18 พ.ค. 2021 เวลา 16:46 • การศึกษา
หลักการของกฎหมายอวกาศ
สรุปจากคำบรรยายของ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ
วิชากฎหมายอวกาศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่ประเทศมหาอำนาจประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศขึ้นไปโคจรในอวกาศ ในปี ค.ศ.1957 ซึ่งถือว่าเป็นการบุกเบิกการเดินทางไปอวกาศ รัฐทั้งหลายต่าตะหนักดีถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการใช้บังคับกับกิจกรรมต่างๆในอวกาศ เพื่อมิให้อวกาศเป็นต้นกำเนิดแห่งความขัดแย้งระหว่างรัฐขึ้นซึ่งต่างก็ปรารถนาที่แสวงประโยชน์จากการใช้อวกาศในลักษณะต่างๆ ดังนั้นจึงมีการบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อป้องกันข้อพิพาทและเพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคมระหว่างประเทศเอง โดยกฎเกณฑ์พื้นฐานเกียวกับหลักกฎหมายอวกาศ ปี ค.ศ. 1967 และยังได้มีการสร้างบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นเพื่อเสริมหลักพื้นฐานเหล่านั้นโดยการทำเป็นสนธิสัญญาอีกหลายฉบับอีกทั้งยังมีการวางแนวทางของกฎเกณฑ์ในเรื่องอื่นๆในรูปของข้อมติขององค์การสหประชาชาติที่แม้ยังไม่สถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแต่ก็สะท้อนให้เห็นแนวโน้นของกฎเกณฑ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง หลักการพื้นฐานของกฎหมายอวกาศ คือ หลักเสรีภาพของอวกาศซึ่งนอกจากจะยืนยันสิทธิของรัฐต่างๆในการใช้อวกาศได้อย่างเสรีก็ยังให้หลักประกันแก่รัฐทั้งปวงว่าอวกาศเป็นแดนเสรีที่รัฐไม่อาจเข้าถือครองเป็นเจ้าของหรืออ้างกรรมสิทธิ์ใดๆได้ แต่หลักการนี้ก็มีขอบเขตที่ชัดเจนมีการระบุข้อจำกัดที่ชัดแจ้งไว้ในเรื่องการใช้อวกาศในทางสันติเท่านั้น นอกจากนี้รัฐต้องใช้อวกาศอย่างรับผิดชอบ โดยเมื่อใดเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็ต้องรับผิดชอบและชดใช้ จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักการกฎเกณฑ์การใช้อวกาศอย่างเสรีอย่างไร
หลักการข้อ A      เป็นหลักการว่าด้วยเป้าหมายและจุดประสงค์ของหลักการนี้
1. ภายใต้เป้าหมายและจุดประสงค์ พูดถึงว่ากิจกรรมต่างๆ ในขอบข่ายของการส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมควรที่จะดำเนินการไปให้สอดคล้องกับหลักการที่ว่าสิทธิอธิปไตยของรัฐ ซึ่งรวมถึงหลักการที่ว่าด้วยการไม่เข้าไปแทรกแซง ตลอดจนเรื่องของสิทธิของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถค้นหา แสวงหารับหรือส่งข้อมูลและความคิดต่างๆ ดังที่ปรากฏในความตกลงต่างๆ ของสหประชาชาติ
ดังนั้นในวรรคหนึ่งเน้นหลักๆ ทั่วไปก่อน หลักที่ 1 ก็ถือว่าใช้กิจกรรมมีส่งออกอากาศผ่านดาวเทียม ที่ยิงจากดาวเทียมไปประเทศไหนก็แล้วแต่ หลักการไม่มีใครปฏิเสธว่าทำไม่ได้ ก็คือทำได้ แต่ทำยังไงจะทำได้ก็ต่อเมื่อต้องคำนึงถึงหลักสิทธิอธิปไตยของรัฐ
