19 พ.ค. 2021 เวลา 12:27 • ประวัติศาสตร์
《เสียวหม่าน ร้อนมา ข้าวน้อยจึงออกรวง(小满节气)》
ความเป็นมาพอสังเขป(历史渊源简介)
.
เสียวหม่าน(小满节气)เป็นอนุฤดูที่ 8 และเป็นอนุฤดูลำดับสองของฤดูร้อน เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาในตำแหน่ง 60 องศาจึงถือว่าได้เข้าสู่เสียวหม่าน โดยทั่วไปเสียวหม่านจะอยู่ในระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคมของทุกปีตามปฏิทินสากล หลังจากเข้าสู่เสียวหม่าน สภาพอากาศจะเปลี่ยนจากอากาศอบอุ่นเป็นร้อนขึ้น รวมถึงมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นตามลำดับ เหมือนสุภาษิตที่ว่า: “เสียวหม่านต้าหม่านลำธารเต็มปริ่ม【农谚—小满大满江河满】” นอกจากนี้เสียวหม่านยังเป็นตัวเปิดประตูสู่สภาพอากาศที่ร้อนและขณะเดียวกันที่ธัญพืชและข้าวก็กำลังออกรวงแต่ยังไม่สุกดี ด้วยเหตุนี้จึงเรียกช่วงนี้ว่า “เสียวหม่าน(小满)”
ที่มาของฤดูกาล(节气由来)
.
ที่เรียกว่า “เสียวหม่าน(小满)” มีนัยยะด้วยกันอยู่ 2 ประการ; ประการแรก เกี่ยวข้องกับช่วงการทำเกษตรกรรม(农候)คือเป็นช่วงที่ธัญพืชหรือข้าวที่ปลูกไว้ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิได้เริ่มออกรวงในช่วงเวลานี้แต่ยังไม่สุกพอที่จะเก็บเกี่ยว; ประการสอง เกี่ยวกับปริมาณน้ำฝน(降水)คือเสียวหม่านเป็นจุดเปลี่ยนของอุณหภูมิที่อบอุ่นมาเป็นสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น เมื่ออากาศยิ่งร้อนเมฆก็ยิ่งเก็บมวลพลังงามมากขึ้น จึงทำให้ช่วงเวลานี้มีปริมาณน้ำฝนมากเช่นเดียวกันกับสุภาษิต: “เสียวหม่านต้าหม่านลำธารเต็มปริ่ม【农谚—小满大满江河满】”
.
ในหนังสือ “อภิธานศัพท์ 72 ช่วงฤดูกาล《月令七十二候集解》” ได้กล่าวไว้ว่า: “กลางเดือนสี่เสียวหม่านนี้ พืชพรรณเล็กๆ จะเริ่มออกรวงเต็มท้องทุ่ง【四月中,小满者,物至于此小得盈满。】” กล่าวคือธัญพืชที่ปลูกขึ้นบริเวณภูมิภาคเหนือของจีนเริ่มออกรวงแล้ว เพียงแต่ยังไม่สุกพอที่จะเก็บเกี่ยว
.
เสียวหม่านเป็นช่วงปลายของการเจริญเติบของธัญพืชที่ปลูกมาตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิและส่วนใหญ่จะออกรวงแล้ว จึงทำให้เรียกช่วงเวลานี้ว่า “เสียวหม่าน(小满)” และเสียวหม่านยังเป็นศัพท์เทคนิคของอู้โฮ่ว(物候;ศัพท์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสภาพดินฟ้าอากาศ)อีกด้วย
.
ส่วนภูมิภาคใต้ใช้สุภาษิตที่ทำให้นัยยะของเสียวหม่านเกิดความหมายใหม่คือ “เสียวหม่านไม่เพียงพอ คันนาแตกระแหง【农谚—小满不满,干断田坎。】” หรือ “เสียวหม่านไม่เพียงพอ นับประสาอะไรกับหมังจง【小满不满,芒种不管。】” คำว่า “หม่าน(满)” ในที่นี้ได้ถูกนำมาเปรียบเปรยกับการที่ขาดน้ำและมีน้ำใช้ในช่วงหน้าร้อน(雨水盈缺)ความหมายของสุภาษิตก็คือ ถ้าหากว่าช่วงเสียวหม่านมีน้ำน้อยจะทำให้คันนาแห้งและแตกระแหง ซึ่งมีผลทำให้เมื่อเข้าสู่อนุฤดูหมังจ้ง(芒种节气)จะไม่สามารถปลูกธัญพืชได้อีก
เอ๊ะ! มี “เสียวหม่าน” แต่ทำไมไม่มี “ต้าหม่าน” นะ(小满大满秘密)
.
