับยุคสำริดและวัฒนธรรมของกลุ่มชนซุยงหนู (Xiongnu)
นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปที่ศีรษะของม้าซึ่งมีจุดชมวิวในมุมมองแบบพาโนรามา ขณะที่ในพิพิธภัณฑ์ก็มีร้านขายของที่ระลึกประเภทผลิตภัณฑ์จากขนแกะในราคาย่อมเยา
อารามกานดาน ชื่อเดิมคือ อารามสีเหลือง (Shar Sum) สร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1809 โดยบอกด์ ข่านที่ห้า แห่งมองโกเลีย
นับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ “วัดกานดาน” เป็นวัดที่ยิ่งใหญ่และสำคัญต่อชาวมองโกเลียอย่างมาก
ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1835 ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์ โดยชื่อวัดมีความหมายว่าสถานที่ ที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์แบบ
เป็นวัดแบบทิเบต ภายในพระวิหารประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร ซึ่งมีความสูงถึง 20 เมตร
การเดินทางในทริปนี้เราอยู่บนสองเส้นทรานส์ แบบครึ่งๆ กลางๆ นะค่ะ ระหว่าง
เส้นทรานส์-มองโกเลีย (Trans-Mongolian) เส้นทางรถไฟในฝันของใครหลายคน ซึ่งคุณเริ่มได้ตั้งแต่มหานครปักกิ่ง ประเทศจีน จนไปสุดทางฝันที่เมืองอูลาน-อูเด (Ulan-Ude) ประเทศรัสเซีย
http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2008/05/07/entry-1
สายทรานส์-ไซบีเรีย (Trans Siberia) คือเส้นทางรถไฟที่ยาวที่สุดในโลก
โดยมีระยะทางยาวถึง 9,288 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสถานี Moskva Yaroslavskaya กรุง Moscow ไปสุดทางที่สถานี Vladivostok ใช้เวลาเดินทางเกือบ 7 วัน
https://www.tieweng.com/tieweng-vladivostok-irkutsk-trans-siberia-russia/
มำหรับจุดเริ่มต้นการนั่งรถไฟสายประวัติศาสตร์ครั้งนี้ของพวกเรา เริ่มที่ประเทศมองโกเลียจบที่ประเทศรัสเซีย
Ulaanbaatar
Suche Baartar(Mongolian border station)
Naushki(Russion border station)
Next day...
Shaluty
Ulan Ude
Next day...
km. 110
Port Baikal
last day...
Irkutsk
สถานีต้นทาง อูลานบาตาร์ , welcome drink และบริกรสาวประจำโบกี้ของเรา
ด้านล่างนี้คือ รายนามชื่อเมืองและสถานีที่ผ่านและจอดทำเอกสาร จอดรอเจ้าหน้าที่บ้าง และจอดให้เราได้ดื่มด่ำบรรยากาศบ้าง 4 วัน 3 คืนบนเส้นทางรถไฟสายเสน่ห์ครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสพิเศษในชีวิตที่คิดว่าไม่น่าจะมีเข้ามาง่ายๆ และบ่อยครั้งนัก
จากการเชื้อเชิญโดยการท่องเที่ยวแห่งมองโกเลียร่วมกับ บริษัท Eurasia Trans&Tours ผู้บริหารจัดการการเดินรถไฟขบวนพิเศษนี้ GTSE (Grand Trans Siberian Express)
ตารางเวลาการเดินรถ ปลายทางขบวนนี้สิ้นสุดที่กรุงมอสโค
โดยสถานีต้นทางจาก เมืองอูลานบาตาร์ ของมองโกเลีย จบที่สถานีปลายทางมอสโคว์ รัสเซีย
และต้องขอบคุณผู้ประสานงานในไทย บริษัท Eastern Perl โดยอาหนิว ร่วมทริปไปกับเราด้วยในครั้งนี้ เราได้รับการอุปถัมป์จากสปอนเซอร์หลักด้านบนโดยที่พวกเราจะจบที่
เมืองอีร์คุช เพื่อบินกลับเข้ากรุงเทพฯ ได้ง่ายและราคาประหยัดกว่า
วิวระหว่างทางจากมองโกเลียเข้ารัสเซีย
แม้พวกเราจะยังไม่สุดทางในสายของรถไฟขบวนนี้แต่เราก็สุดทึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกภายในตัวรถและบริการที่ Luxury มากของขบวนนี้ ขอใช้คำนี้เลย หรูหราหมาเห่าจริง แม่เอ้ย
ความ Luxury อย่างที่เห็นเลยค่ะ
เพลินๆ กับอาหาร บรรยากาศ 2 ข้างทาง
บรรยากาศในตู้เสบียง และผลไม้เป็นอาหารว่างระหว่างมื้อและน้ำหมักทำให้คล่องคอดีจริง
อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพักของเรา 2 เตียง/ห้อง
อูลาน อูเด Ulan Udea คือจุดแรกที่เราได้ลงไปทักทาย พูดคุยกับคนอื่นๆบ้างนอกจากคนในขบวนรถไฟเดียวกันแล้ว
"อูลาน-อูเด"เมืองท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ และยังเป็นเมืองหลวงอันมากเสน่ห์ที่น่ามาเยือนแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐบูเรียตียา (Republic of Buryatia) 1 ใน 21 สาธารณรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย
ตัวเมือง Ulan Udea
โดยตัวเมืองนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำอูด้า (Uda River) และอยู่ห่างจากทะเลสาบไบคาล (Lake Baikal) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)
เมืองอูลาน-อูเด ถือว่าเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมากเมืองหนึ่งของรัสเซีย ด้วยความโดดเด่นและเก่าแก่ของบรรดาอาคารร้านค้า คฤหาสน์ ที่แต่ละ หลังล้วนแต่ได้รับการตกแต่งด้วยไม้และหินแกะสลักที่มีความสวยงามไม่เหมือนที่ใด
บริเวณย่านจัตุรัสกลางเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ รูปหล่อศีรษะที่ใหญ่ที่สุดในโลกของวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
โดยรูปหล่อถูกสร้างขึ้นในปี 1970 ตั้งตระหง่านอยู่ เหนือจัตุรัส ด้วยความสูง 7.7 เมตร (25 ฟุต) และมีน้ำหนัก 42 ตัน
ก่อนกลับมาที่ขบวนรถ เราแวะชมบ้านน่ารัก สีสันฤดูร้อนของที่นี่ดีค่ะ แต่จำชื่อหมู่บ้านไม่ได้จริงๆ คราวหน้าจะมาแก้ตัวนะค่ะ
Datsan Rinpoche Bagsha เป็นอีกที่ๆ เราได้ขึ้นไปเดินประทักษิณและเก็บภาพมุมบนของตัวเมือง อูลาน อูเดมาฝากกัน
เป็นสถูปสีทอง ทรงทิเบต อยู่นอกเมืองมาเล็กน้อย เป็นอีกสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธรัสเซีย วิหารหลักเป็นสิ่งที่ชาวธิเบตมาสวดมนต์และหมุนกงล้อมนต์ตราปันค่ะ
ชาวเมืองอูลันอูเดเป็นชาวพื้นเมืองสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพันธุ์มองโกล คือ ชาวบูเรียต ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณแถบนี้ ตั้งแต่ก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวบูเรียตนับถือพุทธศาสนานิกายทิเบต
วันถัดไป เราจอดแวะพักขบวนรถที่หมู่บ้านเล็กๆ น่ารัก ที่ สถานี Km. 110 เป็นหมู่บ้านริมทะเลสาบไบคาล และจุดที่มีอุโมงค์รถไฟ คลาสสิก สะพานเหล็กเลียบทะเลสาบที่โครงสร้างคุ้นตามาก นึกว่าเดินอยู่กาญจนบุรีมาก 555
อูลาน อูเด Ulaan Udea คือจุดแรกที่เราได้ลงไปทักทาย พูดคุยกับคนอื่นๆบ้างนอกจากคนในขบวนรถไฟเดียวกันแล้ว
ขบวนรถจอดให้ทุกคนได้ลงไปยืดเส้น ผ่ินคลายเดินถ่ายภาพ เข้าไปทักทายพูดคุยกับคนท้องถิ่นบ้าง เราคุยกันเองและกับพนักงานบริกรมาหลายชั่วโมงละ
เมื่อเดินทางมาถึงจุดหมาย พวกเราจำเป็นที่ต้องผละจากขบวนรถไฟสายโรแมนติกนี้แล้ว
จุดนี้จะจอดนานนับชั่วโมง เพื่อให้พวกเราได้สนุกสนานกับการแสดงพื้นเมือง
และได้อิ่มอร่อย กับบาร์บีคิว ริมทะเลสาบไบคาลในฤดูร้อน
จากนั้น เจ้าหน้าที่ บริกรทุกคนที่คอยให้ความเอาใจใส่แขกทุกโบกี้จะออกมาตั้งแถวยืนส่งยิ้ม และกล่าวขอบคุณแขกทุกคนที่จะจากขบวนนี้ไปเพื่อเดินทางลงเรือข้ามทะเลสาบฯไปขึ้นท่าอีกฝั่ง
นี่เหล่าบริกรที่น่ารัก แม้บางคนไม่ถนัดภาษาอังกฤษแต่เราก็ไม่พลาดการสื่อสารกัน
พวกเราอำลาเหล่าบริกรกันตรงนี้ สถานี Port Baikal เพื่อจะนั่งเรือข้ามฟากไปเมือง Listvyanka ซึ่งอยู่ตรงข้ามฝั่งกับที่นี่ ซึ่งเฟอรี่ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงจากท่าเรือนี้ถึงเมือง Listvyanka