ในเชิงกฎหมายตรงนี้มีข้อพึงสังเกตว่าในความตกลงต่างๆ ที่เราเห็นมาโดยเฉพาะ space treaty พูดถึงเรื่องของอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในกฎหมายหลายๆ หลักที่เราเห็นมันจะพูดถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐในดินแดนของตนเอง ถ้าดูในกฎหมายทะเล จะเห็นความแตกต่างชัดเจนระหว่าง Sovereignty กับ sovereign right ในการใช้อำนาจอธิปไตยกับการใช้สิทธิอธิปไตย ในหลักกฎหมายเราบอกว่ารัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตนเอง (sovereignty) ดินแดนของตนเอง ได้แก่ แผ่นดิน น่านน้ำ ภายในทะเลอาณาเขต และน่านฟ้าเหนือบริเวณเหล่านั้น แต่ทั้งนั้นกฎหมาย.. รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยในเขตที่เรียกว่าไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
เพราะว่าเรากำลังพูดถึงกฎหมายที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐและอยู่นอกเจตนาอำนาจอธิปไตยของรัฐ ว่าการยิงสัญญาณจากดาวเทียมลงมาสู่ภาคพื้นดินจะผ่านส่วนที่เย็น Outer space (อวกาศ) แล้วก็ผ่านลงมาสู่ชั้นที่เย็น air space ลงมาสู่พื้นดิน ไม่มีใครบอกว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ไปตีความว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยจึงใช้คำที่มีความหายที่อ่อนลงมา คือ สิทธิอธิปไตย เพราะถ้าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยนี้ยุ่งมาก ถ้าบอกว่ากิจกรรมการออกอากาศทางโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียม เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตย ค่อนข้างจะมีนัยทางกฎหมายที่ค่อนข้างจะยุ่งมาก เพราะการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐโดยอีกรัฐหนึ่งเป็นปัญหารุนแรงทางกฎหมายระหว่างประเทศและโดยหลักการไม่ใช่การละเมิดอำนาจอธิปไตยเพราะฉะนั้นจึงลดถ้อยคำลงมาให้เป็นแค่สิทธิอธิปไตยของรัฐ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิที่รัฐสามารถปกป้องวัฒนธรรมของตนเอง อะไรก็แล้วแต่ของตนเองในเชิงเหล่านั้นด้วย
2. กิจกรรมดังกล่าวเหล่านั้นจะต้องช่วยส่งเสริมการเผยแพร่และการแลกเปลี่ยนร่วมกันโดยเสรี ซึ่งข้อมูล ข่าวสารและความรู้ในด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ ในด้านการพัฒนา การศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศกำลังพัฒนา ช่วยเพิ่มพูนคุณภาพของชีวิต ให้กับประชาชนโดยทั่วไป และเป็นสันทนาการให้กับประชาชน ทั้งนี้ต้องเคารพในบูรณภาพ (Integrity) ของรัฐ ความด้านการเมืองและวัฒนธรรม
3. กิจกรรมเหล่านี้ควรที่จะควรที่จะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และสร้างเสริมความสัมพันธ์ในเชิงมิตรไมตรี ตลอดจนความร่วมมือระหว่างรัฐทุกรัฐและประชาชนทุกเชื้อชาติ เพื่อประโยชน์ในการดำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศทำไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันเพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อความร่วมมือที่ดีระหว่างกัน และเพื่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ นั้นก็เป็นจุดประสงค์ของหลักการที่ว่าด้วยการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ข้อ B เป็นเรื่องของการนำเอากฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ ภายใต้ข้อ B มีมาตรการเดียวก็คือ วรรค 4
4. กิจกรรมต่างๆ ในด้านการเผยแพร่ภาพโทรทัศน์โดยตรงระหว่างประเทศผ่านดาวเทียมนั้น ควรจะดำเนินไปให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งหลักต่างๆ ที่อยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา space treaty 1967 (สนธิสัญญาอวกาศปี 1967) บทบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของ อนุสัญญาว่าด้วยโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องวิทยุโทรทัศน์และความตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และความร่วมมือระหว่างรัฐและที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