นับแต่โบราณมาชาวจีนค่อยข้างจะซีเรียสเรื่องการเรียกชื่อฤดูหรือเทศกาลนั้นๆ โดยส่วนใหญ่ชื่อแต่ละชื่อจะสอดคล้องกัน เช่น ลี่ชุน(立春)ลี่เซี่ย(立夏)ลี่ชิว(立秋)และลี่ตง(立冬), ชุนเฟิน(春分)สอดคล้องกับชิวเฟิน(秋分), เซี่ยจื้อ(夏至)สอดคล้องกับตงจื้อ(冬至), เสียวสู่(小暑)สอดคล้องกับต้าสู่(大暑)เป็นต้น แต่ทำไมพอหลังจากเสียวหม่าน(小满)ไม่เป็น “ต้าหม่าน(大满)” แต่เป็น “หมังจ้ง(芒种)” แทนนะ???
.
มีคำอธิบายมากมายเพื่อไขปริศนาที่ว่าทำไมหลังเสียวหม่านจึงเป็นหมังจ้ง แทนที่จะเป็นต้าหม่าน แต่มีแนวคิดหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเชื่อมั่นมากที่คือมุมมองของ “หมาหย่งชิง(宋人—马永卿)” แห่งราชวงศ์ซ่ง ผู้เป็นเจ้าของหนังสือ “หล่านเจินจึ《懒真子》” เขาได้ให้ความเห็นไว้ว่า: “หน้าหนาวหน้าร้อนคือคำแห่งกาลเวลา หิมะและสายน้ำคือคำแห่งฟ้าดิน เหตุนี้จึงเปลี่ยนจากต้าหม่าน(大满)เป็นหมังจ้ง(芒种)เพราะทุกสรรพชีวินได้ถูกสร้างขึ้นมาแล้ว พืชและธัญพืชที่ปลูกก็จะเต็มท้องทุ่งและเจริญเติบโต ณ ห้วงเวลานี้ คนก็ควรมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน สิ่งมีชีวิตและพืชเติบโต ฉะนั้นจึงใช้หมังจ้ง(芒种)แทนการใช้ต้าหม่าน(大满)【夫寒暑以时令言,雪水以天地言,此以‘芒种’易‘大满’者,因时物兼人事以立义也。盖有芒之种谷,至此已长,人当效勤矣;节物至此时,小得盈满,故以芒种易大满耳。】”
.
ถ้าจะสรุปให้เข้าใจเลยก็คือ อนุฤดูเสียวหม่าน(小满)และหมังจ้ง(芒种)นั้นไม่เหมือนกับฤดูอื่นๆ ไม่เพียงเรื่องของเวลาและการเติบโตของพืช แต่ยังรวมถึงปรัชญาการดำเนินชีวิตอีกด้วย หลังจากเข้าสู่เสียวหม่าน อากาศก็จะร้อนขึ้นและคนก็จะเกียจคล้านจนหนำใจกับปัจจุบันที่เป็นอยู่ การเรียกว่า “เสียวหม่าน” และ “หมังจ้ง” ก็เพื่อเตือนสติเราว่าแม้อากาศจะร้อนอย่างไร เราก็ต้องฮึดสู้และขยันให้มากพอ ดั่งคำกล่าวที่ในตำราส้างซู หมวดแผนการต้าอวี่《尚书·大禹谟》: “ลงทุนมากพอ ก็ได้กำไรมากเช่นกัน【满招损,谦受益。】”
เสียวหม่านสามช่วง(小满三候)
.
ในอนุฤดูเสียวหม่าน เมล็ดพืชบางชนิดก็เริ่มเจริญเติบโตอย่างเต็มที่หรือบางชนิดก็เริ่มสุกก่อนถึงก่อนกำหนดเก็บเกี่ยว ดังนั้นในสมัยโบราณจึงมีการแบ่งเสียวหม่านออกเป็นสามช่วงเวลาด้วยกัน ไม่ได้ใช้เพียงในเรื่องของการทำเกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยภูมิปัญญาความรู้ของคนในสมัยก่อนอีกด้วย
.
ช่วงที่ 1 ผักขมยอดงาม(一候苦菜秀):การรับประทานผักขม (ไม่ใช่ผักโขม) มีประวัติศาสตร์มาช้านานแล้วและชนิดของผักขมก็มีหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อเรียกของช่วงแรกมีปรากฏในเอกสารราชวงศ์โจว《周书》:“ยามเสียวหม่าน มวลผักขมยอดงาม【小满之日苦菜秀】” สาเหตุที่เรียกแบบนี้ก็เป็นเพราะว่าเมื่อเข้าเสียวหม่าน ผักขมจะเจริญเติบโตและสามารถเก็บไปปรุงอาหารได้แล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ให้ลึกระดับหนึ่งก็จะพบว่าผักที่มีรสขมคืออาหารยอดนิยมที่ชาวจีนรับประทาน เมื่อต้องเผชิญหน้ากับยุคข้าวยากหมากแพง ผู้คนก็มักจะขุดหาผักขมเพื่อมาประทังชีวิตและแก้อาการหิวโหย ดังนั้นผักขมจึงมีประโยชน์ต่อการช่วยชีวิตชาวจีนในสมัยโบราณเป็นอย่างมาก
.
ช่วงที่ 2 ดอกหมีฉ่าตาย(二候靡草死):ต้น “หมีเฉ่า(靡草)” เป็นพืชที่มีลักษณ์คล้ายๆ กับต้นเสือหมอบ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปที่ประเทศจีน และก่อนที่ดอกของมันจะบาน ผู้คนจะเรียกมันว่า “ดอกถิงลี่(葶苈)”
ถิงลี่มักจะเติบโตบนเนินเขาและจะผลิบานเมื่อเข้าสู่เสียวหม่าน ลักษณะภายนอกของมันเริ่มเปลี่ยนไปเหมือนกำลังจะตาย คนจะเรียกมันว่า “หมีเฉาสื่อ(靡草死)” หรือ “ดอกหมีเฉ่าตาย” แต่มันไม่ได้ตายจริงๆ หากแต่ใบของมันจะหายไปเมื่อออกดอก ซึ่งมีนัยยะว่า: “คนเราต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ลดบางอย่างเพิ่มบางอย่างเพื่อให้ตนเองดำรงชีวิตได้”
.
ช่วงที่ 3 ม่ายชิวจื้อ(麦秋至):ม่ายชิวจื้อ(麦秋至)คือลักษณะเฉพาะของเสียวหม่าน สมัยก่อนจะเรียกมันว่า “เสียวสู่จื้อ(小暑至)” ในหนังสือฤดูกาลทวาทศมาศ《月令》ได้อธิบายสั้นๆ ไว้ว่า: “ม่ายชิวจื้อมีในเดือนสี่ เสียวสู่จื้อมีในเดือนห้า เสียวหม่านช่วงกลางเดือนสี่เกิดการเปลี่ยนแปลง พอใบไม้ร่วงธัญพืชก็สุกงอม แม้โตในหน้าร้อน แต่เก็บในใบไม้ร่วง เหตุนี้จึงเรียกว่า ‘ม่ายชิว’【麦秋至,在四月;小暑至,在五月。小满为四月之中气,故易之。秋者,百谷成熟之时,此于时虽夏,于麦则秋,故云麦秋也。】” ถ้าสรุปให้เข้าใจเลยก็คือ อนุฤดูเสียวสู่(小暑)อยู่ในเดือนห้า ส่วนเสียวหม่าน(小满)อยู่ช่วงกลางเดือนสี่ตามปฏิทินจีน แม้ว่าพืชในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั้นจะโตเต็มที่ที่สุด แต่ข้าวสาลีซึ่งเป็นข้าวที่นิยมหว่านเมล็ดในช่วงช่วงใบไม้ร่วงกลับเติบโตเร็วในช่วงต้นหน้าร้อนและสุกก่อนกำหนด จึงทำให้เรียกข้าวสาลีนี้ว่า “ม่ายชิว(麦秋)”
ประเพณีนิยมในช่วงอนุฤดูเสียวหม่าน(小满节气习俗)
.