เรื่องราวที่น่าสนใจของ Port Baikal สถานีรถไฟเก่าแก่นี้เคยคึกคักและเป็นสถานีสำคัญในประวัติศาสตร์การรถไฟของรัสเซีย เส้นทางรถไฟทั้งจากตะวันออก และตะวันตกของรัสเซียสร้างเสร็จแล้วแต่มาบรรจบและมีปัญหาใหญ่ที่เมืองเอียร์คุสต์ (Irkutsk)
เมือง Listvyanka
เนื่องจากทะเลสาบไบคาลขวางกั้นทางเดินรถไฟ ปัญหาเกิดจากความยากลำบากในการสร้างทางรถไฟที่มีเขาขวางกั้น
และเหตุผลทางการเมืองที่ไม่อยากให้ทางรถไฟเป็นเส้นทางที่ศัตรูเช่นญี่ปุ่น หรือเกาหลี สามารถบุกเข้าไปยังผั่งตะวันตก หรือเมืองหลวงทางมอสโกได้ง่ายเกินไป เพราะอยู่ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมทั้งปัญหาภายในของรัสเซียก็ไม่สงบนัก อีกทั้งฝั่งทางนี้ก็เป็นถิ่นของนักโทษการเมืองที่ถูกเนรเทศมายังไซบีเรียมากมาย
แต่เพื่อให้การเดินทางมีความต่อเนื่องและแนวความคิดที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเกิดขึ้นให้ได้ จึงใช้เรือเฟอรี่เพื่อขนถ่ายขบวนรถไฟกันที่ท่าเรือ Port Baikal แห่งนี้ ช่วงปี 1900-1904 สถานีนี้ใช้เพื่อขนถ่ายรถไฟเพื่อขึ้นเรือ Train ferry โดยเอาตัวรถไฟขึ้นบนเรือลำใหญ่ที่สามารถตัดน้ำแข็งในทะเลสาบ Icebreaker-ferry ชื่อเรือ “Baikal” ส่วนผู้โดยสาร และสินค้าก็ลงจากรถไฟแล้วนำขึ้นเรือลำเล็ก Icebreaker-ferry ชื่อ”Angara” เพื่อไปส่งยังเมืองฝั่งตรงข้ามของ Port Baikal ที่ท่าเรือ Mysovaya หรือเมือง Babushkin ในปัจจุบัน
1
แต่ในช่วงหน้าหนาวปี1903-1904 เกิดอากาศที่หนาวจัดทะเลสาบเป็นน้ำแข็งและแข็งเกินกว่าจะใช้เรือเฟอรี่ Icebreaker จึงได้ใช้วิธีวางรางไปบนน้ำแข็งแล้วใช้สัตว์มาลากตู้รถไฟบนรางอีกที
ในที่สุดความพยายามเพื่อสิ่งที่ดีกว่า สะดวกกว่าไม่เคยหยุดนิ่ง เมื่อการรถไฟของรัสเซียลงทุนตัดเส้นทาง เจาะภูเขา สร้างสะพาน ลัดเลาะริมชายฝั่งทะเลสาบเพื่ออ้อมไปยังเมือง Mysovaya แทน โดยใช้เส้นทางรถไฟที่เรียกว่าสาย Circumbaikal แทนการใช้ train ferry
ถึงอย่างนั้นสถานี Port Baikal ก็ยังคงเป็นสถานีสำคัญของสาย Trans-Siberia ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถานีสำคัญของ “golden buckle on the steel belt of Russia” ซึ่งมี4สถานีใหญ่บนเส้นทาง Circumbaikal คือ Port baikal – Maritui – Kultuk – Sludyanka
แต่ Port Baikal ก็ต้องถูกปิดตัวลงเมื่อมีการสร้างเขื่อน Irkutsk ทำให้เกิดน้ำเอ่อท่วมเส้นทางรถไฟจาก Irkutsk – Port Baikal การรถไฟตัดเส้นทางสายใหม่เพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟเก่า โดยอ้อมออกจาก Irkutsk ข้ามเขาไปยังเมือง Sludyanka แล้วค่อย เพื่อมุ่งหน้าไปยัง Mysovaya แทน
ส่งผลให้เศรษฐกิจการค้า ที่ Port Baikal ซบเซา ผู้คนมากมายเริ่มย้ายออกไป บางส่วนย้ายไปยังเมือง Listvyanka ฝั่งตรงข้าม ที่นี่ลดฐานะเป็นเพียงโรงซ่อม ที่จอดรถไฟขบวนท้องถิ่น ปัจจุบันนี้พยายามพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับเส้นทาง Circumbaikal โดยในสถานีมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับการรถไฟโดยเฉพาะเรื่องราวของเส้นทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียนี้
เอาเป็นว่า วันนี้เบรคกันที่ท่าน้ำแห่งเมือง Listvyanka ก่อนนะค่ะ วันหน้าเราจะเดินทางกันต่อ อย่าถามว่าชื่อเมืองแต่ละอันออกเสียงว่าอะไรนะค่ะ ไม่กล้าจริงๆ ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลนี้จาก
wikipedia
โฆษณา