หลักการข้อ B  บอกว่ากฎหมายทั้งหมดนี้พึงเอามาใช้
พึงกระทำภายใต้กฎหมายเหล่านี้ กว้างมาก กว้างจนกระทั่งมอง 2 ด้านได้ กว้างจนกระทั่งคุณทำอะไรได้ เพราะว่าไร้หลักการในสิ่งเหล่านี้กว้างมาก หรือมองอีกด้านหนึ่งก็คือว่ามันกว้างจนกระทั่งคุณทำอะไรต้องระวังไปหมดเลยว่าจะผิดกฎบัญหรือเปล่า จะผิด space treaty หรืออะไรต่างๆ หรือเปล่า  เพราะไปพูดถึงความตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายไปหมด ซึ่งไม่ได้บอกอะไรบ้าง  แต่เนื่องจากมันเป็นแค่ principle และมันมาจากซักโซโลชั่นของสมัชชาสหประชาชาติ ตีความอันแรกน่าจะถูกกว่าตีความอันหลัง อาศัยว่ามันกว้างจนกระทั่งทำอะไรก็ได้ไม่ผิดเสียมากกว่า นอกจากว่าคุณจะไปทำอะไรที่ไปยุให้เขาฆ่าล้างเผ่าพันธ์กัน อะไรทำนองอย่างนั้น มันถึงจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถ้าไม่ถึงขนาดนั้นก็ไม่น่าจะเป็นกรณีของการกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้เพราะมันกว้างมาก
หลักการข้อ C   เรื่องของสิทธิและผลประโยชน์
ทุกรัฐมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในด้านการออกอากาศโดยตรงทางโทรทัศน์ระหว่างประเทศผ่านดาวเทียม และในการมอบหมายให้กิจกรรมนั้นๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของตนเอง รัฐทุกรัฐและคนทุกเชื้อชาติ ควรจะและมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมเหล่านั้น ทุกรัฐการจะมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีในด้านนี้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ภายใต้เงื่อนไขที่อยู่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงร่วมกัน
เทคโนโลยีนี้มันไม่ได้ลอยอยู่ตรงไหนและทุกคนเอามาได้ แต่มันเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมา มีการคิดค้นกันขึ้นมามันมีมูลค่ามีราคา เงื่อนไขก็คือมีการทำความตกลง แต่เงื่อนไขนั้นแหละคือสิ่งที่ทำให้ทุกรัฐไม่ได้เข้าถึงเหมือนกันหมด ถ้าประโยคจบที่ว่าทุกรัฐได้เข้าถึงเทคโนโลยีด้านนี้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ จบแค่นี้ยุ่งมันเกิดขึ้นไม่ได้ แต่มันไปต่อว่าภายใต้เงื่อนไขรัฐที่ไม่เกี่ยวข้องตกลงกันมาก็คือว่าไม่ตกลงมันก็ใช้ไม่ได้ หรือตกลงได้แค่ไหนมันก็ได้แค่นั้น เพราะว่าประโยคสุดท้ายที่เป็นความฝันไม่ค่อยเป็นจริง ข้อ 1 จะถูกตั้งคำถามว่ามีใช้ทำไม และก็จะถามในข้อเดียวกันว่ามีใช้ทำไม แต่มันมีคำตอบว่ามีใช้ไปทำไม 2 เรื่องเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้จดวันนี้ ก็คือเรื่องของ direct broadcasting และ remote sensing
หลักการข้อ D  หลักการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ
กิจกรรมต่างๆ ในการออกอากาศแพร่ภาพโทรทัศน์โดยดาวเทียมโดยตรงระหว่างประเทศ ว่ากิจกรรมในด้านนี้ควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างประเทศและควรจะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน และความร่วมมือเช่นนั้นก็ควรที่จะมีรูปแบบการจัดการที่เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงเป็นพิเศษคือความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ในการใช้ประโยชน์จากการแพร่ภาพของโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนการพัฒนาของประเทศนั้นๆ
จะเห็นได้ว่าแม้ในเรื่องของบอกว่าควรจะต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศดังกล่าวนั้นควรจะมีรูปแบบไหน ก็ไม่ได้บอก เพียงแต่บอกว่าควรจะต้องมีรูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ก็ไม่ได้บอกอีกว่าการจัดการที่เหมาะสมนั้นเป็นอย่างไรก็ไปทำกันเอง ก็ปล่อยให้รัฐต่างๆ ไปทำกันเอง แม้บอกว่าให้คำนึงถึงประเทศกำลังพัฒนา ว่าจะใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเพิ่มพูนการพัฒนาประเทศของประเทศกำลังพัฒนา แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเป็นแค่ Principle มันไม่ได้ผลบังคับผูกพันทางกฎหมายกัน 2 ควรคำนึงถึงแล้วเมื่อว่าไม่ได้คำนึงถึงมีใครผิดอะไรไหม ก็ไม่มีใครผิดอะไรอีก
หลักการข้อ E   เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
หากมีกรณีพิพาทระหว่างประเทศเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ  เหล่านี้ กิจกรรมที่อยู่ภายใต้หลักการนี้ กรณีพิพาทเหล่านั้นก็ควรที่จะหาทางระงับผ่านกระบวนการขั้นตอนการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีที่ตกลงโดยคู่กรณีและสอดคล้องกับหลักการในกฎบัตรของสหประชาชาติ
หลักการข้อ F   เรื่องของความรับผิดชอบของรัฐ
1.  บอกว่ารัฐต่างๆ ควรที่จะมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจกรรมที่ดำเนินการโดยรัฐนั้นๆ ในการแพร่ภาพทางโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศหรือในกิจกรรมที่ดังกล่าวที่เกิดขึ้นภายใต้เขตอำนาจศาลของตนเอง และควรต้องรับผิดให้กิจกรรมเหล่านั้นสอดคล้องกับหลักการภายใต้มติหลักการฉบับนี้
ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้วใครรับผิดชอบ ก็รัฐไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่รัฐเป็นผู้ทำเอวหรือกิจกรรมที่ตัวแทนของรัฐหรือกิจกรรมที่บุคคล ปัจเจกชน เป็นผู้กระทำ ถ้าหากการกระทำนั้นกระทำภายใต้เขตอำนาจศาลหรืออำนาจอธิบไตยของรัฐนั้นๆ รัฐนั้นต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศ ส่วนจะรับผิดชอบโดยวิธีการไหนก็คงต้องไปว่ากันตามหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ
2. พูดถึงในกรณีที่มันเป็นกิจกรรมแพร่ภาพผ่านดาวเทียมที่กระทำโดยองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นภาครัฐ เช่น ITU หรือองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่รัฐเป็นภาคีและกิจกรรมเช่นว่านั้นความรับผิดชอบของรัฐตามวรรค 8 เป็นความรับผิดชอบลักษณะเดียวกัน  แต่ว่าความรับผิดชอบดังกล่าวเป็นความรับผิดชอบที่ตกลงกันทั้งองค์กรระหว่างประเทศและกับรัฐที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นไปด้วย เช่น สมมุติรัฐภาคี 3 รัฐไม่ใช่ทั้งหมดมีสิทธิร่วมกันในกิจกรรมนั้น  ทั้งองค์กรระหว่างประเทศและรัฐ 3 รัฐนั้นโดยเฉพาะที่ต้องรับผิดชอบ
หลักการข้อ G   หลักการว่าด้วยหน้าที่และสิทธิในการปรึกษาหารือ
บอกว่ารัฐที่ทำการแพร่ภาพหรือเป็นผู้รับสัญญาณภาพจากบริการการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมโดยตรง ซึ่งเป็นบริการที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง(คือรัฐที่แพร่ภาพและรัฐที่รับภาพ) และได้รับการขอร้องจากรัฐอื่น ทั้งรัฐที่ทำการแพร่ภาพและรัฐที่รับภาพ ซึ่งดำเนินการให้บริการลักษณะเดียวกัน จะต้องมีการหารือซึ่งกันและกันในกิจกรรมการแพร่ภาพเหล่านั้น หมายความว่ารัฐที่ทั้งกระจายเสียงหรือแพร่ภาพและรัฐที่รับที่มีการตกลงกันว่าจะมีการแพร่ภาพและรับ และก็มีอีกรัฐอื่นที่แพร่ภาพและรับ แล้วรัฐอื่นมาขอว่าเมื่อเราทำกิจกรรมเหมือนๆ กัน เราควรที่จะมาปรึกษาหารือกัน เพื่อที่จะไม่ให้กิจกรรมทำนั้นมันทับซ้อนกันหรือมีปัญหาระหว่างกัน รัฐเหล่านั้นมีหน้าที่ที่จะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อให้การแพร่ภาพเหล่านั้นสามารถดำเนินการไปได้โดยไม่กระทบกระเทือนกับสิทธิของรัฐอื่น เพราะฉะนั้นข้อ G เรื่องของสิทธิและหน้าที่ในการปรึกษาหารือ หลักใหญ่ๆ ก็คือว่าให้ทำเพื่อที่จะกำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่เพื่อที่จะไม่ให้ไปกระทบสิทธิของรัฐอื่นในการบริการในลักษณะเดียวกัน
หลักการข้อ H   เรื่องสิทธิของรัฐเพื่อนบ้านและลิขสิทธิ์
กล่าวถึงว่ารัฐควรจะต้องร่วมมือกันทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาตี เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์และพิทักษ์สิทธิของประเทศเพื่อนบ้าน หรืออาจจะทำในรูปแบบของความตกลงระหว่างรัฐที่เกี่ยวข้องหรือเป็นความตกลงของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนั้นของแต่ละรัฐเช่นเดียวกันนั้นเรื่องการดูแลลิขสิทธิ์และสิทธิเพื่อนบ้านนั้นก็ต้องทำไปโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนาด้วยส่วนที่เหลือคือหลักการข้อ I เป็นเรื่องของการตรวจแจ้งองค์การสหประชาชาติทราบ เมื่อมีข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันเรื่องก็ควรจะต้องแจ้งให้สหประชาชาติทราบ
หลักการข้อ J  เรื่องขอการปรึกษาหารือและข้อตกลงระหว่างรัฐ
รัฐที่จะดำเนินการหรือว่าได้อนุญาตให้ดำเนินการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ ควรจะต้องแจ้งให้รัฐที่ต้องรับภาพเหล่านั้นได้รับทราบ โดยไม่ชักช้าและเมื่อรัฐที่สัญญาณนั้นไปตกเขาร้องขอ ให้มีการปรึ่กษาหารือกันเสียก่อน รัฐผู้ดำเนินการแพร่ภาพก็ควรจะดำเนินการปรึกษาหารือกับรัฐที่รับภาพ
พูดถึงว่าการแพร่ภาพเหล่านี้ก็ควรคำนึงถึงความตกลงต่างๆ ภายใต้ ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในเรื่องของหลักการว่าด้วยการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ หลักการมันไม่ได้ลงไปชัดเจนในเรื่องอะไรทั้งสิ้น ไม่ได้บอกว่ารัฐต้องทำเช่นนั้นหรือรัฐต้องทำเช่นนี้ มีแต่รัฐควรทำทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นหลักการนี้ง่ายๆ ก็คือว่า ถ้าสรุปประโยคเดียวก็คือว่า ในเรื่องของการแพร่ภาพทางโทรทัศน์โดยตรงผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ รัฐที่เกี่ยวข้องต้องปรึกษาหารือกัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐส่งออกอากาศ รัฐที่รับ หรือรัฐที่เกี่ยวข้องลักษณะใดก็ตาม ควรจะทำด้วยการปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน ควรทำด้วยการคำนึงถึงกันและกัน
โฆษณา