21 พ.ค. 2021 เวลา 07:56 • สิ่งแวดล้อม
กะตังใบ
Credit : Google seach
ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea indica (Burm. f.) Merr.
ชื่อสามัญ: Common tree-vine
ชื่ออื่น: คะนางใบ (ตราด) ช้างเขิง (เงี้ยว) ดังหวาย (นราธิวาส) ตองจ้วม ตองต้อม (ภาคเหนือ) บังบายต้น (ตรัง)
วงศ์: VITACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่มสูง สูงประมาณ 7 เมตร กิ่งโปร่ง สีเขียวอมน้ำตาล
Credit : Google seach
ใบ ใบประกอบ 1-3 ชั้น ใบประกอบย่อยมีได้ถึง 4 คู่ ใบย่อยรูปไข่ แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายมน โคนมนหรือป้าน ขอบจักซี่ฟัน แผ่นใบสีเขียวเข้ม หูใบรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร
Credit : Google seach
ดอก ดอกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก สีเขียวอ่อน โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ดอกตูมรูปทรงกลมสีแดงเข้ม เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีขาว เกสรเพศผู้ 5 เกสร ปลายอับเรณูโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมน ปลายแฉกเว้า ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
ผล กลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ ช
ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบตั้งแต่อินเดียถึงออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทุกภาค ขึ้นหลากหลายสภาพป่า
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง แสงแดดมาก
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ปักชำ
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ผลรับประทานได้ มีสรรพคุณทางยา
ที่มา :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแหี งประเทศไทย (วว.)
โฆษณา