26 พ.ค. 2021 เวลา 01:00 • หนังสือ
Originals, Adam Grant
เล่มนี้ซื้อมาเพราะชอบ Adam เป็นทุนเดิมจากการที่ได้ยินชื่อเสียงเรียงนามในเรื่องของความเก่ง (ได้ตำแหน่ง professor ตั้งแต่อายุ 28!!) รวมถึงเคยฟังพอดแคสท์ Worklife ด้วย ยิ่งทำให้รู้สึกว่า เออ...คนนี้มันเจ๋งแฮะ
in a nutshell: cookbook for a game-changer
Originals เอาจริงๆ ก็ไม่ได้มีอะไร original ขนาดนั้น สำหรับคนที่สนใจศึกษาเรื่อง growth mindset หรือ creativity อยู่แล้วอาจจะเจอเนื้อหาแบบที่เคยผ่านตามาบ้าง เพราะมันมี element ที่คาบเกี่ยวกันอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม Originals ก็เป็นหนังสือที่อ่านสนุกและเปิดโลกอยู่ทีเดียว วิธีการเขียนของ Adam ทำให้เราจดจ่อกับเนื้อหาได้อย่างดี
ตอนท้ายหนังสือได้สรุปแนวปฏิบัติสำหรับคน 3 ระดับคือ ระดับปัจเจก ผู้นำองค์กร และพ่อแม่ (ไว้ใช้อบรมบุตร ธิดา) ซึ่งดีมากสามารถเอาไปใช้ได้เลย
หนังสือมีแปดบท ประกอบด้วยคุณสมบัติที่เหล่า non-conformist พึงมีและพึงปฏิบัติ อาจพอจะสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้คือ
 
1. non-conformist ปฏิเสธ status quo มองสิ่งที่มีอยู่แล้วว่ามันยังไม่ดีพอ อึดอัดกับสิ่งที่มีอยู่ และอยากสร้างความเปลี่ยนแปลง (โอเคกูจบตั้งแต่ข้อนี้ละ)
2. ไอเดียสำคัญมาก ปริมาณมาก่อนคุณภาพ (ใช่แล้ว ปริมาณมาก่อน!!)
3. ควรมี safe zone สำหรับชีวิตไว้ด้วยอย่าห้าว เพราะการเปลี่ยนแปลงต้องเผชิญกับแรงเสียดทาน การไม่มี buffer ไว้เลย เมื่อมีปัญหาจะทำให้เครียด ความเครียดจะบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของเรา
4. ระวัง expertise trap เพราะความเชี่ยวชาญจะทำให้เราออกจากกรอบเดิมๆ ไม่ค่อยได้ รวมถึงเรามักจะมั่นใจในความคิดของเรามากเกินไป (คิดว่าดี) แต่เอาจริงๆ บางทีเวลาเรารู้น้อยก็ทำให้เรามั่นใจตัวเองได้เหมือนกัน (ยอดซ้าย-ขวาของ Dunning-Kruger effect)
5. respectability สำคัญ ถ้าเรามีจะทำให้การนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ได้รับการยอมรับง่ายขึ้น
6. การนำเสนอไอเดียใหม่พยายามอย่าออกตัวแรง คนอื่นจะตกใจได้ง่าย และถ้าเป็นไปได้ควรพยายามใส่ component บางอย่างที่ทำให้คนอื่นรู้สึก familiar กับไอเดียนั้นบ้าง เมื่อคนคุ้นชินแล้วจึงค่อยๆ ยกระดับไอเดียเราอีกที
7. การได้เห็น ได้ยินไอเดียบ่อยๆ จะทำให้คนยอมรับไอเดียนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น (mere exposure effect)
8. การผลัดวันประกันพรุ่งไม่ได้แย่เสมอไป แต่ต้องเป็น productive procrastination คือออกไปทำอย่างอื่นบ้างก่อนจะกลับมา complete งานเดิม เพราะจะทำให้เรามีโอกาสซึมซับข้อมูล ไอเดียเพิ่มเติม ซึ่งสามารถนำมาใช้ปรับปรุงไอเดียที่เรามีอยู่ก่อนได้
ส่วนหนึ่งของหนังสือได้แนะนำวิธีเลี้ยงลูกด้วย เป็นการบอกขั้นตอนการบ่มเพาะความเป็น non-conformist ให้แก่เด็ก อันนี้บรรดาพ่อแม่ยุคใหม่อาจจะพอรู้อยู่แล้ว ไม่ได้มีอะไรใหม่มาก
บทหลังๆ จะเน้นในแง่ของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการบริหารองค์กร รวมถึง demystify ความเข้าใจบางอย่าง เช่น groupthink ที่หลายๆ คนจะเข้าใจว่ามันคือการ brainstorm ซึ่งก็แก้ได้ด้วย diversity ของคนในองค์กร (เพศ เชื้อชาติ การศึกษา และอื่นๆ)
วิธีการบริหารองค์กร อันนี้ยกเคส Bridgewater Associates มาอย่างเยอะ ซึ่งอ่านอันนี้ดีกว่าไปอ่านหนังสือของ Ray Dalio (อ่าน Principles ของ Ray เหมือนอ่านหนังสือธรรมะ) หลักๆ ก็จะเป็นเรื่อง feedback แบบตรงไปตรงมาโดยไม่สน hierarchy ในองค์กร
บทสุดท้ายคือการบริหาร morale ของทั้งตัวเราเอง และคนในองค์กรให้ keep going การจัดการอารมณ์เมื่อเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงกับสิ่งที่ทำอยู่ การสร้างความรู้สึก urgency และ neccesity เพื่อสร้างแรงในการขับเคลื่อนโปรเจคต์
เพิ่มเติม: Originals อ้างอิงหนังสือเล่มหนึ่งคือ Thinking Fast and Slow ของ Daniel Kahneman (ผลงานจากงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Amos Tversky เพื่อนสนิทของเขาที่เสียไปก่อนหน้าที่จะขึ้นรับรางวัลโนเบล) ซึ่งเล่มนี้ super recommended
สรุป Originals เหมาะกับทุกคนเพราะเราเชื่อว่าทุกคนมีความเป็น non-conformist ในตัวเอง (spot โฆษณาก็มา)
โฆษณา