19 พ.ค. 2021 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ความเสี่ยงที่คุณควรรู้หากอยากเป็นวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรม
การทำงานเป็นวิศวกรไม่ว่าจะเป็นวิศวกรเคมี วิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า inspector instrument engineer หรือแม้แต่คุณเป็นคนนึงที่ทำงานในโรงงานโดยที่ไม่ได้เป็นวิศวกร สิ่งที่อาจจะเจอในการทำงานคือความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงงาน วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าหากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต้องเจอกับความเสี่ยงใดบ้าง
1.ความเสี่ยงจากการตกจากที่สูง
อุปกรณ์ในโรงงานมีขนาดที่ใหญ่และสูง หากสูงมากๆอย่างเช่น หอกลั่นหรือflare ก็จะเผชิญกับความเสี่ยงจากการตกจากที่สูงได้ หากสภาพร่างกายไม่พร้อมต้องไปปีนป่าย ควบคุมการปีนไม่ดี อาจจะเพิ่มโอกาสในการตกจากที่สูงแล้วได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้กฎหมายจากกระทรวงแรงงานเองมีกฎการใช้แรงงานหญิงว่าห้ามแรงงานหญิงงานทำงานบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป อันนี้เองก็ทำให้ผู้ชายมีความเสี่ยงในการทำงานมากขึ้นเพราะสามารถทำงานได้สูงกว่า
2.ความเสี่ยงจากความร้อน
หากทำงานตอนกลางวันนั้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการทำงานท่ามกลางแสงแดด มีความเสี่ยงในการเป็นลมได้ง่าย เกิดอาการ Heat stoke ได้หรือเกิดอาการตะคริวเนื่องจากร่างกายสูญเสียเกลือแร่ นอกจากนี้เวลาทำงานกลางแจ้งที่อากาศร้อนจัดแล้วกลับเข้าออฟฟิตที่เปิดแอร์เย็นฉ่ำ ก็เพิ่มโอกาสในการไม่สบายเพิ่มขึ้นไปด้วย
3.ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี
ในโรงงานนั้นมีสารเคมีมากมาย รวมถึงฝุ่น แก๊สที่ปลดปล่อยออกมาจากการดำเนินงาน หากป้องกันตัวเองไม่ดีเลือกอุปกรณ์ PPE ผิดชนิดก็อาจจะทำให้เกิดการสัมผัสกับสารเคมีได้ เช่น ลืมใส่แว่นตา safety อาจทำให้ฝุ่นเข้าตาหรือ ไอของสารเคมีเข้าตา สารเคมีโดนผิวหนังแล้วเกิดอาการผื่นแพ้ หรือใส่หน้ากากกรองผิดประเภททำให้สูดดมสารเคมีผ่านทางจมูก เกิดการสะสมสารเคมีในร่างกายหรือเกิดการแสบได้
4.ความเสี่ยงจากที่อับอากาศ
ในบางตำแหน่งในโรงงานอุตสาหกรรมต้องมีการเข้าไปตรวจสอบอุปกรณ์ภายใน ทำให้ต้องมีการมุดเข้าไปทำงานในที่ที่มีอากาศน้อย อันนี้ขอเล่าตัวอย่างในโรงงานปิโตรเคมี หรือโรงกลั่นน้ำมัน เวลาจะทำการเข้าไปในอุปกรณ์จะต้องมีการกำจัดสารเคมีตกค้างข้างในอุปกรณ์ เช่น อาจจะใช้ไอน้ำในการพ่นล้าง หรือใช้ก๊าซไนโตรเจนเข้าไปแทนที่สารไฮโดรคาร์บอน หลังจากนั้นจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ในการทำ air ventilation เพื่อที่จะทำให้มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอ ในการเข้าไปทำงานที่อับอากาศได้ หากการเข้าไปทำงานนั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อากาศในที่อับอากาศลดลงมีปริมาณออกซิเจน<19.5%vol ทำให้ขาดอากาศหายใจได้ หรือหากอุปกรณ์นั้นไม่ถูกตัดออกจากเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวอย่างสมบูรณ์ อาจจะเกิดการสัมผัสสารพิษในขณะที่ทำงานในที่อับอากาศได้
จริงๆ แล้วยังมีความเสี่ยงอีกมากมาย เช่น อันตรายจากเสียงดัง วัตถุตกลงจากที่สูง หากทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าอาจจะมีเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร อย่างสถานการณ์ในปัจจุบันเราเองก็มีความเสี่ยงกับการติดเชื้อ COVID19 จริงๆแล้วความเสี่ยงอยู่รอบๆตัวเรา เราสามารถลดความเสี่ยงหรืออันตรายที่เกิดขึ้นได้หากปฏิบัติตามกฎของที่ทำงานอย่างเคร่งครัด สวมใส่เครื่องมือป้องกันถูกต้องครบครัน แอดหวังว่าคอนเทนต์นี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจว่าคุณนั้นอยากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจริงเหล่านี้จริงๆรึป่าวนะคะ..
ติดตามวิศวเกิร์ลได้ทางช่องทางตามนี้ค่า:
โฆษณา