Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วีระพงษ์ฟาร์ม
•
ติดตาม
22 พ.ค. 2021 เวลา 04:28 • สัตว์เลี้ยง
โรคลัมปีสกินอันตรายไหม มีแนวทางป้องกันอย่างไรบ้าง
ลัมปีสกินโรคอุบัติใหม่ในโค – กระบือ
ในช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้มีการรายงานว่าพบโคเนื้อแสดงอาการของ ‘โรคลัมปีสกิน’ ที่บริเวณอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้มีการเก็บตัวอย่างของเชื้อไปส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ หลังทำการตรวจสอบแล้วได้ผลสรุปออกมาว่าเชื้อตัวเป็นเชื้อที่มีการแพร่ระบาดเป็นครั้งแรกในประเทศไทยชื่อว่าลัมปีสกิน
ซึ่งจากการสันนิษฐานถึงสาเหตุของการเกิดโรค สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติได้ระบุว่า น่าจะเกิดมาจากการนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงในพื้นที่ โดยเป็นโคเนื้อที่อาจจะมีการลักลอบเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ก็ได้มีการดำเนินการควบคุมโรคเพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรแล้ว
ลัมปีสกิน โรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย
สำหรับโรคลัมปีสกิน ถือเป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นเฉพาะกับโคกระบือเท่านั้น ซึ่งแน่นอนเลยว่ามันไม่ใช่โรคที่จะสามารถติดต่อมาสู่คนได้ แต่ในขณะเดียวกันหากโคกระบือของเกษตรรายไหนได้รับเชื้อ แล้วได้รับการรักษาไม่ทัน ก็มักจะนำไปสู่การตายของสัตว์เหล่านั้นและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้เช่นกัน
โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Lumpy skin disease virus ซึ่งสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง เบื่ออาหาร มีน้ำตาไหลตลอดเวลา และมีตุ่มน้ำเหลืองขนาดใหญ่ประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ทั่วทั้งร่างกาย แต่จะพบมากที่บริเวณคอ หัว เต้านม ถุงอัณฑะ และหว่างขา
ที่สำคัญตุ่มที่ขึ้นมาอาจแตกและตกสะเก็ดเป็นเนื้อตาย หากเป็นแบบนั้นก็จะทำให้หนอนหรือแมลงเข้ามาไชจนติดเชื้อได้ นอกจากนี้โคกระบือยังมีอาการซึม มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารร่วมด้วย ในส่วนของโคนมก็อาจจะเกิดการแท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
สำหรับพาหะที่เป็นตัวนำเชื้อโรคนี้ไปติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์ จะได้แก่ เห็บ ยุง แมลงวัน แต่ทั้งนี้ก็สามารถเกิดขึ้นเองได้ผ่านการใกล้ชิดกันเองของกลุ่มสัตว์ ทั้งจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล และการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
จุดเริ่มต้นของโรคนี้เริ่มต้นขึ้นในเอเชียเมื่อประมาณปี 2562 เกิดขึ้นที่บริเวณจีนแผ่นดินใหญ่ บังกลาเทศ และอินดีย จากนั้นจึงได้มีการลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยเองก็ได้มีการเฝ้าระวังและประกาศชะลอการนำเข้าโคกระบือจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดทางปศุสัตว์ก็ได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักกับชุมชน
กรมปศุสัตว์ออกมาตรการควบคุมโรคลัมปีสกิน
- เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เกษตรกรให้รับรู้ถึงลักษณะของโรคและสถานการณ์การระบาดของโรค ซึ่งหากโคกระบือที่เลี้ยงมีอาการเสี่ยงจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ให้ทราบทันที และหากเกษตรนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ จะต้องกักแยกสัตว์ออกจากฝูงเป็นเวลา 28 วันเพื่อสังเกตอาการ
- เข้มงวดในเรื่องของการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณแหล่งรวมสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ รวมไปถึงช่องทางการนำเข้าของสัตว์ตามชายแดน
- ขอความร่วมมือจากผู้จำหน่ายงดการซื้อ – ขายโคกระบือที่มาจากแหล่งที่เกิดโรค หรือพื้นที่ในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อติดไปยังโคกระบือในฝูงอื่น
- ป้องกันและควบคุมแมลงที่เป็นพาหะนำโรค โดยการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดและจุดเสี่ยง
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย