21 พ.ค. 2021 เวลา 00:30 • การเมือง
18 พ.ค. ที่ผ่านมา ครม. เห็นชอบออก พ.ร.ก.กู้เงิน 7 แสนล้านบาท ที่เสนอโดยกระทรวงการคลัง เนื่องจากเงินกู้ก้อนเดิม 1 ล้านล้านบาท เหลือเพียง 16,525 ล้านบาท ประกอบกับสถานการณ์โควิดยังรุนแรง ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมในการแก้ไข
3
ตามข่าวระบุ มีการพิจารณาจากเอกสาร 4 หน้า ใช้เวลา 5 นาที ลงมติเห็นชอบแล้วเก็บเอกสารกลับทันที พร้อมกำชับ "ให้เป็นความลับ"
8
ส่วนตัวผมเข้าใจว่าน่าจะพิจารณากันมานอกรอบก่อนแล้ว จึงอนุมัติกันง่ายดาย อันนี้พอเข้าใจได้
1
แต่เหตุใด "ต้องเป็นความลับ" อันนี้ยังสงสัยอยู่ จึงพยายามหาคำตอบ แต่ก็ไม่เจอจึงขออนุญาตข้ามไปก่อน (แบบขัดใจ)
4
เริ่มคุยกันตรงนี้ก่อนว่า "ควรกู้หรือไม่" คำตอบคือ "ควร"
เหตุผลคือ โควิดมันหนักหน่วงจริงๆ จำเป็นต้องใช้งบจำนวนมาก และสถานะทางการเงินของประเทศเรายังพอที่จะมีหนี้เพิ่มได้ โดย ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 เรามีหนี้ร้อยละ 54.28 ของ GDP
1
เมื่อกู้เงินก้อนนี้แล้วหนี้สาธารณะ ณ เดือน ก.ย. 2564 จะอยู่ที่ร้อยละ 58.56 ซึ่งยังเป็นไปตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60
แต่อย่างไรก็ตาม นี่ถือว่าเป็นการกู้ในครั้งเดียวก้อนใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา
คำถามต่อมาคือ "กู้มาทำอะไรบ้าง"
1
ใน พรก.กำหนดไว้ชัดเจนว่านำไปใช้ 3 วัตถุประสงค์ คือ
1. แก้ปัญหาการระบาดของโควิด19 วงเงิน 0.3 แสนล้านบาท
2. เยียวยา หรือชดเชยประชาชนและผู้ประกอบการ วงเงิน 4 แสนล้านบาท
3. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 2.7 แสนล้านบาท
1
ดูแล้ววัตถุประสงค์ก็เหมือนกับก้อนแรก 1 ล้านล้านบาทที่เคยกู้มาก่อน ถามว่าแผนเดิมๆแบบนี้จะได้ผลหรือไม่ เราลองย้อนไปดูงบก้อนแรกว่าใช้กันอย่างไร
2
งบ 1 ล้านล้านบาท แม้จะแบ่งเป็น 3 ส่วน แต่เกือบทั้งหมดถูกใช้ไปกับการเยียวยาและชดเชยประชาชน โดยหลายโครงการไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาโควิดเลย (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ website สภาพัฒน์)
4
หากเปรียบประเทศไทยเป็นคนที่กำลังป่วยหนัก แต่หมอกลับฉีดแค่มอร์ฟีนให้หายปวด พอยาหมดฤทธิ์ก็กลับมาปวดอีก และตอนนี้มอร์ฟีนเข็มใหม่ก็กำลังจะมา
2
แต่ในเมื่อคิดจะกู้แล้ว เราจะทำให้แผนการบริหารงบมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ได้อย่างไร
1. งบแก้ปัญหาการระบาดของโควิด -- งบส่วนนี้ควรให้เพิ่ม เราควรเน้นตรงนี้มิใช่หรือ ทัพหน้าอาวุธต้องครบมือ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เตียง ICU โรงพยาบาลสนาม ยารักษา การกระจายวัคซีน หรือแอพหมอพร้อม(ที่ต้องพร้อมจริงๆ)
Photo : https://pixabay.com/
2. งบเยียวยา หรือชดเชยประชาชน -- ต้อง impact และตรงกลุ่มเป้าหมายคนที่เดือดร้อนจริงๆ และลำดับความสำคัญด้วย เช่น ภาคบริการ ท่องเที่ยว ร้านอาหาร อาจต้องเยียวมากกว่าส่วนอื่น
3. งบฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม -- ก้อนนี้สำคัญ ต้องทุ่มไปกับการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด เช่น การจ้างงาน เพิ่มทักษะแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที หรือพัฒนาประสิทธิภาพการเกษตร ทุกวันนี้พูดถึงงบฟื้นฟูทีไรเป็นอันต้องทำถนน
2
และสุดท้ายเหนือสิ่งอื่นใด แม้แผนจะวางออกมาดีแค่ไหน แต่เราจะมั่นใจรัฐบาลนี้ได้อย่างไรว่า งบประมาณจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องและทันท่วงที อันนี้คงได้แต่คอยติดตามกันต่อไป
1
พูดมายืดยาว แต่ก็ยังไม่รู้ว่า "ทำไมต้องลับ"
2
โฆษณา