1. การบูชาเทพแห่งยานพาหนะ(祭车神):การบูชาเทพแห่งยานพาหนะเป็นประเพณีโบราณของพื้นที่ชนบทในประเทศจีน ในสมัยก่อนการชลประทานและระบบระบายน้ำคือสิ่งที่สำคัญต่อพื้นที่ชนบท กล่าวกันว่าเทพแห่งยานพาหนะเป็นผู้ประดิษฐ์รถลากให้แก่ชาวนาเพื่อใช้สำหรับการบรรทุกสิ่งของได้สะดวก ภายหลังผู้คนจึงนำลักษณะของล้อรถลากมาดัดแปลงให้ขึ้นจนเป็นกังหันน้ำเพื่อใช้การชลประทาน การบูชาเทพ ชาวนาจะนำเนื้อปลา น้ำสะอาดและธูปเทียนมาจัดวางหน้ารถลาก (ปัจจุบันบางพื้นที่ก็ใช้รถยนต์) ระหว่างทำพิธีจะต้องน้ำสะอาดที่นำเซ่นไหว้ไปพรมน้ำในทุ่งนา โดยเชื่อว่าจะทำให้ดินในนาอุดมสมบูรณ์และน้ำท่าบริบูรณ์ ประเพณีเหล่านี้แม้ว่าจะมีไม่มากอย่างในอดีต แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงการให้ความสำคัญกับการชลประทานในสมัยอดีต
.
2. การบูชาหนอนไหม(祭蚕):ในสมัยโบราณชาวจีนมองว่าหนอนไหมเป็นสัตว์สวรรค์ เพราะเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่สร้างเส้นไหมเพื่อให้มนุษย์ได้มานำถักทอเป็นเสื้อผ้าโดยเฉพาะ เปรียบเสมือนสวรรค์ได้มอบสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ ดังนั้นชาวจีนในยุคโบราณจึงประดิษฐ์อักษร “ฉาน(蚕)” หมายถึงหนอนไหมหรือตัวไหม ด้านบนมี “เทียน(天;สวรรค์)” ด้านล่างมี “ฉง(虫;หนอน/แมลง)” และเพื่อขอให้สวรรค์อภัยและให้ได้เส้นไหมที่ดี ชาวจีนจึงจัดเทศกาลบูชาหนอนไหม(祈蚕节)ซึ่งเทศกาลนี้ไม่มีกำหนดวันที่ตายตัว อาจะวันหรือสองวันหรือจัดขึ้นเฉพาะครอบครัวที่ทำฟาร์มหนอนไหมเท่านั้น
.
3. กินผักขม(食苦菜):ในสมัยโบราณ เมื่อเข้าสู่ยุคที่ข้าวยากหมากแพง เพื่อประทังชีวิตชาวจีนในสมัยนั้นจึงขุดหาผักที่หาได้มาทาน แต่ในช่วงเสียวหม่านมีแค่ผักขมที่เติบโตเร็วและพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวที่สุด ดังนั้นชาวจีนจึงเริ่มทานผักขม ณ แต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ผักขมยังเป็นสมุนไพรตามธรรมชาติที่มีสรรพคุณมากมายอีกด้วย
.
4. การชิงน้ำกระจายนา(抢水):เป็นกิจกรรมดั้งเดิมของเมืองไห่หนิง มณฑลเจ้อเจียง(浙江海宁)จะมีคนไปยืนบนกังหันน้ำแล้วเดินหน้าหรือถอยหลังเพื่อให้กังหันน้ำจากแม่น้ำมาสู่พื้นที่นา ส่วนชาวบ้านที่ไม่ได้ขึ้นไปยืนบนนั้นก็จะพากันหาถังแล้วแย่งกันตักน้ำจากแม่น้ำมาเทใส่ในนา ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าตักจนหมดแม่น้ำ พืชไร่พืชสวนจะได้รับน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีผลผลิตที่ดี
อ้างอิงข้อมูล:
宋英杰.节选自《二十四节气》—小满节气[M].[2021-05-15].
โฆษณา